| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 73 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27 -07-2555    อ่าน 1958
 โครงการทะลวงจุดบอด "สถานีมักกะสัน" แผนในมือ "รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท." ถึงก็ชั่ง...ไม่ถึงก็ชั่ง

ยังหลุดเป้าซ้ำซาก กับแผนลงทุนโครงการทะลวงจุดบอด "สถานีมักกะสัน" หรือสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศในเมือง (City Air Terminal-CAT) ของรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ทุ่มเม็ดเงินสร้างสถานีแห่งนี้เพียงสถานีเดียวร่วม 2,000 ล้านบาท แต่กลับใช้ประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

แถมยังมีปัญหาให้ตามแก้ไข ไม่หยุดหย่อน ทั้งที่ "แอร์พอร์ตลิงก์" สายนี้เปิดวิ่งให้บริการมานานกว่า 2 ปี แต่ดูเหมือนการแก้ปัญหาสถานีนี้ยังย่ำอยู่กับที่

เหตุผลที่ผู้ บริหาร ร.ฟ.ท.พยายามชี้แจงกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ก็คือปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความไม่คล่องตัวของ "บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด" ที่เป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ มีผลให้เมื่อจะนำเงินมาใช้จ่ายจะต้องผ่านการอนุมัติจากการรถไฟฯ ทำให้ทุกอย่างล่าช้าไปจากแผนงาน

ดังนั้น บริษัทลูกครึ่งอย่างรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จะเป็นเอกชนก็ไม่ใช่ แถมยังถูกนำระบบรัฐวิสาหกิจที่มีความเป็นระบบราชการเข้มข้นมาใช้ในการบริหาร จัดการอีกต่างหาก



กลับ มาดูแผนทะลวงจุดบอดสถานีรถไฟฟ้า 2,000 ล้านบาทแห่งนี้ พบว่าโครงข่ายที่จะมาเสริมศักยภาพโดยรอบ "สถานีมักกะสัน" ตามแผนงานของการรถไฟฯ จะต้องเติมเงินลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 172 ล้านบาท มีประมาณ 4-5 โปรเจ็กต์ด้วยกัน

ความคืบหน้าล่าสุด ทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟท. จำกัด ได้รายงานให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะ เร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ชุดที่มี "ศรศักดิ์ แสนสมบัติ" รองปลัดกระทรวงคมนาคม คุมงานด้านขนส่ง นั่งหัวโต๊ะ

โดย ได้สรุปภาพรวมของแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงจราจรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า มักกะสัน ยังมีโอกาสเห็นเดือนเห็นตะวัน เพราะสถานะปัจจุบัน การรถไฟฯได้ผู้รับจ้างดำเนินโครงการต่าง ๆ แล้ว 5 โครงการ

ประกอบ ด้วย 1) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ จัดทำรั้ว และจัดทำป้ายจราจรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน เริ่มสัญญา 4 พฤษภาคม 2555

2) โครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อต่างระดับ (แลมป์) จากถนนรัชดาภิเษกเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ระยะเวลาดำเนินการ 300 วัน เริ่มสัญญา 28 มีนาคม 2555

3) โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับหรือสกายวอล์กเชื่อมต่อกับสถานีเพชรบุรีของ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ระยะทาง 130 เมตร ค่าก่อสร้าง 80 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 150 วัน เริ่มสัญญา 10 พฤษภาคม 2555 มีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2555 นี้

4) โครงการก่อสร้างแลมป์จากถนนจตุรทิศเชื่อมต่อกับถนนภายในสถานีรถไฟฟ้า มักกะสัน ขนาด 2 ช่องจราจร ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน เริ่มสัญญา 20 มกราคม 2555 วงเงินก่อสร้าง 41.43 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2556

และ 5) โครงการปรับปรุงถนนภายในสถานีรถไฟฟ้ามักกะสันและปรับปรุงทางแยกบริเวณถนน นิคมมักกะสันและถนนกำแพงเพชร 7 ระยะเวลาดำเนินการ 300 วัน ซึ่งได้เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ใช้งบประมาณก่อสร้าง จำนวน 27.33 ล้านบาท

ส่วนงานที่เหลืออีกเล็กๆ น้อย เช่น ขยายถนนรัชดาภิเษกเพิ่ม 2 ช่องจราจร (ช่วงจากถนนสายหลักของโครงการถึงถนนจตุรทิศ), งานปรับปรุงและขยายถนนสายหลัก

ก่อ สร้างถนน 3 ช่องจราจรเชื่อมต่อจากแยกนิคมมักกะสันกับถนนสายภายในสถานีมักกะสัน และงานก่อสร้างเครื่องกั้นทางรถไฟ ซึ่งการถไฟมีแผนจะใช้เวลาดำเนินการ 300 วัน

รวมถึงโครงการสร้างทางเชื่อมต่างระดับขนาด 1 ช่องจราจร จากถนนรัชดาภิเษกเข้าสู่อาคารสถานีมักกะสัน 74.91 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 300 วัน

ทั้งหมดนี้ยังไม่มีกำหนดวันเวลาที่จะเริ่มลงมือชัดเจน

ตามสไตล์ "ถึงก็ชั่ง...ไม่ถึงก็ชั่ง" อยู่นั่นเอง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27 -07-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.