| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 122 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-08-2555    อ่าน 11063
 ศึกช้างชนช้าง "ไทวัสดุ vs โฮมโปร" แข่งชิงดำเค้กก้อนโต 5 หมื่นล้าน

โมเดิร์นเทรดค้าวัสดุก่อสร้างยุคนี้ คู่สัประยุทธ์ที่ถูกจับตามองมากที่สุดหนีไม่พ้น 2 บิ๊กแบรนด์ "โฮมโปร" กับ "โฮมเวิร์ค"

หากจะว่ากันตามเนื้อผ้า "โฮมโปร vs โฮมเวิร์ค" ถือเป็นตัวแทนของสองขั้วอำนาจในธุรกิจค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์

ฟากหนึ่งคือ "โฮมโปร" เปรียบเสมือนตัวแทนค่ายแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โดยมีเจ้าพ่อแลนด์ฯ "เฮียตึ๋ง-อนันต์ อัศวโภคิน"

ทั้งถือหุ้นและนั่งตำแหน่งประธานกรรมการ ขณะที่ "โฮมเวิร์ค" เป็นตัวแทนกลุ่มห้างเซ็นทรัลของตระกูล "จิราธิวัฒน์"

ทั้งคู่มีเป้าหมายไม่แตกต่างกันคือการช่วงชิงตำแหน่งเจ้าตลาดในวงการโมเดิร์นเทรดค้าวัสดุก่อสร้างของเมืองไทย อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อต่างคนต่างต้องการกินรวบทั้งตลาดกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด



โฮมโปรยอดสะสม 1.7 แสน ล.

กล่าวสำหรับ "โฮมโปร-บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)" ภายใต้การนำของเอ็มดีมากฝีมืออย่าง "คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล" และขุนพลการตลาดมือฉมังอย่าง "ณัฏฐ์ จริตชนะ" ถือว่ามีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอยู่หลายช่วงตัว ทั้งในแง่ของการออกสตาร์ตธุรกิจค้าปลีกวัสดุที่ยาวนานกว่า 16 ขวบปี

จนกระทั่งในปัจจุบัน โฮมโปรแตกกิ่งก้านสาขากว่า 50 สาขาทั่วประเทศ

ปูพรมกันตั้งแต่พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 20 สาขา ขณะที่ปักหมุดเขตต่างจังหวัดอีก 30 สาขา

ดูเหมือนจะยังไม่พอ แผนลงทุนที่ไม่หยุดยั้งคือภายในสิ้นปีนี้มีแผนจะเปิดเพิ่มอีก 3 สาขา ประกอบด้วย มหาชัย ราชบุรี และอุบลราชธานี สิริรวมเมื่อถึงตอนนั้นจะมีสาขาสะสมทั้งสิ้น 53 สาขาด้วยกัน

อาจกล่าวได้ว่ารายได้จาก "โฮมโปร" ถือเป็น "หัวรบ" ทางธุรกิจที่สร้างผลกำไรในกลุ่มแลนด์ฯอย่างเป็นกอบเป็นกำ

ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจหนัก ๆ 2 ครั้ง ทั้งวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 แต่ก็ประคองตัวผ่านมาได้ด้วยดี

ในปี 2543 เป็นช่วงจังหวะที่ "โฮมโปร" ตัดสินใจเข้าผันตัวเองเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และกลายเป็นสปริงบอร์ดชั้นยอด ตัวเลขยอดขาย

มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เบ็ดเสร็จในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา โฮมโปรมียอดขายสะสมรวมกว่า 1.744 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 15-20% เกือบทุกปี สัดส่วนรายได้กว่า 80%

มาจากยอดขายในต่างจังหวัด อีก 20% มาจากสาขากรุงเทพฯและปริมณฑล

ก้าวต่อไป ขยายฐาน AEC

"10 กว่าปีที่ผ่านมา โฮมโปรมีการปรับจูนคลื่นเพื่อให้สอดรับกับความต้องการผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ตลอดเวลา ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ได้หยุด ขณะเดียวกันการขยายสาขาใหม่ก็ต้องทำควบคู่กันไป เรียกว่าตอนนี้ในพื้นที่ กทม.และในต่างจังหวัดโฮมโปรไปหมดแล้ว บางจังหวัดเปิดมากกว่า 1 แห่ง และกำลังเน้นเจาะไปในจังหวัดขนาดกลาง ๆ ที่มีศักยภาพ" คำอธิบายแผนกลยุทธ์ของ "พี่ณัฏฐ์" ที่บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ภายใต้แรงกระเพื่อมของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 พบว่า หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดของโฮมโปรคือ แผนลงทุนบุกตลาดอาเซียน โดยอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อปักหมุดลงทุนในประเทศมาเลเซียเป็นแห่งแรก

