| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 73 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-10-2555    อ่าน 1834
 เวนคืนแนวรถไฟฟ้าสร้างบ้านคนจน รัฐบาลปูเอาแน่-รอแค่เคลียร์กฎหมาย"กฤษฎีกา"

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์คิดการใหญ่ ขับเคลื่อนนโยบายหาเสียงจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามแนวรถไฟ ฟ้า เล็งเวนคืนที่ดินเอกชนตามแนวรถไฟฟ้า 10 สายให้การเคหะฯนำมาพัฒนาโครงการ ด้านผู้ว่าการฯ "วิฑูรย์ เจียสกุล" เผยโครงการนำร่องเซ็นเอ็มโอยูกับ รฟม. คิวต่อไปรอเซ็นอีก 2 รัฐวิสาหกิจ

"การทางพิเศษฯ-การรถไฟฯ" เปิดมิติใหม่ทั้ง "ขายและให้เช่า" บ้านคนจนในเขตเมือง นำร่องโครงการแฟลตดินแดง ส่วนเรื่องเวนคืนผลคืบหน้า อยู่ระหว่างหารือกฤษฎีกาเพื่อเคลียร์ข้อกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันศุกร์ 28 กันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดย 2 กระทรวง คือกระทรวงคมนาคม (คค.) กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดพิธี

ลง นามบันทึกความเข้าใจการใช้ทรัพยากรร่วมกันของรัฐวิสาหกิจ ระหว่างการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

นายกฯปู สั่งช่วยคนจน

นาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือข้ามหน่วยงานครั้งนี้ รองรับนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยในการจัดสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางภายใน 5-6 ปีนับจากนี้ โดยเน้นจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามแนวรถไฟฟ้าควบคู่กันไป ด้วย

"เอ็มโอยูครั้งนี้เป็นมิติใหม่ที่แต่ละกระทรวงจะทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว การทำงานเมื่อรวม 2 หน่วยงานจะทำให้เราเห็นภาพอนาคตของบ้านเมือง สำคัญที่สุดคือให้การเคหะฯมาสร้างที่อยู่อาศัยรอบ ๆ แนวเส้นทางรถไฟฟ้าช่วยคนจนจริง ๆ ช่วยรากหญ้าจริง ๆ และยังช่วยกรุงเทพฯให้หลวมขึ้นด้วย" นายจารุพงศ์กล่าว

นาย สันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พม.กล่าวว่า ปกติผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางจะพักอาศัยชานเมือง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายการเดินทางเฉลี่ยวันละ 600-700 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 2.5 หมื่นบาท ดังนั้นจึงเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำรัฐบาล คือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มอบหมายให้ 2 กระทรวงร่วมมือกันดำเนินการจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้สถานีกับแนวเส้น ทางรถไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนกลุ่มนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการเดินทาง

หาช่องเวนคืนแนวรถไฟฟ้า

รมว.พม.กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันที่ดินแนวรถไฟฟ้า โดยเฉพาะตามจุดก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้ามีราคาสูง ตก ตร.ว.ละ 2-3 แสนบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้คำแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องอยู่ติดสถานีรถไฟฟ้า แต่ให้โครงการห่างออกไป 2-5 กม.ก็ได้ แต่จะต้องทำระบบรถเมล์-รถโดยสารป้อนระหว่างโครงการกับสถานีรถไฟฟ้ารองรับให้ ดีอย่างไรก็ตาม ในฐานะกำกับดูแลการเคหะฯ พบว่าการเคหะฯถูกกำหนดบทบาทให้เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการจัดหาที่อยู่อาศัย ให้กับคนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อย ศักยภาพการแข่งขันจึงสู้เอกชนไม่ได้ เพราะต้องสร้างโดยไม่คำนึงถึงกำไร ขณะที่รับมอบหมายให้จัดสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าจากรัฐบาลด้วย ดังนั้นการเคหะฯจึงมีอีกนโยบาย คือการเวนคืนที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการ โดยอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า พ.ร.บ.การเคหะแห่งชาติฯ เปิดช่องให้ทำได้หรือไม่

"การขอเวนคืน ที่ดินเพื่อสร้างที่อยู่ให้ผู้มีรายได้ปานกลางกับรายได้น้อย ถ้าทำได้ กลุ่มนี้ก็จะได้อยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้า ส่วนที่ดินที่เวนคืนจะเป็นที่ตาบอด หรืออะไรก็ได้ วิธีการนี้เพื่อให้การเคหะฯดำเนินการได้อย่างโปร่งใส เท่าที่ทราบ ถ้าเวนคืนที่ดินมาแล้วพัฒนาโครงการให้เช่าน่าจะง่ายที่สุด แต่ถ้าเวนคืนแล้วขายออกไป อาจต้องดูกฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบด้วย" นายสันติกล่าว

