| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 71 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-07-2555    อ่าน 1981
 โครงการที่ถูกลืม!อุโมงค์ลอดสามแยกไฟฉาย กทม.ปรับแบบ3ปี ลุ้นต.ค.นี้ตอกเข็มรอบใหม่

อุโมงค์ลอดสามแยกไฟฉาย หนึ่งในโครงการเจ็ดชั่วอายุคนของ "สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร" กำลังจะสร้างอยู่ดี ๆ ปรากฏว่ามีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) ทับซ้อนพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ ทำให้ต้องปรับแบบใหม่

ประเด็นคือใช้เวลา "ปรับแบบ" อย่างเดียว 3 ปีเต็ม ความคืบหน้าล่าสุด "วินัย ลิ่มสกุล" ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม.ชี้แจงว่า สาเหตุที่ล่าช้าเพราะต้องเสียเวลาปรับแบบ เนื่องจากไซต์โครงการกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ในฐานะเจ้าของโครงการอุโมงค์ลอดฯ กับ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินดังกล่าว

ลำพังมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ 2 หน่วยงานทับซ้อนกันก็สร้างปัญหาจราจรในพื้นที่ติดขัดเป็นเท่าทวีคูณอยู่แล้ว แต่การออกแบบเนื่องจากต่างหน่วยงานจึงกลายเป็นว่าต่างคนต่างออกแบบ ผลลัพธ์ในวันนี้ แทนที่จะ "ประสานงาน" กลับกลายเป็นการ "ประสานงา" เข้าอย่างจัง เมื่อ รฟม.ออกแบบให้มีสถานีรถไฟฟ้าสีน้ำเงินอยู่ในแนวเดียวกับอุโมงค์ลอดฯของ กทม.

"ที่ผ่านมา กทม.ต้องยุติการก่อสร้าง

อุโมงค์ลอดฯไว้ก่อน และตั้งคณะทำงานร่วมกับ รฟม.เพื่อหารือในการแก้ไขแบบใหม่ ถือว่ามีข่าวดีเพราะล่าสุดได้ข้อยุติแล้ว"

แบบใหม่ที่เป็นข้อยุติก็คือ ปรับลดความยาวของทางลอดและลดความกว้างลง ช่วยเพิ่มความกว้างของทางเท้าจากเดิม 1.50 เมตร เป็น 2.50 เมตร ผลพลอยได้คือประชาชนสามารถใช้พื้นที่ทางเท้าได้กว้างขวางมากขึ้น

รายละเอียดของการปรับแบบ ตัวอุโมงค์จะก่อสร้างเป็นทางลอด กว้างประมาณ 10.60 เมตร ความยาวประมาณ 594.45 เมตร ขณะที่ความยาวโครงการประมาณ 1,250 เมตร

โดยผนังพืด (Diaphragm wall) ที่อยู่ภายในของทางลอดจะมีความหนา 1 เมตร ความลึกประมาณ 35.45 เมตรจากระดับผิวถนน และตำแหน่งเสาของรถไฟฟ้าที่จะอยู่ติดกับผนังพืดของทางลอดจะถูกออกแบบให้เป็นเสาเข็มเจาะแบบผนังพืด (Barrette Pile) ขนาด 1x5 เมตร และ 1x12 เมตร ความลึกประมาณ 57.95 เมตร (จากระดับผิวถนน)

ทั้งหมดนี้ตอบโจทย์ง่าย ๆ ว่า ผนังอุโมงค์ลอดฯของ กทม. สามารถรองรับการถ่ายเทน้ำหนักจากโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินของ รฟม.ได้นั่นเอง

"ตอนนี้ กทม.ได้ส่งแบบแก้ไขงานก่อสร้างอุโมงค์บางส่วนให้กับบริษัทผู้รับเหมาแล้ว ในเวลาเดียวกันก็ได้เสนอเรื่องตามขั้นตอนให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เพื่อพิจารณาอนุมัติแบบก่อสร้างด้วย

คาดว่าจะได้รับการอนุมัติและจะเริ่มกลับมาลงมือตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างโครงการได้อีกครั้งภายในเดือนตุลาคมนี้ โดย กทม.ขยายเวลาตามสัญญาก่อสร้างเป็น 1,465 วัน เพราะบวกช่วงเวลาที่เสียไปกับการปรับแบบด้วย" คำกล่าวของ "ผอ.วินัย"

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างอุโมงค์สามแยกไฟฉาย เป็นหนึ่งในโครงการแก้ไขปัญหาจราจรเร่งด่วนระยะกลางของ กทม.ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ลักษณะโครงการเดิมเป็นการก่อสร้างทางลอดใต้ทางแยกไฟฉาย ในแนวถนนจรัญสนิทวงศ์

มีความยาวทางลอดประมาณ 827 เมตร ขนาด 3 ช่องจราจร กว้าง 12 เมตร ความสูงช่องลอดประมาณ 5 เมตร ความยาวรวมทั้งโครงการ 1,250 เมตร ใช้งบประมาณ 788 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 820 วัน โดยมี "KPV-บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด" เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง กำหนดเริ่มงาน 28 ตุลาคม 2552 ตามสัญญาเดิมจะต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 25 มกราคม 2555

กล่าวสำหรับประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่ เพื่อไม่ให้หลงดีใจเก้อ "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามความคืบหน้าไปยัง "KPV"

ผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดสามแยกไฟฉาย

แหล่งข่าวจากบริษัท KPV ระบุว่า ขณะนี้บริษัทได้ดำเนินงานตามรายละเอียดของแผนงานไปบ้างแล้ว โดยมีเนื้องานหลักแบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค (ตัวอุโมงค์), ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ระบบโทรศัพท์ และระบบการสื่อสาร

ผลงานก่อสร้างตามสัญญาพบว่า มีงานที่แล้วเสร็จ 1 ระบบคือการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งติดตั้งเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน งานฝังหรือติดตั้งระบบใต้ดิน ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ภาพรวมคืบหน้าไปแล้วกว่า 70% ตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้ง 3 ส่วนภายในปลายปีนี้

"เหลือเพียงการก่อสร้างอุโมงค์เท่านั้นที่ยังไม่มีการดำเนินงานใด ๆ เนื่องจาก กทม.อยู่ระหว่างแก้ไขรูปแบบเพิ่มเติม ทั้งเรื่องการร้องเรียนและเสียงคัดค้านจากชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างว่า ตัวอุโมงค์อาจมีผลกระทบต่อการทำมาค้าขายย่านริมฟุตปาท" แหล่งข่าวกล่าวย้ำ

สรุปคนฝั่งธนฯยังต้องลุ้นกันต่อไปว่า อุโมงค์ลอดฯ vs รถไฟฟ้า โครงการไหนจะเสร็จก่อนกัน...กันแน่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-07-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.