ในประเด็นนี้ "พี่ณัฏฐ์" บอกว่า บริษัทได้ใบอนุญาตเปิดกิจการเรียบร้อยแล้ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องจัดหาที่ดินที่ยังไม่สามารถตกลงราคาค่าเช่า คาดว่าในปี 2556 จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากขึ้น ถึงแม้จะเป็นแผนที่เงื้อง่ามาพอสมควร แต่หลังจากนี้รูปธรรมจะต้องชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ อย่างน้อยที่สุดต้องเปิดบริการสาขามาเลเซีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ก่อนเปิดเออีซีแน่นอน

เซ็นทรัลไม่ถอดใจ "โฮมเวิร์ค"

ด้านตระกูล "จิราธิวัฒน์" เบอร์หนึ่งในธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มองเห็นโอกาสทางธุรกิจของช็อปค้าวัสดุก่อสร้างติดแอร์จากตัวอย่างผู้นำคือ โฮมโปร โดยเซตแบรนด์ขึ้นมาแข่งคือ "โฮมเวิร์ค" อย่างไรก็ตามผลงานช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถือว่ายังห่างชั้นกันไกลยิ่งนัก ไม่ว่าจะเปรียบเทียบเชิงตัวเลขรายได้หรือจุดบริการที่มีเพียง 7 สาขาเท่านั้น

ผู้บริหารรุ่นทายาทธุรกิจ "สุทธิสาร จิราธิวัฒน์" ยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ก่อนหน้านี้ว่า การขยายสาขาโฮมเวิร์คในช่วงที่ผ่านมาดูแผ่ว ๆ และไม่เป็นไปตามเป้าหมายไปบ้าง เพราะไม่สามารถหาพื้นที่ในทำเลที่เหมาะสมเพื่อนำมาเปิดสาขาได้ ทำให้ปีนี้ไม่มีการเปิดสาขาใหม่เพิ่ม

แต่ในปี 2556 เริ่มกันตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นไป แบรนด์โฮมเวิร์คจะต้องกลับมา "เวิร์ก" ให้ได้ โดยเตรียมแผนลงทุนเปิดเพิ่มอย่างน้อย 2-5 สาขา ใช้เงินลงทุนประมาณ 800-900 ล้านบาท/สาขา พื้นที่ขายอย่างต่ำ 10,000 ตารางเมตร

"นโยบายโฮมเวิร์คยังเหมือนเดิมคือเป็นร้านวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านที่ตอบสนองกำลังซื้อในเมือง ต่างจากไทวัสดุที่เจาะตลาดชานเมืองและต่างจังหวัด กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโฮมเวิร์คและไทวัสดุแตกต่างกันแน่นอน ทั้งด้านภาพลักษณ์ ขนาดพื้นที่ และตัวสินค้า"

"ไทวัสดุ" ตัวบุกเกมช้างล้มช้าง

เมื่อประเมินจากแรงจูงใจจากมูลค่าตลาดรวมถัวเฉลี่ยปีละ 50,000 ล้านบาท (ไม่รวมยอดขายโฮมมาร์ทในเครือเอสซีจี) ทำให้ผู้บริหารรุ่นทายาท "สุทธิสาร" ตัดสินใจรีโมเดลธุรกิจครั้งใหญ่ ลบภาพการทำธุรกิจแบบศักดินา ปรับจากช็อปค้าวัสดุติดแอร์มาสู่การเป็นโกดังค้าวัสดุแบบโอเพ่นแอร์ภายใต้แบรนด์ใหม่

"ไทวัสดุ" เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

ปรากฏว่าแจ็กพอตเข้าอย่างจังจนแทบจะไม่น่าเชื่อว่า เวลาสั้น ๆ เพียง 2 ปี

"ไทวัสดุ" ตะลุยเปิดสาขาไปแล้วถึง 20 แห่ง กำลังจะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่ง เบ็ดเสร็จในสิ้นปีนี้สาขาไทวัสดุจะมีมากถึง 22 สาขาด้วยกัน

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่โฟกัสไปที่ผู้รับเหมา สถาปนิก วิศวกร และลูกค้ารายย่อยระดับกลาง-ล่าง โดยยึดหัวหาดพื้นที่ย่านชานเมืองเป็นหลัก ทั้งหมดนี้คือคีย์ซักเซสที่ตระกูลจิราธิวัฒน์เพิ่งจะค้นพบ

พลิกดูผลประกอบการ ยิ่งจะเห็นชัดเจนว่า "ไทวัสดุ" เดินมาถูกทาง โดยในปีแรกที่ก่อตั้งไทวัสดุ ทั้งกลุ่มมียอดขายรวม 6,000 ล้านบาท เติบโตถึง 60% ในจำนวนนี้แบ่งเป็นไทวัสดุ 45% และโฮมเวิร์ค 55%

ขณะที่แผนเชิงรุกในปี 2555 วางเป้าหมายยอดขายรวมไว้ทั้งสิ้น 12,000 ล้านบาท มาจากไทวัสดุ 9,200 ล้านบาท และโฮมเวิร์ค 3,600 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งแรกของปีนี้ ยอดขายรวมของไทวัสดุเติบโตเกิน 100% ไปแล้ว

ส่งสัญญาณอ่อน ๆ ว่า เกมช้างล้มช้างกำลังจะเริ่มต้นแล้ว ณ บัดนี้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-08-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.