| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 111 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-09-2555    อ่าน 11065
 ตึกสูงไม่เกิน5พันตร.ม.แจ็กพอต! ขีดเส้น9พันแห่งส่งรายงานตรวจสอบอาคาร24ต.ค.

นางสมจิต ปิยะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร (สนอ.) กรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในวันที่ 25 ตุลาคมนี้จะเป็นวันครบกำหนดผ่อนผัน 7 ปีภายใต้กฎหมายตรวจสอบอาคาร ซึ่งมีผลให้อาคารชุดและอาคารพักอาศัยรวม ขนาดพื้นที่ 2,000-5,000 ตารางเมตร ทางเจ้าของอาคารจะต้องส่งใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ ร.1) ตามกฎกระทรวงกำหนดอาคารให้ต้องมีผู้ตรวจสอบอาคาร ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

"สถิติข้อมูลทั่วประเทศจากการเก็บข้อมูลเมื่อ 2 ปีที่แล้วของกรม พบว่ามีอาคารขนาด 2,000-5,000 ตารางเมตร ประมาณ 7,000 อาคาร แยกเป็นในพื้นที่กรุงเทพฯประมาณ 3,500 อาคาร ต่างจังหวัดประมาณ 4,000 อาคาร แต่กำลังเร่งสำรวจข้อมูลให้เป็นปัจจุบันที่สุด เพราะอาคารเกิดใหม่มีมากขึ้น"

โทษจำคุก 3 เดือน-ปรับ 6 หมื่น

ทั้งนี้ สำหรับโทษของเจ้าของอาคาร หากไม่ส่งรายงานการตรวจสอบอาคาร จะได้รับโทษตามกฎหมาย เช่น จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีการปรับ กฎหมายกำหนดให้ปรับรายวันไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการส่งรายงานตรวจสอบอาคาร เท่ากับเป็นการยืนยันว่าอาคารนั้น ๆ มีความปลอดภัยสำหรับผู้มาใช้บริการ

แหล่งข่าวจากสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า อาคารชุดและอาคารพักอาศัยรวมที่มีพื้นที่ 2,000-5,000 ตารางเมตรในเขตกรุงเทพฯ มีจำนวน 5,200 อาคารที่ถึงกำหนดส่งรายงานการตรวจสอบอาคาร หลังได้รับการยกเว้นมาแล้ว 7 ปี

ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดให้อาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ อาคารชุดและอาคารอยู่อาศัยรวม โรงงานและป้าย จะต้องตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร ระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี และตรวจสอบประจำปีทุก 1 ปี โดยกฎหมายบังคับใช้ปลายปี 2548 ที่ผ่านมา

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ผ่านมามีอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบอาคารประมาณ 12,300 ราย ยื่นตรวจสอบใหญ่ประมาณ 5,300 ราย ได้ใบรับรองแบบ ร.1 ประมาณ 1,300 ราย คงเหลือประมาณ 4,000 ราย และเป็นการตรวจสอบประจำปีที่ยื่นแล้ว 6,300 ราย แจ้งให้รับรายงานคืนแล้ว 1,800 ราย คงเหลือ 4,500 ราย

สาเหตุที่ทำให้การออกใบแบบ ร.1 ล่าช้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่พอ และมีเจ้าของอาคารยื่นขอใบรับรองการตรวจสอบจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สำนักการโยธา กทม.จะเร่งดำเนินการในส่วนที่ตกค้างให้เสร็จภายในปี 2555 นี้

กทม.ผนึก 3 สมาคมวิชาชีพ

นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ล่าสุด กทม.ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับ 3 สมาคมวิชาชีพ ได้แก่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ให้เข้ามาร่วมในการตรวจสอบอาคารที่อยู่ระหว่างการยื่นแบบตรวจสอบ รวมทั้งร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร เพื่อให้ "กระชับ-ครอบคลุม-ถูกต้อง" ตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถออกใบ ร.1 ให้กับอาคารที่ยื่นตรวจสอบได้เร็วยิ่งขึ้น ความร่วมมือในครั้งนี้ กทม.ได้สนับสนุนงบประมาณดำเนินการในปีแรก ประมาณ 10 ล้านบาท

นอกจากนี้ กทม.ได้ปรับหลักเกณฑ์ขั้นตอนการตรวจสอบทั้งในส่วนของเจ้าของอาคาร และผู้ตรวจสอบอาคารใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าภายในปี 2556 จะสามารถประกาศบังคับใช้ได้ ประกันภัยบุคคลที่ 3 ไว้หรือไม่
  
ที่มา
[  ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-09-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.