| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 84 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-01-2556    อ่าน 1777
 สนข.เคาะแนวเส้นทาง"ไฮสปีดเทรน"3สาย สร้างคร่อมรางรถไฟเดิมเลี่ยงเวนคืน-เร่งเปิดประมูลกันยายนนี้

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่ สนข.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) จำนวน 3 สายทาง ประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน ล่าสุดได้แนวเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้เขตทางรถไฟเดิมเพื่อหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินให้น้อยที่สุด เช่น อยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง ใกล้สถานีประวัติศาสตร์ เป็นต้น

รวมทั้งเพื่อเป็นการหาพื้นที่โดยรอบสถานีให้เพียงพอต่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์สำหรับนำรายได้ส่วนนี้มาหล่อเลี้ยงกิจการเดินรถไฟ เหมือนกับรูปแบบในประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยบริษัทที่ปรึกษาจะต้องศึกษาให้ครอบคลุมจุดนี้ด้วยเช่นกันว่าจะเป็นจุดไหนได้บ้าง



เวนคืน 4 โรงปูนเท่า ๆ กัน

นายจุฬากล่าวว่า สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะใช้แนวรถไฟสายเหนือ แต่จะสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อนเป็นลำดับแรก ระยะทางประมาณ 382 กิโลเมตร เนื่องจากช่วงตั้งแต่พิษณุโลก-เชียงใหม่ เส้นทางจะผ่านพื้นที่ภูเขาและคดเคี้ยว จะต้องเจาะอุโมงค์เพื่อให้เส้นทางตรงจำเป็นต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

ส่วนสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตร จะมีการปรับแนวเล็กน้อยช่วงแก่งคอย จ.สระบุรี เนื่องจากพาดผ่านพื้นที่ประทานบัตรปูนซีเมนต์ของผู้ประกอบการปูนซีเมนต์ 4 ราย อาทิ เอสซีจี ปูนซีเมนต์นครหลวง ปูนทีพีไอ เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่ได้นำมาดำเนินการใด ๆ แต่อาจจะต้องมีการเวนคืนที่ดินของแต่ละรายเพื่อนำมาใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจะพยายามเลือกแนวเส้นทางที่จะใช้พื้นที่ของแต่ละรายเท่า ๆ กัน และเมื่อได้เขตทางที่ชัดเจนแล้ว จะให้เวลาผู้ประกอบการทั้งหมดดำเนินการระเบิดหินให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้า

ไปหัวหิน เลี่ยงเวนคืนแม่กลอง

สำหรับสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ล่าสุดได้แนวเส้นทางชัดเจนแล้ว จะไม่ใช้เส้นทางรถไฟสายแม่กลองเดิม แม้ว่าจะช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางกว่า 10 กิโลเมตร เนื่องจากแนวเส้นทางดังกล่าวจะต้องมีการรื้อย้ายชุมชนที่อยู่ในเขตทางกว่า 2,500 หลังคาเรือน กับต้องเจาะอุโมงค์ยาว 7-8 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนก่อสร้างแพงขึ้น

ดังนั้นจึงปรับมาใช้แนวรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน โดยวิ่งจากบางซื่อไปตามแนวรถไฟสายใต้ ผ่านตลิ่งชัน นครปฐมไปจนถึงหัวหิน รวมระยะทาง 225 กิโลเมตร

นายจุฬากล่าวอีกว่า ขณะที่สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างศึกษาโครงการ โดยเส้นทางจะต่อขยายจากแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่พญาไทไปตามแนวรถไฟสายตะวันออก

ไปพัทยา และสิ้นสุดที่ระยอง รวมระยะทาง 221 กิโลเมตร ขณะนี้ สนข.อยู่ระหว่างลงภาคสนามเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะได้ข้อสรุปเรื่องแนวเส้นทางทั้งหมด และจัดเตรียมทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ต่อไป

"ผลการศึกษาของผู้แทนจากจีนและญี่ปุ่นที่ศึกษาความเหมาะสมของโครงการให้เรา โดยจีนศึกษาเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย ส่วนญี่ปุ่นศึกษาสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่และกรุงเทพฯ-ระยอง ข้อมูลทั้งหมดเรานำมาประกอบการพิจารณาด้วยเช่นกัน เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิประเทศของไทยเรามากที่สุด"

ตั้งเป้าเปิดประมูล ก.ย.นี้

นายจุฬากล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดประมูลคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนกันยายนนี้ เริ่มจากการเปิดประมูลหาผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้าก่อนว่าจะใช้ระบบไหน ใช้วงเงินลงทุนเท่าไหร่ จากนั้นจึงจะประมูลการก่อสร้างงานโยธา เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าจะมีผลต่อการออกแบบระบบโครงสร้างงานโยธาที่จะต้องสอดคล้องกัน เช่น หากได้ผู้เสนอระบบรถไฟจากประเทศจีน การก่อสร้างงานโยธาจะต้องสอดรับกัน เพราะระบบรถไฟของจีน เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ ทั้งประเทศจีนและญี่ปุ่นได้ประเมินเงินลงทุนโครงการ (ค่าก่อสร้างและงานระบบ) เบื้องต้นพบว่า ต้นทุนประเทศจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 480 ล้านบาท/กิโลเมตร ญี่ปุ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 600 ล้านบาท/กิโลเมตร

"เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว อาจจะต้องเวนคืนที่ดินควบคู่การทำ EIA คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป เริ่มเปิดบริการในปี 2562 ส่วนจะประมูลทั้ง 4 สายหรือเลือกเฉพาะบางสายยังไม่ได้ข้อสรุป กรณีประมูลทั้ง 4 สายในแง่ของการลงทุนระบบรถไฟฟ้าอาจจะถูกลงเพราะซื้อในปริมาณมาก"

นำร่อง 2 สายเหนือ-อีสาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะเริ่มสร้างก่อนคือสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลกและสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยอาจจะนำร่องเปิดบริการช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นเส้นทางร่วมระหว่างสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

นายจุฬากล่าวอีกว่า สำหรับเม็ดเงินลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงจัดอยู่ในแผนการลงทุนของรัฐบาล ภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท จึงไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งเงินที่จะนำมาก่อสร้างแต่อย่างใด ซึ่งในกรอบวงเงินเดิมที่เคยประเมินไว้ โดยรวมทั้ง 4 สายในเฟสแรกประมาณ 372,271 ล้านบาท

แยกเป็นสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงิน 121,014 ล้านบาท สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 96,826 ล้านบาท สายกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 82,166 ล้านบาท และสายกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 72,265 ล้านบาท แต่ทั้งนี้อยู่ที่ผลการศึกษาที่ออกมาด้วยว่าวงเงินจะปรับเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-01-2556 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.