| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 92 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 31-10-2555    อ่าน 1698
 รฟม.ชงบอร์ดเหมารถไฟฟ้า800ตู้ รับ10สายรวด/อ้างประหยัดงบ

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการจัดงานเสวนาวิชาการเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมากครั้งเดียว เพื่อนำมาให้บริการในโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายตามนโยบายของรัฐบาล หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าการจัดซื้อในลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ รฟม.ประหยัดงบประมาณได้มาก ซึ่งจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้




นายยงสิทธิ์กล่าวว่า เบื้องต้น รฟม.จะสั่งซื้อมาให้บริการเฉพาะในเส้นทางที่ รฟม.ดำเนินการอยู่ก่อน ด้วยงบประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท รวม 800 ตู้ แบ่งเป็นขบวนรถไฟฟ้าขนาดหนัก (เฮฟวี่เรล) ที่ให้บริการในปัจจุบันจำนวน 500 ตู้ และรถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล) ซึ่งจะนำไปให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงมีนบุรี-แคราย และอื่นๆ อีกประมาณ 300 ตู้ เพราะหากจะให้ครบทั้ง 10 สาย ต้องรวมรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งต้องใช้ขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 1,200 ตู้





นายยงสิทธิ์กล่าวว่า การจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าขึ้นในประเทศไทย เพราะหากมีการจัดซื้อเป็นจำนวนมากก็สามารถกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทที่ชนะการประกวดราคาต้องตั้งโรงงานประกอบขึ้นในไทยได้ เบื้องต้นมีบริษัทสนใจจะเข้าดำเนินการแล้ว ได้แก่ 1.บริษัท ฮิตาชิ 2.บริษัท ซีเมนส์ 3.บริษัท คาวาซากิ 4.บริษัท อัลสตอม และ 5.บริษัท บอมบาดีเยร์

"การตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าจะเป็นหน้าที่ของบริษัทเอกชนที่ได้งานเป็นผู้ดำเนินการเอง ส่วน รฟม.จะอำนวยความสะดวกในเรื่องของสถานที่ ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ 8 แห่ง ที่สามารถใช้เป็นโรงประกอบรถไฟฟ้าได้ จึงไม่มีปัญหาในเรื่องของสถานที่อย่างแน่นอน" นายยงสิทธิ์กล่าว





นายประภัสร์ จงสงวน ว่าที่ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าเคยพูดมาตั้งแต่ปี 2545 การที่ รฟม.สานต่อถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะส่งผลดีทั้งเรื่องของการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันยังสามารถนำวัสดุ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นในประเทศไปใช้งานมากขึ้นด้วย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 31-10-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.