| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 62 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-12-2555    อ่าน 1738
 เปิดแนว"เวนคืน"สร้างไฮสปีดเทรน เขตทาง 20 เมตร 4 โรงปูนแจ็กพอต

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าตามที่รัฐบาลจีนได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนให้รัฐบาลไทย 2 เส้นทาง คือ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-หนองคาย ล่าสุด หลังจากจีนได้สำรวจพื้นที่แนวเส้นทางพบว่า แนวเส้นทางทั้ง 2 สายมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมเล็กน้อย ทั้งระยะทางและวงเงินค่าก่อสร้าง

โดยรายละเอียด คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางสั้นลงจากเดิม 745 กิโลเมตร เหลือ 685 กิโลเมตร เนื่องจากได้ปรับเส้นทางให้ตัดตรง พร้อมเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาเพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้างใหม่ ตั้งแต่ช่วงจังหวัดอุตรดิตถ์ถึงเชียงใหม่ จากเดิมจะสร้างคู่ขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมที่เป็นเส้นทางคดเคี้ยวเพราะต้องลัดเลาะไปตามภูเขา ขณะที่รถไฟความเร็วสูงจะมีความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำเป็นจะต้องสร้างบนเส้นทางตรงเพื่อความปลอดภัย

ส่วนรูปแบบก่อสร้างจะมีทั้งโครงสร้างยกระดับและสร้างบนระดับพื้นดิน เพราะบางช่วงเป็นพื้นที่ชุมชนและอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยช่วงจากกรุงเทพฯถึงพระนครศรีอยุธยาจะเป็นโครงสร้าง

ยกระดับ จากนั้นจะลดระดับสร้างบนระดับพื้นดินไปถึงลพบุรี จากนั้นจะเป็นโครงสร้างยกระดับจังหวัดนครสวรรค์พาดยาวมาถึงพิษณุโลก อุตรดิตถ์ สิ้นสุดที่เชียงใหม่

"ตลอดเส้นทางจะมีการเวนคืนประมาณ 20% ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่นอกเขตทางรถไฟ ตั้งแต่ช่วงอุตรดิตถ์ขึ้นไปถึงเชียงใหม่ไม่ได้ก่อสร้างบนเขตทางรถไฟเดิม แต่จะเปิดพื้นที่ใหม่ผ่านป่าและภูเขา"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ด้านวงเงินค่าก่อสร้างตามผลการศึกษาอยู่ที่ 442 ล้านบาท/กิโลเมตร รวมระยะทางใหม่ที่ปรับลดเหลือ 685 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 302,770 ล้านบาท จากเดิมที่เคยศึกษาวงเงินลงทุนไว้ที่ 229,809 ล้านบาท เนื่องจากจะต้องเจาะภูเขาเพื่อสร้างอุโมงค์ 2 แห่งในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ถึงเชียงใหม่

สำหรับสายกรุงเทพฯ-หนองคาย จะยังคงแนวเส้นทางเดิม รวมระยะทาง 615 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นโครงสร้างระดับพื้นตลอดเส้นทาง ค่าก่อสร้างอยู่ที่ 198,000 ล้านบาท วงเงินลงทุนจะต่ำกว่าสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบไม่มีภูเขาเหมือนภาคเหนือ ค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ 330 ล้านบาท/กิโลเมตร

"สายกรุงเทพฯ-หนองคายจะมีเส้นทางผ่านภูเขาอยู่ช่วงเดียวที่จะต้องเวนคืนพื้นที่ คือบริเวณช่วงมาบกะเบา ปัจจุบันเป็นพื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองของผู้ประกอบการผลิตปูนซีเมนต์ 4 บริษัทที่ยังไม่ได้ใช้พื้นที่มาดำเนินการ เช่น ปูนซิเมนต์ไทย เป็นต้น และกำลังอยู่ระหว่างพิจารณา เนื่องจากเอกชนไม่อยากให้เวนคืนที่ดิน เพราะต้องถูกเวนคืนกว้าง 20 เมตรของแนวเส้นทาง"

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับค่าโดยสาร ผลการศึกษาระบุราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.50 บาท/กิโลเมตร ดังนั้น สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะตกประมาณ 1,712.5 บาท/เที่ยว หากนั่งไปถึงพิษณุโลก ระยะทาง 328 กิโลเมตร ค่าโดยสารอยู่ที่ 820 บาท/เที่ยว

ขณะที่สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ค่าโดยสารเฉลี่ย 2.50 บาท/กิโลเมตร จะตกประมาณ 1,537.5 บาท/เที่ยว นั่งไปถึงโคราชระยะทาง 256 กิโลเมตร ค่าโดยสารตก 640 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ จะเห็นได้ว่ามีราคาถูกกว่าเล็กน้อย

ทั้งนี้ ตัวแทนรัฐบาลจีนแนะนำด้วยว่า รัฐบาลไทยควรจะเร่งก่อสร้างโครงการในช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทางประมาณ 81.8 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 35,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเส้นทางทดสอบก่อนในระยะแรก เนื่องจากเป็นเส้นทางร่วมของทั้งแนวเส้นทางสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-หนองคาย จากนั้นถึงจะทยอยสร้างเฟสแรกให้จบคือ เส้นทางเฟสแรกของสายเหนือ คือกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และเฟสแรกของสายอีสานคือกรุงเทพฯ-โคราช

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในเรื่องนี้ว่า ตามแผนจะเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ประมาณไตรมาส 3/2556 และอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะประมูลเฟสแรกทั้ง 4 สายทาง คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท หรือจะแยกประมูลทีละสายทาง หากจะประมูลทีละสายทางคาดว่าจะนำร่องสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อนเป็นอันดับแรก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-12-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.