| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 118 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 31-10-2555    อ่าน 1986
 ย้อนรอย"สนามฟุตซอล หนองจอก"ลงทุน 1.8 พันล้าน...บทเรียนราคาแพง กทม.

วินาที สุดท้ายก่อนการระเบิดศึกการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 7 โดยมี "ประเทศไทย" เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่าง 1-18 พฤศจิกายน 2555 สนามหลักที่เนรมิตขึ้นใหม่ "แบงค็อก ฟุตซอล อารีน่า หนองจอก" ก็ยังไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย

นำไปสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในท่วง ทำนอง...หากเลยเทศกาลแข่งขันไปแล้วแต่สนามยังเสร็จไม่สมบูรณ์แบบนี้ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ผู้รับผิดชอบการก่อสร้างจะปล่อยทิ้งร้างเป็นอนุสาวรีย์เหมือนโฮปเวลล์หรือ ไม่ และท้ายที่สุดแล้วสนามแห่งนี้จะถูกนำมาใช้ทำอะไรต่อไปนับจากนี้

ประเด็น สำคัญที่สุด "ใคร" จะเป็นผู้รับผิดชอบกับความสูญเสียครั้งนี้ หากสนามที่ใช้เงินภาษีของประชาชนก่อสร้างกว่า 1,239 ล้านบาท แต่กลับไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อะไรเลย

ว่ากันว่า สนามแห่งนี้มีสารพัด "สตอรี่"ที่ ไม่ใช่แค่เรื่องงบประมาณก่อสร้างได้รับจัดสรรจากรัฐบาลชุดปัจจุบันล่าช้า หรือเป็นเพราะวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปลายปีที่แล้วทำให้ผู้รับเหมาปิดไซต์ก่อสร้าง หนีน้ำท่วมเพียงเท่านั้น

มติ ครม.ปี"53 ให้ กทม.ทำย้อน รอยกลับไปดูจุดเริ่มต้นปี 2553 เป็นยุค "รัฐบาลประชาธิปัตย์" โดยมี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ "กทม." ซึ่งมีผู้ว่าราชการสังกัดพรรคเดียวกัน "ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร" รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพงานพร้อมก่อสร้างสนามแข่งขัน โดยรัฐบาลอุดหนุนงบประมาณให้ทั้งหมด 1,239 ล้านบาท

ว่ากันว่ามติ ครม.ดังกล่าว แม้แต่ "ชุมพล ศิลปอาชา" เจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจากพรรคชาติไทยพัฒนา หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลถึงกับออกอาการควันออกหู เพราะงานนี้ "รมว.ชุมพล" ตั้งใจจะชงงานให้กับ "กกท.-การกีฬาแห่งประเทศไทย" หน่วยงานในสังกัดรับเป็นเจ้าภาพคุม

โปรเจ็กต์นี้ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

ขณะ เดียวกัน ฝั่งผู้บริหาร "กทม." ขณะนั้นอาจเป็นเพราะยังจับต้นชนปลายไม่ถูกกับการได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญ ทำให้นับจากวันที่มีมติ ครม.ออกมาเกิดช่วงสุญญากาศนานระยะหนึ่ง กว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" จะเริ่มขยับตัวเกี่ยวกับโครงการนี้

สารพัดปัญหาตั้งแต่เริ่มโครงการ

หนึ่ง ใน "สตอรี่" ต้องนับรวมถึงภาพกิจการคัดเลือกสถานที่ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง ทั้งบริเวณมักกะสันใกล้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ หรือจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการ กทม.ที่หนองจอก

บทสรุปสุดท้าย "คุณชายหมู" เลือกใช้สถานที่ "หนองจอก" บนเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ ถึงแม้จะมีจุดอ่อนไปบ้างเนื่องจากโลเกชั่นที่การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก เข้าถึงยากก็ตาม

สตอรี่ต่อมา เป็นคิวการแก้ปัญหาเรื่องขอตั้งเบิกงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งจริง ๆแล้ว ในตอนนั้นเมื่อรัฐบาลและ กทม.มาจากพรรค (ประชาธิปัตย์) เดียวกันไม่น่าจะมีปัญหา หากขณะนั้นทาง "กทม." จะยอมสำรองจ่ายไปก่อนแล้วมาเบิกจากรัฐบาลภายหลัง

แต่ด้วยติดขัด บางอย่าง ทำให้การหางบฯมาก่อสร้างสะดุดไปหลายเดือน และกว่าที่รัฐบาลเพื่อไทยจะอนุมัติงบฯให้ก็ทดเวลาเข้าไปอีก ทำให้โครงการนี้เสียเวลาไปมากโข

บทสรุปบรรทัดเกือบสุดท้าย กระทบทางตรงต่อเงื่อนไขเวลาที่ "ฟีฟ่า-สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ" กำหนดต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างในวันที่ 21 ตุลาคม 2555 ทาง "กทม." ตอนนั้นแม้จะมี "แผนงาน-แผนเงิน" อยู่ในมือครบแล้ว แต่ก็เหลือเวลาเพียงกว่า 10 เดือนที่ต้องสร้างสนามให้เสร็จ