นำร่อง แฟลตดินแดง

นายสันติกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงานได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกันและได้ข้อสรุปว่า โครงการนำร่องที่จะได้ประโยชน์สูงสุดคือเคหะชุมชนดินแดง หรือแฟลตดินแดงของการเคหะฯ เพราะทาง รฟม.มีแผนลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2557 แนวเส้นทางเริ่มจากมีนบุรี ผ่านมาตาม ถ.รามคำแหง เลี้ยวเข้า ถ.เทพลีลา มาโผล่ศูนย์วัฒนธรรม เกาะแนว ถ.วิภาวดีรังสิต ใกล้โครงการกรุงเทพมหานคร 2 มาถึงสามเหลี่ยมดินแดง

"แฟลตดินแดงสร้างมานาน 40-50 ปี สภาพเสื่อมโทรมไปมากแล้ว จึงเหมาะที่จะนำมาพัฒนาใหม่ให้เป็นตึกสูงเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ผู้อยู่อาศัย โดยเราจะย้ายคนเก่าหรือผู้เช่าเดิมมารวมอยู่บนอาคารสูงเหล่านั้น จากการทำความเข้าใจคนที่เป็น

ผู้เช่าและอยู่อาศัยเองจริง ๆ 80-90% ยอมรับเงื่อนไขการพัฒนา แต่ยังมีผู้ต่อต้านที่เป็นนักลงทุน เช่าห้องจากการเคหะฯเดือนละ 300-800 บาท แล้วมาปล่อยเช่าต่อเดือนละ 1-2 หมื่นบาท การบริหารจัดการผู้เช่ากลุ่มนี้ก็ต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง" นายสันติกล่าว

ราคาถูกกว่าเอกชน 20%

นาย ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รูปธรรมโครงการที่น่าจะเร็วที่สุด ยกตัวอย่างคือโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีปลายทางที่บางใหญ่ ที่จะมีศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่อยู่บริเวณคลองไผ่ มีกำหนดเปิดบริการปี 2558 ซึ่ง รฟม.จะสำรองพื้นที่ให้การเคหะฯกว่า 10 ไร่ เพื่อพัฒนาโครงการ

ขณะเดียวกัน รฟม.มีโครงการสร้างอาคารจอดแล้วจร หรือ Park & Ride ทั้งที่เป็นอาคารสร้างเสร็จแล้ว และอยู่ในแผนลงทุนในอนาคต สามารถนำมาบรรจุอยู่ในโครงการความร่วมมือระหว่าง รฟม.กับการเคหะฯ ได้ คร่าว ๆ รูปแบบความร่วมมือพัฒนาทำได้ 2 แนวทางคือ

แนวทางแรก อาคารจอดแล้วจรที่ยังไม่ได้ก่อสร้างหรือที่เป็นแผนในอนาคต หากการเคหะฯ สนใจที่จะต่อยอดการพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยให้เช่า ไม่ว่าจะเป็นห้องชุด หรืออพาร์ตเมนต์ ทาง รฟม.ยินดีที่จะออกแบบโดยให้มีความแข็งแรงเพื่อรองรับการสร้างเป็นตึกสูงขนาด 8-10 ชั้นได้ โดยการลงทุนจะต้องเป็นของการเคหะฯ

แนวทางที่สอง สำหรับอาคารจอดแล้วจรที่มีอยู่ในปัจจุบัน หากการเคหะฯ สนใจจะสร้างเพิ่มเติมทาง รฟม.ก็ยินดีเช่นกัน

นาย วิฑูรย์ เจียสกุล ผู้ว่าการการเคหะฯ กล่าวว่า ถัดจากนี้การเคหะฯจะทยอยเซ็นเอ็มโอยูความร่วมมือรูปแบบเดียวกันกับอีก 2 หน่วยงาน คือการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อพัฒนาโครงการตามแนวทางด่วน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อพัฒนาโครงการตามแนวเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน ที่จะเป็นเส้นทางสายยาว

ขณะ เดียวกัน ลูกค้าเป้าหมายจะมี 2 กลุ่มที่ชัดเจน คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งราคาบ้านหรือคอนโดฯจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลยูนิตละ 1.2 แสนบาท เพื่อให้มีราคาขายในระดับที่สามารถเข้าถึงได้ โดยกลุ่มนี้จะต้องมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 1.5 หมื่นบาท อีกกลุ่มคือคนชั้นกลาง ราคาบ้านจะไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล แต่แน่นอนว่าราคาขายต่อหน่วยของการเคหะฯในทำเลเดียวกันจะถูกกว่าโครงการของ เอกชนประมาณ 20%
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 04-10-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.