| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 65 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-02-2556    อ่าน 1626
 บุกฐานผลิตแดนกิมจิ ฟิล์มแมกซ์ม่า มาตรฐานเวิลด์คลาส ราคาไทย ๆ

"แมกซ์ม่า" ฟิล์มประหยัดพลังงานที่ใช้ได้ใช้ดี ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มรถยนต์หรือฟิล์มติดอาคาร จัดทริป 36 ชีวิตนำคณะร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศเยี่ยมชมฐานการผลิตถึงถิ่นบริษัทแม่ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี

จังหวะที่ไปเป็นช่วงพีกของฤดูหนาวที่โน่น อุณหภูมิลบ 8 องศา (เท่านั้นเอง) เป็นทริปที่ประทับใจทั้งดื่ม-เที่ยว แต่ที่ประทับใจสุดสุดคือได้เปิดหูเปิดตาว่า "ฟิล์มแมกซ์ม่า" นำเข้าจากโรงงานในเกาหลีที่มีไลน์ผลิตและเครือข่ายการค้าระดับเวิลด์คลาสทีเดียว

ทำไมต้อง...เกาหลี

"เสี่ยคุง-ชัยรัตน์ ชูประภาวรรณ" เอ็มดีบริษัท วงศ์บราเดอร์ จำกัด เอ็กซ์คลูซีฟเอเย่นต์ในตลาดประเทศไทย บอกว่า เหตุผลที่เลือกผลิตภัณฑ์ฟิล์มเกาหลี เพราะมาตรฐานการผลิต ตลอดจนเทคโนโลยีทำให้มีสินค้า "ฟิล์มนวัตกรรม" ไม่แพ้ผู้ผลิตจากฝั่งอเมริกา ยุโรป

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยไม่มีโรงงานผลิตฟิล์ม สินค้าต้องนำเข้าทั้งหมด อยู่ที่ว่าจะนำเข้าจากมุมไหนของโลก บุคลิกของโรงงานฝั่งอเมริกา-ยุโรปขาดความยืดหยุ่น ต้องสั่งซื้อสินค้าตามแค็ตตาล็อก ขณะที่โรงงานโซนเอเชียยืดหยุ่นกว่า




แต่ก็พบว่าโรงงานในเอเชียมีเพียง 2-3 ประเทศคือ จีน ไต้หวัน เกาหลี เมื่อลึกลงรายละเอียดการผลิตฟิล์มจะเป็นสินค้าที่ใช้สารเคมี ซึ่งเกาหลีมาตรฐานธุรกิจสารเคมีเก่งกว่า ตอบโจทย์ความต้องการฟิล์มคุณภาพเพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวในกรณีสินค้าต่ำมาตรฐานในภายหลัง

เมื่อเลือกประเทศเจ้าของเทคโนโลยีผู้ผลิตฟิล์มได้แล้ว สิ่งที่ "วงศ์บราเดอร์" ต้องทำงานต่อก็คือการสร้างแบรนด์และถักทอเครือข่ายผู้บริโภคที่จะเข้าถึงการใช้ฟิล์มเกาหลีให้ได้มากที่สุด คำตอบสุดท้ายออกมาเป็นแบรนด์ "แมกซ์ม่า-MAXXMA" ที่คุ้นตาเป็นอย่างดีในตลาดเมืองไทย

SKC = ปตท.เมืองไทย

ฟิล์มเกาหลีที่วงศ์บราเดอร์นำเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ผลิตโดย SKC Group คำถามคือ...เขาเป็นใคร

พบคำตอบว่า SKC กรุ๊ปเป็นองค์กรเอกชนที่มีธุรกิจหลัก 2 วงการคือ ปิโตรเคมีกับเทเลคอม สายธุรกิจปิโตรฯของเขาเทียบเท่ากับ "ปตท." ในเมืองไทย ตอนหลังมีบายโปรดักต์ที่เหลือจากธุรกิจปิโตร จึงมีการแตกบริษัทลูกออกมาทำผลิตภัณฑ์ฟิล์ม

อาณาจักร SKC กรุ๊ปที่นำเสนอข้อมูลคือ ณ ปี 2010 มีรายได้รวม 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสินทรัพย์รวม 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ พนักงาน 1,456 คน มีบริษัทในเครือ ได้แก่ SK telesys, SK HASS, SKC COLON PI, SKC airgas, SKW มีบริษัทร่วมทุนทั่วโลก กระจายฐานผลิตไปยัง SKC U.S.A., SKC Europe, SKC Japan เป็นต้น

สถานะทำกำไรเฉลี่ยปีละ 15-20% มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% จากขนาดตลาดทั่วโลก 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

โฟกัสตลาดวินโดว์ฟิล์มหรือฟิล์มติดกระจก-ติดอาคาร ณ ปี 2010-2011 มีรายได้ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2012 รายได้ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าสนใจว่าภายใน 2015 ตั้งเป้ารายได้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับจะโตก้าวกระโดด 5 เท่าภายใน 3 ปี

กล่าวสำหรับประเทศไทย ทาง SKC กรุ๊ปมองว่าเป็นตลาดใหญ่เทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน "วงศ์บราเดอร์" ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลตลาดเมียนมาร์และ สปป.ลาวด้วย...ถ้าต้องการจะทำ

รุกตลาดฟิล์มเกรดพรีเมี่ยม

"เรื่องความสามารถแข่งขันกับฟิล์มนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ผมไม่ค่อยห่วง เพราะเรากับ SKC ทำวิจัยและพัฒนาสินค้าร่วมกันตลอด เช่น พฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยตอนนี้น่าจะทำสินค้าที่มีรุ่นแบบไหน สียังไง ตอบโจทย์อะไรบ้าง ทำให้สอดคล้องกับตลาดเมืองไทย" คำกล่าวของเอ็มดีวงศ์บราเดอร์นำไปสู่ไอเท็มผลิตภัณฑ์ฟิล์มแบรนด์ MAXXMA ที่มี 3 ตลาดหลักด้วยกันคือ ตลาดฟิล์มประหยัดพลังงาน ป้องกันความร้อน, ตลาดรองคือฟิล์มนิรภัยกับฟิล์มตกแต่ง และฟิล์มป้องกันสีรถ (เคลียร์การ์ด)

"เหตุผลที่เลือกฟิล์มของ SKC ซึ่งแพงกว่าจีนก็เพราะผมรีโมเดลธุรกิจหันมาเจาะตลาดพรีเมี่ยมมากขึ้น จึงต้องเน้นคุณภาพของฟิล์ม กับเน้นการทำมาร์เก็ตติ้งให้มากขึ้น"

ทุกวันนี้ฟิล์มประหยัดพลังงานแมกซ์ม่ามีเครือข่ายดีลเลอร์กระจายทั่วประเทศ 200-250 ราย ปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 300 รายการมีเครือข่ายดีลเลอร์มากขึ้น ย่อมหมายถึงสร้างโอกาสเข้าถึงการใช้ฟิล์มให้กับผู้บริโภคโดยตรง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-02-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.