| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 129 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-09-2555    อ่าน 1992
 เถ้าแก่หญิงพีดีเฮ้าส์ มาลี สุวรรณสุต จากรับเหมาสู่แฟรนไชส์รับสร้างบ้าน

สัมภาษณ์พิเศษ

"พีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น" เจ้าของแฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านรายแรกภายใต้แบรนด์ "พีดีเฮ้าส์" และ "เอคิวโฮม" เป้าหมายที่ต้องก้าวไปให้ถึงคือการเปิดสาขาให้ครบ 50 แห่งทั่วประเทศภายในสิ้นปีหน้า จากนั้นจะเริ่มขยายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว

เส้นทางเติบโตของพีดีเฮ้าส์ ที่เริ่มจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเมื่อปี 2531 จากนั้นปรับไลน์มาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านเต็มตัว ล่าสุดคือแฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านที่เข้าสู่ปีที่ 3 นอกจาก "พี่ป๋อง-สิทธิพร สุวรรณสุต"

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารพีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ดูแลนโยบายและทิศทางองค์กร ยังมีอีกคนที่มีส่วนสำคัญอยู่เบื้องหลังทุก ๆความ สำเร็จของพีดีเฮ้าส์ คนนั้นก็คือ "พี่เล็ก-มาลี สุวรรณสุต" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารพีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น ที่มีสถานะเป็นภรรยาคู่ใจ "ประชาชาติธุรกิจ" ถ่ายทอดบทสัมภาษณ์พิเศษถึงวิธีคิดวิธีบริหารในฐานะเถ้าแก่หญิงพีดีเฮ้าส์

ลูกหม้อ "สหพัฒน์กรุ๊ป"

เธอ เล่าว่า ก่อนมาเป็นเถ้าแก่แฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ เริ่มต้นงานแรกที่ บมจ.สหยูเนี่ยนในกลุ่มสหพัฒน์ ด้านตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่จะส่งออก รุ่นบุกเบิกตั้งโรงงานรองเท้าไนกี้ ถือว่าเป็นคนลุย ๆ ไม่กลัวงานหนัก เพราะระหว่างทำงานก็ซื้อของมาขายผ่อน เปิดร้านราดหน้าหม้อดินไปด้วย

ขณะที่คุณสิทธิพร (สามี) เรียนจบมาก็เป็นนายช่างรับจ้าง (ลูกจ้างชั่วคราว) ของโครงการสร้างงานชนบท (กสช.) ทำอยู่ 1-2 ปีก็ไปเป็นเซลส์ที่บริษัทรับสร้างบ้านซีคอน ขายบ้านได้เดือนละ 7-10 หลัง แต่ลาออกเพราะได้งานราชการเป็นนายช่างสุขาภิบาลที่คลองหลวง ปทุมธานี กระทั่งประมาณปี 2531 ก็เริ่มเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างควบคู่กัน เริ่มจาก หจก.ปทุมดีไซน์และการก่อสร้าง ปี 2533 ก็ตั้งเป็นบริษัทชื่อ "ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป" และลาออกจากงานราชการมาดูแลรับเหมาอย่างเดียว

แต่ ธุรกิจมีขึ้นก็มีลง จากอดีตที่เคยมีงานในมือกว่า 60 ไซต์ มีโฟร์แมน 22 คน มาเจอกับวิกฤตฟองสบู่ปี 2540 ต้องลดพนักงานกว่า 60 คน เหลือ 20 คน...เป็นสิ่งที่เสียใจที่สุดในชีวิตการทำธุรกิจ

"วิกฤตตอนนั้นที่ประคองตัวผ่านมาได้ เพราะได้เพื่อน ๆ คุณสิทธิพรในชมรม

นายช่าง สมัยทำงานนายช่างสุขาภิบาล แนะนำงานรับเหมาราชการให้ และได้ซัพพลายเออร์ (ร้านเฮ่งย่งสูง) ช่วยไว้"

ทุกวันนี้จึงมี 3 ส่วนที่ไม่ลืมเลย หนึ่งคือคู่ค้า สองคือพนักงาน สามคือหุ้นส่วน

ทำวิจัยองค์กรตั้งแต่ปี"43

ย่าง เข้าปี"43 ก็เริ่มฟื้น และตัดสินใจทำรับสร้างบ้านเต็มตัว เพราะราชการบางทีก็เจอขาใหญ่ ช่วงนั้นก็จ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำวิจัยองค์กรไปด้วย ประเมินผลพนักงาน ประมวลภาพภายในองค์กร วางผังองค์กร 5 ปีนับจากปี 2542-2547

