| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 106 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-10-2555    อ่าน 1914
 ถอดบทเรียน 1 ปีน้ำท่วม เจ้าพ่อพฤกษา"ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์"พยากรณ์น้ำท่วมใหญ่ต้องรออีก 50ปี

วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปลายปีก่อนที่ผ่านมายังเป็นภาพจำฝังใจคนไทยทั่วประเทศ บ้านจัดสรรในพื้นที่ประสบภัยถูกปริมาณน้ำมหาศาลเล่นงานแบบไม่ทันตั้งตัว รวมถึง "พฤกษา เรียลเอสเตท" เจ้าตลาดทาวน์เฮาส์ที่มีบ้านจัดสรรถูกน้ำท่วมหลายโครงการ แต่สามารถประคองตัวผ่านวิกฤตครั้งใหญ่มาได้

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษนายใหญ่พฤกษาฯ "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หลังผ่านพ้นมหาอุทกภัยครั้งใหญ่มาร่วม 1 ปี ถึงมุมมองต่อสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ และแผนรุก-รับของพฤกษาฯหลังฟื้นจากน้ำท่วม

"เหตุการณ์น้ำท่วมปลายปี ก่อนพิสูจน์ว่าเป็นอุบัติเหตุ และหลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐบาลก็สั่งปล่อยน้ำในเขื่อนหลัก (ภูมิพล-สิริกิติ์) เหลือ 50% โอกาสท่วมใหญ่แบบปีก่อนคิดว่าอีก 50 ปีถึงจะเกิดขึ้นอีกครั้ง" ความเห็นเชิงบวกของ "ทองมา"

เวลา ร่วม 1 ปีที่ผ่านมาหลังน้ำท่วมมองตลาดอย่างไร บอสใหญ่พฤกษาฯระบุว่า น้ำท่วมที่ผ่านมาประเมินความเสียหายที่ต้องใช้งบฯซ่อมแซมเฉลี่ยครอบครัวละ 5 หมื่น-1 แสนบาท หลังจากน้ำท่วมพฤกษาฯได้เข้าไปปรับปรุงสภาพแวดล้อมโครงการ บ้านตัวอย่าง ที่ทรุดโทรม ทำเลที่น้ำท่วมกำลังซื้อลดลง ส่วนทำเลที่น้ำไม่ท่วมก็มีผลให้ชะลอตัวไปบ้าง

จนถึงสิ้นไตรมาส 1/2555 สถานการณ์ก็เริ่มกลับมาดีขึ้น จนถึงสิ้นไตรมาส 2/2555 ตลาดกลับมาแล้วประมาณ 80% ปัจจุบันก็อยู่ประมาณ 90% และถึงสิ้นปีนี้ก็คงกลับมาเป็นปกติ เพราะในกรุงเทพฯมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งที่น้ำท่วมและอีกครึ่งหนึ่งน้ำไม่ท่วม ถ้าจะย้ายโซนก็ต้องใช้เวลาเดินทาง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน คนก็เริ่มรับได้และเริ่มเข้าใจว่าโอกาสเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกน่าจะ 1 ใน 50 ปี

ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมแม้ว่าน้ำท่วมอาจจะทำให้ตลาดดีขึ้น แต่การพักอาศัยในคอนโดฯเป็นไลฟ์สไตล์ช่วงหนึ่ง เหตุผลก็คือขนาดห้องที่จะอยู่ได้ไปตลอดชีวิตต้องอย่างน้อย 60-80 ตารางเมตร แต่ห้องชุดปัจจุบันส่วนใหญ่มีขนาด 26-28-30 ตารางเมตร เพราะไม่ได้มีรายได้มากพอ ซื้อแล้วอยู่ได้เฉพาะช่วงหนึ่งของชีวิต

กับคำถามว่า...1 ปีที่ผ่านมาไครซิสแมเนจเมนต์ของพฤกษาฯเป็นอย่างไร ! "ทองมา" อธิบายว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554 บริษัทมีรายรับเหลือเดือนละไม่ถึง 1 พันล้านบาท จากปกติเฉลี่ยเดือนละ 2 พันล้านบาท ตอนนั้นบริษัทใช้ลดค่าใช้จ่ายบางส่วน บริหารเงินจ่ายออก-รับเข้า เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่คนจะกลับมาซื้อบ้าน จนเดือนมกราคม 2555 ก็เริ่มดีขึ้น

"เรื่องสร้างความเชื่อมั่นให้ตลาด จริง ๆ แล้วเราทำได้นิดหน่อยเท่านั้น เพราะขึ้นอยู่กับลูกค้าจะตัดสินใจเองว่ามีความเชื่อมั่นที่จะซื้อบ้านหรือ ยัง"

"ทองมา" เล่าว่า สิ่งที่พฤกษาฯมาเน้นหลังจากน้ำท่วมคือการพัฒนาเรื่องบริการและระบบการก่อ สร้างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในคีย์ซักเซสคือระบบ REM หรือ Pruksa Real Estate Manufacturing ที่เลียนแบบนำกระบวนการผลิตแบบเดียวกับระบบอุตสาหกรรมมาใช้บริหารงานก่อ สร้างบ้านแนวราบ

