| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 61 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26 -07-2555    อ่าน 11217
 รื้อประมูล"รัฐสภาใหม่"กันยายนนี้ กทม.-คมนาคมเคลียร์แผนลงทุน/สร้างถนนเพิ่ม

นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีมติให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ศึกษาความเหมาะสมของโครงการเชื่อมต่อโครงข่ายถนนระหว่างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย จากถนนเลียบทางรถไฟสายใต้กับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก เพื่อเสริมโครงข่ายการจราจรโดยรอบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

เจ้าภาพ 3 หน่วยงาน

ทั้งนี้ โครงข่ายเดิมที่อยู่ในแผนการก่อสร้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1) โครงการของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ 1.สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย 2.ขยายถนนสามเสนและถนนประชาราษฎร์สาย 1



3.ขยายถนนทหาร 4.ก่อสร้างท่าเรือพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการเชื่อมต่อ 5.ก่อสร้างถนนคู่ขนานสามเสน 6.ก่อสร้างถนนเชื่อมต่อโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเกียกกายกับถนนกำแพงเพชร 7.ก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนประชาชื่นกับถนนพระราม 6 และ 8.ก่อสร้างถนนเลียบคลองเปรมประชากรจากถนนเตชะวณิชย์ถึงถนนรัชดาภิเษก

2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 4 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 1 โครงการ อีก 3 โครงการเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วง 3 ช่วงคือ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ, ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และช่วงเตาปูน-อาคารรัฐสภาแห่งใหม่

3) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีแดง 1 โครงการ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน อีก 2 โครงการเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดง 2 ช่วงคือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และ 4) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีโครงการทางด่วนสายใหม่จากศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก

กทม.ของบฯเวนคืนก้อนแรก

นอกจากนี้ ที่ประชุมมอบให้สำนักการโยธา กทม.หารือรายละเอียดกับ 2 หน่วยงานคือ 1.หารือกับการรถไฟฯในการเชื่อมต่อถนนโครงการสะพานเกียกกาย บริเวณจุดเริ่มต้นโครงการในฝั่งธนบุรี บริเวณถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ และบริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 2.หารือกับการทางพิเศษฯในการเชื่อมต่อทางด่วนสายศรีรัชฯ เพื่อให้โครงการสอดรับและทำให้โครงข่ายสมบูรณ์มากขึ้น

นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการสร้างสะพานเกียกกายและถนนต่อเชื่อม กทม. ขอเงินอุดหนุนก้อนแรกในปีงบประมาณ 2556 จากรัฐบาลมาเวนคืนที่ดิน 100-200 ล้านบาท จากทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 10,500 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำและถนนโครงข่าย 4,500 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 6,000 ล้านบาท

"ปัจจุบันกำลังร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืน คาดว่าจะใช้เวลา 8 เดือนถึง 1 ปีจึงจะประกาศแนวเวนคืนได้ ซึ่งหมายความว่าน่าจะเริ่มเวนคืนได้ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เปิดประมูลปี"57 เริ่มสร้างในปี"58 แบ่งเป็น 3 สัญญา ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน น่าจะทันกับการเปิดใช้อาคารรัฐสภาใหม่ในปี"58"

ปัดฝุ่นโครงข่ายถนน 5 โครงการ

นายจุมพลกล่าวด้วยว่า สำหรับโครงข่ายถนนอีก 5 โครงการจะเป็นเฟสต่อไป หลังจากได้สร้างสะพานเกียกกายไปแล้ว คาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2560 เนื่องจากจะต้องจัดทำรายละเอียดเพิ่มทั้งแบบก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน เพราะกระทบประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก โดยทั้ง 5 โครงการใช้เงินก่อสร้างกับเวนคืนที่ดินประมาณ 8,510 ล้านบาท

แนวเส้นทางโครงการสะพานเกียกกายและถนนต่อเชื่อมของ กทม. มีจุดเริ่มต้นบนฝั่งธนบุรีบริเวณถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ และมีจุดสิ้นสุดบนฝั่งพระนครที่ถนนกำแพงเพชร รูปแบบเป็นโครงสร้างถนนยกระดับ 4 ช่องจราจร ข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย ซึ่งสะพานจะเป็นขนาด 6 ช่องจราจร 2 กม. จากนั้นยกระดับข้ามแยกเกียกกาย แยกสะพานแดง ข้ามทางรถไฟ ข้ามทางด่วน ข้ามแยก อ.ต.ก. บรรจบกับถนนพหลโยธินด้านหน้าสวนจตุจักรรวมประมาณ 10 กม.

ทช.ชี้มีแนวเส้นทางเบื้องต้นแล้ว

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า กรมเคยมีแนวเส้นทางเบื้องต้นอยู่แล้ว แนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ห่างกันประมาณ 2-3 กม.

มีจุดเริ่มต่อจากเส้นทางรถไฟสายใต้ ซึ่งเป็นจุดปลายทางของโครงการเกียกกาย แล้ววิ่งมาด้านใต้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จากนั้นแนวจะขนานไปกับทางรถไฟสายใต้และทางด่วน ตัดกับ ถ.ราชพฤกษ์ ระหว่างด้านเหนือของคลองมหาสวัสดิ์-อุโมงค์ราชพฤกษ์ โดยจุดปลายทางโครงการจะบรรจบกับถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก ช่วงระหว่างโรงกรองน้ำและถนนนครอินทร์

รูปแบบก่อสร้างเป็นถนนตัดใหม่ระดับดิน 4 ช่องจราจร ประมาณ 10 กม. แนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่ป่าและสวน แต่จะหนาแน่นบริเวณพื้นที่ชุมชนด้านทิศใต้ของ กฟผ. แต่เมื่อเลยออกไปจะเป็นป่าและสวน คาดว่าจะใช้งบฯก่อสร้าง 500 ล้านบาทยังไม่รวมค่าเวนคืน เนื่องจากแนวเส้นทางยังไม่ชัดเจน

"กรมเตรียมของบฯ ศึกษาโครงการ คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี" แหล่งข่าวกล่าว

ขยายเวลาประมูลรัฐสภาใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผลคืบหน้าแผนลงทุนก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ของสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันอยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง ล่าสุดรัฐสภาเตรียมออกประกาศเชิญชวนผู้รับเหมามายื่นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ก่อนหน้านี้มีมายื่นแล้ว 4 รายประกอบด้วย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บมจ.ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น, บมจ.เพาเวอร์ไลน์ฯ และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

แต่เนื่องจากมีผู้สนใจน้อยราย เพื่อให้เกิดการแข่งขันจึงขยายเวลาเปิดประมูลออกไปอีก คาดว่าจะออกประกาศประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ เพื่อให้ได้ผู้รับเหมาที่ชนะประมูลและลงนามภายใน 5 ธันวาคมนี้ จากนั้นจึงจะเริ่มลงมือก่อสร้างภายในเดือนมกราคม 2556 ใช้เวลา 900 วัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 26 -07-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.