ปรากฏ ว่าผลงานวิจัยตอนนั้นมีคนรู้จักบริษัทรับสร้างบ้านน้อยมาก ! ระดับจุดทศนิยมเลย กลายเป็นจุดเริ่มของการรวมตัวกันตั้งเป็นสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน โดย "สิทธิพร-มาลี" ร่วมเป็นกรรมการในยุคแรกของการก่อตั้ง

ต่อมาเมื่อทำ ธุรกิจแฟรนไชส์รับสร้างบ้านกลายเป็นจุดเปลี่ยนของการตัดสินใจครั้งสำคัญ กล่าวคือทั้ง 2 คนได้แตกตัวออกมาจัดตั้งสมาคมใหม่ในนาม "สมาคมไทยรับสร้างบ้าน" มีผลให้วงการรับสร้างบ้านมี 2 สมาคมเคียงคู่กันจนถึงปัจจุบัน

กลับมาที่ความเคลื่อนไหวของพีดี เฮ้าส์ กับคำถามที่ว่า จากธุรกิจรับสร้างบ้านที่บริษัทเป็นผู้ลงทุนเอง อะไรที่ทำให้พีดีเฮ้าส์เปลี่ยนแนวมาเป็นระบบแฟรนไชส์

"การลงทุนเองมีข้อจำกัดเรื่องการเติบโต ตอนเริ่มทำแฟรนไชส์เสียงปรามาสเยอะกว่าเชียร์นะ แต่ยิ่งเป็นแรงฮึด"

คุมจัดซื้อ-ล็อกวัสดุ "ราคาเดียว"

"พี่ เล็ก-มาลี" เล่าว่า สิ่งที่รับผิดชอบในพีดีเฮ้าส์ คืองานเบื้องหลัง ดูแลงานจัดซื้อ กิจกรรม ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะภารกิจหลักคือดูแลงานจัดซื้อจัดจ้างให้กับแฟรนไชส์มือใหม่ ในนามบริษัทในเครือ "พีดี สยามซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส" ปริมาณออร์เดอร์เฉลี่ยเดือนละเกือบ 20 ล้านบาท จากงานที่อยู่ระหว่างก่อสร้างกว่า 200 หลัง

หน้าที่คือเป็นคนเจรจา ต่อรองราคากับผู้ผลิตจากส่วนกลางหรือเจ้าของสินค้าโดยตรงให้แฟรนไชส์ไปซื้อ กับร้านเอเย่นต์ในพื้นที่ให้เขาสามารถซื้อวัสดุได้ในราคาเดียวกับที่บริษัท สั่งซื้อ เป็นราคาแบบ

วันไพรซ์ทั่วประเทศ แต่ค่าขนส่งจะคิดตามระยะทาง เป็นโมเดลธุรกิจแบบเดียวกับที่ "ราคาบ้าน" พีดีเฮ้าส์ก็ขายราคาเดียวทั่วประเทศ แต่คิดค่าขนส่งชิ้นส่วนเสา-คานสำเร็จรูปต่างกันตามระยะทาง เพราะโรงงานผลิตชิ้นส่วนอยู่ในจังหวัดราชบุรี

แต่ก็มีบ้างบางรายการ ที่บริษัทดีลราคาให้ แต่แฟรนไชส์สั่งซื้อเองจากร้านค้าในพื้นที่ เช่น ปูน หลังคา ฯลฯ เพราะถัวราคาสินค้าและค่าขนส่งแล้วถูกกว่า

"การที่ แฟรนไชส์ได้ราคาวัสดุแบบวันไพรซ์ทำให้เขาได้เปรียบคู่แข่ง เพราะรับสร้างบ้านอย่างเดียวมาร์จิ้นไม่เกิน 5-8% แต่พอมาเป็นแฟรนไชส์ได้ซื้อราคาวัสดุแบบวันไพรซ์ อาจจะได้มาร์จิ้นเพิ่มอีก 1-1.5% ถ้างานก่อสร้างผิดพลาดน้อย"

รู้เขารู้เรา เพิ่มสาขาถือหุ้น 100%

ตัวอย่าง กรณีจัดโปรโมชั่นลดราคาบ้าน 10% วิธีบริหารคือถ้าเป็นสาขาในภาคใต้ที่มีค่าขนส่งสูงกว่า จะให้จัดโปรโมชั่น ลด 5% เพราะต้องเผื่ออีก 5% ไว้สำหรับค่าขนส่ง แต่ภาคกลางและภาคอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานชิ้นส่วนจะลด 10% เป็นต้น