กระบวนการสร้างแบ่งเป็น 8 ขั้นตอนคล้ายกับไลน์การผลิตรถ โดยมีทีมงานที่รับผิดชอบเฉพาะด้าน เช่น ทีมงานมุงหลังคา ทีมช่างกระจก ทีมผนัง-ระเบียง เป็นต้น จากเดิมที่บ้าน 1 หลังจะมะรุมมะตุ้มทำให้เสร็จทีละหลัง โดยมีผู้สั่งการหรือซูเปอร์ไวเซอร์เป็นคนออกคำสั่ง นั่นหมายความว่ายังมีโอกาสผิดพลาดได้จากการสั่งงานที่ไม่ต่อเนื่อง หรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ โดยต้องรอคำสั่งจากคนเพียงคนเดียว ณ จุดหน้างาน

ขณะ ที่ระบบ REM เมื่องานวางกองอยู่ตรงหน้า ทีมงานจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนของตน เช่น ทีมปูกระเบื้องก็ทำเฉพาะปูกระเบื้อง เห็นมีงานรอก็ลงมือทำได้เลย เป็นต้น

วิธีทำให้ช่างเกิดความชำนาญ เพราะแต่ละชุดจะทำงานเฉพาะที่รับผิดชอบ ทำให้ข้อผิดพลาดลดลงแล้วเกือบ 30% ได้บ้านที่มีคุณภาพดีขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างบ้านได้เร็วขึ้น จากเดิม 2-3 เดือนต่อ 1 หลัง แต่ตอนนี้เร็วสุด 1 เดือนต่อ 1 หลัง ก็จะทำให้ลูกค้าได้บ้านเร็วขึ้น

ปัจจุบันระบบ REM ทดลองใช้มาแล้ว 3 ปี มีสัดส่วนสร้างบ้านประมาณ 40% ปลายปีนี้ตั้งเป้าจะต้องเพิ่มสัดส่วนสร้างบ้านในระบบนี้ให้ได้ถึง 80% และแน่นอนว่าจะต้องครบ 100% ในเร็ว ๆ นี้

กับเรื่องภาพลักษณ์แบรนด์ หลังน้ำท่วมก็เป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ โดยแผนด้านนี้ต้องทำต่อเนื่อง 5-6 ปี ซึ่งหมายถึงเงินลงทุนก้อนโตพอสมควร คำถามต่อเนื่องคือ ในใจผู้บริโภคถ้านึกถึงแบรนด์พฤกษาฯจะนึกถึงอะไร ?

"ที่ผ่านมาเราทำ ผลสำรวจการรับรู้แบรนด์พฤกษา พบว่าเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ แต่ยังไม่ทันสมัย คำตอบผมถึงการรับรู้ผู้บริโภคผมมั่นใจว่าก็น่าจะเป็นเรื่องทรัสต์ (ความไว้ใจ) ความรับผิดชอบในการส่งมอบบ้าน ทาวน์เฮาส์ คอนโดฯ..."

ส่วนแผนธุรกิจการลงทุนในต่างประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ "ปีหน้าจะขยายงานมากขึ้นที่ประเทศอินเดีย และกำลังศึกษาตลาดในอินโดนีเซีย พม่า"

มีของแถมเป็นบทเรียนธุรกิจในการลงทุนที่มัลดีฟส์ หลังจากสร้างอาคารเสร็จทั้ง 9 ตึกแล้วก็จะยุติเพียงเท่านี้เพราะ
1) มัลดีฟส์ตลาดเล็ก มีประชากรเพียง 3 แสนคน 2) มีความเสี่ยงสูงเพราะไม่มีโรงงาน 3) ธนาคารที่ปล่อยกู้ลูกค้ามีเพียงแห่งเดียว วันดีคืนดีก็หยุดปล่อยสินเชื่อ เป็นความเสี่ยงอีกด้านหนึ่ง

"การลงทุนต่างประเทศยังเป็นเป้าหมาย บริษัท การออกไปลงทุนตอนนี้ก็ยังถือว่าเป็นช่วงลองผิดลองถูก แต่ในระยะยาว 5-10 ปีข้างหน้ามั่นใจว่าการเติบโตของรายได้จะมาจากต่างประเทศแน่นอน"

หลังจากผ่านประสบการณ์ในท่วงทำนอง "ล้มดัง-ฟื้นเร็ว" ก้าวต่อไปบนเส้นทางพัฒนาที่ดินของพฤกษาฯวางไว้อย่างไร

"วิกฤต น้ำท่วมที่ผ่านมาสะท้อนให้บริษัทเห็นว่าโครงสร้างองค์กรอาจจะยังไม่แข็งแรง พอ ดังนั้นสิ่งที่ต้องเดินไปข้างหน้าคือ เรื่องความแข็งแรงของแบรนด์ การขยายธุรกิจ ความเข้มแข็งการบริหารและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ"

และ นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่เจ้าพ่อพฤกษาฯเปิดใจกับคำถามถึงเป้าหมายสร้างยอดรับ รู้รายได้ 1 แสนล้านบาท ในปี 2560 ยังเป็นไปตามแผนเดิมที่เคยประกาศไว้หรือไม่

"เป้ารับรู้ 1 แสนล้านยังมีอยู่ แต่ในปี"60 ผมเชื่อว่าจากความสามารถทีมงานที่มีอยู่เราน่าจะทำได้สัก 6-7 หมื่นล้าน ก็หมายความว่า เป้า 1 แสนล้านอาจจะต้องเลื่อนออกไปจากเดิม อาจจะ 2-3 ปี..." คำกล่าวยอมรับของ "เสี่ยทองมา"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 02-10-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.