นำไปสู่การตัดสินใจของ "กทม." ในการใช้วิธีเปิดประมูลแบบวิธีพิเศษ หรือแบบเจาะจงผู้รับเหมาเพื่อมาก่อสร้างโครงการ โดยรัฐบาลเพื่อไทยจัดสรรงบฯให้เมื่อปลายปี 2554 และเริ่มประมูลทันในปีเดียวกัน

รับเหมา "อีเอ็มซี" รับงาน

ภาย ใต้ภารกิจเร่งด่วน "กทม." ส่งเทียบเชิญยักษ์รับเหมาเพียงไม่กี่ราย อาทิ บมจ.ช.การช่าง, บมจ.ซิโน-ไทยฯ, บมจ.อิตาเลียนไทย, บมจ.อีเอ็มซี เป็นต้น แต่สุดท้ายเหลือเพียง "อีเอ็มซี" เจ้าเดียวที่รับหน้าเสื่อ เพราะงานทั้งเร่งทั้งร้อนแบบนี้ ทำให้ 3 เสือแห่งวงการรับเหมาพร้อมใจยกธงลา

และ กลายเป็นปริศนาจนถึงนาทีนี้ว่า ขนาด "ขาใหญ่" วงการรับเหมายังไม่รับ ทำไมค่าย "อีเอ็มซี" ที่เล็กกว่ามากถึงกล้าตกปากรับคำ...มีอะไรในกอไผ่ ?

อุปสรรค ต่อมา ถึงแม้จะได้ผู้รับเหมาแล้ว และเซ็นสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 แต่เพราะความเร่งรีบของเงื่อนไขเวลาทำให้ต้องปรับเทคนิคก่อสร้างใหม่ เพื่อร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการก่อสร้างไพรอนและโครงหลังคาซึ่งเป็นงานต้นน้ำ หากไม่สามารถดำเนินการในส่วนโครงหลังคาได้ ก็จะไม่สามารถก่อสร้างงานส่วนอื่น ๆ ได้

สารพัดเทคนิคที่ปรับเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนจากการเทคอนกรีตหล่ออยู่กับที่ มาเป็นเทหล่อพื้นคอนกรีตและยกมาติดตั้งแทน ปรับโครงหลังคาจากคานยาวกว่า 100 เมตร เป็นโครงสั้น ๆ มาเรียงต่อกัน วางเสาเข็มจากเดิม 60 วันเหลือ 45 วัน เป็นต้น

การปรับเปลี่ยนทางเทคนิคดังกล่าว ทำให้โมเดลสนามฟุตซอลที่กำลังสร้างจะไม่เหมือนโมเดลต้นแบบที่ "กทม." ทุ่ม 23 ล้านบาท จ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ศึกษา สำรวจออกแบบและวางแผนการใช้พื้นที่ไว้ในตอนแรก ซึ่งผลศึกษาจะมีสถาปัตยกรรมบริเวณเสาและโครงหลังคาเป็นลายกนกผสมผสานกับลาย ดอกจอก

"รูปแบบเดิมที่ออกแบบไว้ในวงเงินก่อสร้างรวม 1,239 ล้านบาท จะมีเสากระโดงอยู่ข้างหน้า แต่สนามที่กำลังสร้างใกล้เสร็จนี้ตัดออก จึงไม่มี รวมทั้งมีอีกหลายส่วนที่ผิดไปจากแบบเดิม" แหล่งข่าวให้ข้อมูล

กทม.ถมงบฯเพิ่ม 600 ล้าน

แหล่ง ข่าวกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สนามฟุตซอลที่กำลังก่อสร้างเป็นแค่เฟสแรกเท่านั้น มีพื้นที่ใช้สอย 30,000 ตารางเมตร จุคนได้ 12,000 คน ยังต้องมีเฟสต่อไปที่ "กทม." ต้องใช้เม็ดเงินอีกประมาณ 600 ล้านบาทในการปรับปรุงภูมิทัศน์ ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับกับการใช้บริการ อาทิ สร้างบ้านพักนักกีฬา ศูนย์อบรม โรงยิม จัดทำแก้มลิงใช้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่รองรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน

พร้อมกับมีแผนปรับปรุงพื้นที่โดยรอบด้าน การจราจร รองรับการเดินทางของประชาชนมาชมการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งคอนเสิร์ต นิทรรศการ อบรมสัมมนา เช่น สร้างสะพานกลับรถ 2 แห่ง ปรับปรุงถนน

รวมถึงแผนเปิดเส้นทางเดินรถ 3 เส้นทางวน เพื่อรับคนจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์คือ 1.เส้นทางสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามฟุตซอล ระยะทาง 17.75 กิโลเมตร 2.เส้นทางบางกะปิ-สนามฟุตซอล 25.85 กิโลเมตร และ 3.เส้นรามอินทรา-สนามฟุตซอล 25.25 กิโลเมตร เปิดบริการ 06.00-22.00 น.

น่า สนใจว่า ตัวสนามใช้งบฯลงไปแล้วกว่า 1.2 พันล้านบาท ยังเหลือเฟส 2 ที่ กทม.จะควักกระเป๋าเงินภาษีคนกรุงอีก 600 ล้านบาทแต่งหน้าทาปากตลอดจนเสริมโครงข่ายคมนาคม เพราะยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกอีกพอสมควร

ดังนั้น หากจะกล่าวว่าโครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในโครงการ "บทเรียนราคาแพง" ของการบริหารจัดการภาครัฐก็คงไม่ผิดจากข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 31-10-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.