ถอดรหัสแนวคิดจาก ประสบการณ์ที่ทำแฟรนไชส์รับสร้างบ้าน "มาลี" พบว่า เป้าหมายใหญ่ที่จะมี 50 สาขาทั่วประเทศนั้น จำเป็นที่พีดีเฮ้าส์จะต้องมีสาขาที่ลงทุนเองควบคู่ไปด้วย อย่างน้อยต้องมีสัดส่วน 20% หรือประมาณ 12-13 สาขา เพื่อให้ "รู้เขารู้เรา" ต้นทุนทั้งหมดทั้งมวลระหว่างเครือข่ายสมาชิกแฟรนไชส์กับพีดีเฮ้าส์

ก่อน หน้านี้จึงทยอยเพิ่มจำนวนสาขาที่บริษัทถือหุ้น 100% ด้วยการแลกหุ้นกับผู้ร่วมทุน อาทิ มีการ "แลกหุ้น" โดยสาขานครราชสีมาเดิมพีดีเฮ้าส์ถือหุ้นใหญ่ ก็โอนหุ้นที่ถือทั้งหมดให้กับหุ้นส่วนที่เป็นผู้จัดการสาขา เพื่อแลกกับหุ้นในสาขาอุดรธานีและขอนแก่น

ส่งผลให้ปัจจุบันพีดี เฮ้าส์มี 10 สาขาที่ถือหุ้น 100% อาทิ สาขาอุดรธานี ขอนแก่น ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ รังสิต ตลิ่งชัน ฯลฯ และอีก 5 สาขาที่ถือหุ้น 60-80%

สำหรับเงื่อนไขการลงทุนแฟรนไชส์ "มาลี" บอกว่า ใช้เงิน 2.5-3 ล้านบาท ถ้ายอดขาย 20 ล้านบาท/ปี จะคืนทุนได้ภายใน 1 ปี 2 เดือน แต่โดยเฉลี่ยคือ 1 ปีครึ่ง-2 ปี สัญญาแฟรนไชส์เป็นระยะยาว 15 ปี แต่มีเงื่อนไขทบทวนการต่อสัญญาทุก 5 ปี เพื่อประเมินผล ขณะเดียวกันก็ให้แฟรนไชส์ทบทวนว่าจะโอนหรือขายสิทธิ์ต่อหรือไม่

บทเรียนธุรกิจ "แฟรนไชส์" แล้วกว่า 2 ปีที่ผ่านมาแฟรนไชส์ถามว่ามีแตกแถวหรือไม่ ?

"มีครั้งเดียว ตอนที่ปรับค่ารอยัลตี้ฟีสำหรับแบบบ้านพิเศษที่ต้องออกแบบใหม่ จาก 5% เพิ่มเป็น 6% เพราะแต่ละงานใช้เวลามาก บางครั้งต้องไปหาลูกค้า 7-8 รอบ ตอนแรกแฟรนไชส์บางส่วนไม่ยอม ตอนสุดท้ายคุยกันรู้เรื่อง เพราะมีแฟรนไชส์อีกส่วนที่เขาไม่ขัดข้อง"

ถามถึงเป้าหมายการเข้า ตลาดหลักทรัพย์ฯ "พี่มาลี" ยอมรับว่าแม้บริษัททำธุรกิจอย่างโปร่งใส มีบัญชีเดียว จ่ายภาษีอย่างถูกต้อง และแฟรนไชส์ทุกรายก็มีบัญชีเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำมาตลอด แต่สถานะบริษัทยังไม่แข็งแรงมากพอ ต้องรอให้มีสาขาที่บริษัทถือหุ้นเอง 100% 13-14 สาขาก่อน เพราะโจทย์ที่จะเข้าตลาดคือ... ผลกำไรและทรัพย์สิน ยอดขายจริง ๆ 500 ล้านบาท ก็เข้าได้แล้ว แต่ผลกำไรถ้าได้ปีละ 5-10 ล้านบาท ยังน้อยไป เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอาจจะไม่มีใครซื้อหุ้น รอให้บริษัทเปิดตลาดต่างประเทศก่อน แล้วค่อยกลับมาดูอีกที...ก็ยังไม่สาย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-09-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.