| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 91 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-02-2556    อ่าน 1637
 โฉมหน้าเมืองใหม่ อีก 10 ปีข้างหน้า

ในชีวิตของคนเรา นอกจากจะต้องการเสื้อผ้า อาหาร และยารักษาโรคแล้ว ที่อยู่อาศัยก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่อาจขาดไปจากชีวิตของมนุษย์ได้ และปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจัย 4 นี้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

เพื่อเตรียมรับและปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่อยู่อาศัยในอนาคต การเคหะแห่งชาติ จึงได้จัดไลฟ์ทอล์ก ชีวิตและโฉมหน้าพัฒนาเมือง ปี 2556-2566 ในวาระ 40 ปี การเคหะแห่งชาติ โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการ การเคหะแห่งชาติ ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดร.เกรียงพล พัฒนรัฐ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง และ ผศ.ดร.พนิต ภู่จินดา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเสวนาด้วย

ไลฟ์ทอล์กครั้งนี้ได้พูดถึงการอนาคตของที่อยู่อาศัยและการเตรียมพร้อมของประชากร ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อให้ทุกคนเตรียมรับมือ


ดร.เกรียงพล พัฒนรัฐ ได้เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับสังคมเมืองว่า ปัจจุบันเมืองของประเทศไทย มักจะแก้ไขและจัดการปัญหาเรื่องทั่วไป เช่น ฝนตก รถติด ระบายน้ำ แต่ในอนาคตกรุงเทพฯ ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากประชาคมอาเซียนได้ การแก้ปัญหาจึงควรต้องจัดการให้เป็นระบบ ข้อดีคือ การมาของประชาคมอาเซียน จะทำให้ไทยต้องเร่งสร้างสมรรถนะให้กับตัวเองเร็วกว่าเดิม

ด้าน ผศ.ดร.พนิต ภู่จินดา เผยว่า ไฟต์บังคับที่ไทยไม่สามารถเลี่ยงได้เลยคือ การเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากไทยอยู่ในศูนย์กลางทางพื้นที่ การไหลเข้าของเม็ดเงินจะมากขึ้น ทรัพยากรที่ดินจะขาดแคลน ทำให้เราต้องพัฒนาใหม่ คือ ทั้งที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ให้เหมาะสมกับความต้องการของการใช้ประโยชน์มิเช่นนั้นที่ดินจะเสียเปล่า

"สิ่งที่ทำให้เราแข่งขันได้ คือ ต้องมีต้นทุนทางธุรกิจที่ประหยัดกว่าคนอื่น ทำได้โดยวางแผนให้เหมาะสม และลงทุนในขนาดที่ใหญ่ เพราะหากทำในปริมาณที่มาก ก็จะยิ่งประหยัด"

หากถามว่า จะทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อาจารย์พนิตเล่าว่า ต้องให้เมืองไทยเป็นเมืองกระชับ ด้วยการออกแบบรวบเอาโครงสร้างพื้นฐานมาอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น โรงพยาบาล สวนสาธารณะ แล้วพัฒนาไปตามสถานีรถไฟฟ้า ขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยต้องไม่เป็นไปในแนวราบ เพราะราคาที่ดินจะสูงมาก จากการที่ทุนเข้ามาแล้วต้องแข่งขันกัน อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมอาจแข่งขันกันได้ แต่สำหรับผู้อยู่อาศัยจะเอาอะไรไปสู้

"ตัวอย่างเช่น ไทยทุกวันนี้ปล่อยให้ทุกคนสร้างบ้านเดี่ยวได้ ผลคือทุกคนจะไม่มีสวนสาธารณะ เนื่องจากทุกคนเอาสวนสาธารณะไปไว้ในบ้านตัวเอง แต่ถ้าเราทำเมืองให้หนาแน่นขึ้น แล้วให้ทุกคนมาใช้สวนกลาง จะทำให้ทุกคนมีสวนสาธารณะที่ดีขึ้น ไม่ใช่เล็กๆ อยู่ในบ้าน และที่พักอาศัยจะเป็นตัวหลักสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต"

ผศ.ดร.พนิตทิ้งท้ายไว้ว่า หลายคนคิดว่าเราสามารถขยายเมืองไปตามหัวเมืองต่างๆ ได้ แต่ความจริงแล้วออกไปอยู่ชานเมืองจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และคุณภาพชีวิตแย่ลง เทรนด์ของโลกทุกวันนี้ไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ทางที่ดีรัฐควรจะเข้ามาควบคุมการจัดการที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าซึ่งเป็นการสร้างเมืองแนวใหม่ มิเช่นนั้นในอนาคตชนชั้นกลางอาจไม่มีที่อยู่อาศัยได้

ได้แต่ฝากให้ผู้นำคนใหม่....ดูแลคุณภาพชีวิตคนไทยต่อไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-02-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.