| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 69 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-07-2555    อ่าน 11006
 รัฐ-เอกชนดัน"สูงเนิน"เนรมิตเมืองใหม่"โคราช"

ภาครัฐ-เอกชนโคราชกางแผนพัฒนาเมือง ชง ครม.สัญจรสุรินทร์ หนุนโครงการ "เมืองใหม่นครราชสีมา" รองรับอุตสาหกรรมเติบโต ลดความแออัดในตัวเมือง เล็งทำเลพื้นที่ "อำเภอสูงเนิน" มีศักยภาพเหมาะสม คาดใช้งบฯศึกษาและจัดทำผังเมืองเฉพาะกว่า 20 ล้าน

นายจักริน เชิดฉาย ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด นครราชสีมา (กรอ.จังหวัดนครราชสีมา) ครั้งที่ 2/2555 มีการพิจารณาเกี่ยวกับการเสนอโครงการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ครั้งที่ 6 ที่จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2555 นี้

เรื่องสำคัญที่หอการค้าจังหวัด นครราชสีมาต้องการผลักดันมากที่สุดคือ "โครงการเมืองใหม่นครราชสีมา" เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมามีชุมชนต่าง ๆ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีการกระจายตัวของอาคารบ้านเรือนเป็นไปอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน (Urban Sprawl) ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เกิดความขัดแย้งกัน ปะปนกันของกิจกรรมต่าง ๆ ทำลายสภาพแวดล้อม ศิลปกรรม และวัฒนธรรม

นอก จากนี้ ประชากรมีอัตราการเกิดสูงขึ้น และมีอัตราการตายลดต่ำลง ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งปริมาณแรงงานในชนบทเกินความจำเป็นที่จะทำการเกษตร จึงมีการอพยพเข้ามา

ตั้ง ถิ่นฐานและประกอบอาชีพในเมืองมากขึ้น ซึ่งในระยะเวลา 5-10 ปีข้างหน้า โคราชจะมีประชากรเพิ่มมากกว่า 500,000 คน เนื่องจากการเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จึงต้องวางแผนรองรับเมืองที่จะโตขึ้นในอนาคต

ขณะเดียวกันยังมีโรงงาน อุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตเพิ่มเป็นจำนวนมาก และมีการขยายฐานการลงทุนของบริษัทต่าง ๆ จนกลายเป็นแหล่งแรงงานเพื่อการผลิตอุตสาหกรรมและบริการ

ต่าง ๆ การขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้มีความต้องการใช้พื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น เมืองจึงเกิดความหนาแน่นแออัด

นาย จักรินเปิดเผยว่า เบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าบริเวณอำเภอสูงเนิน เป็นพื้นที่ที่ควรศึกษาโครงการเมืองใหม่มากที่สุด เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่งตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาห กรรมนวนคร โคราช และเขตประกอบการอุตสาหกรรม พี.ซี.เอส นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก เชื่อมโยงภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ศึกษาโครงการเมืองใหม่นครราชสีมา จะต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและกลยุทธ์ของจังหวัดนครราชสีมา, กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) และสัมพันธ์กับผังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศไทยด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาท สำหรับโครงการศึกษาและจัดทำผังเมืองเฉพาะโครงการเมืองใหม่นครราชสีมา ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการจะต้องใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี หรือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555-30 กันยายน 2556

นอกจาก โครงการเมืองใหม่นครราชสีมาแล้ว ที่ประชุม กรอ.จังหวัดนครราชสีมา ยังมีการนำเสนออีกหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา วงเงิน 4,600 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างขยายทางจราจรจาก 2 ช่องทางเป็น 4 ช่องทางจราจร เส้นทางจากสีคิ้ว-หนองบัวโคก วงเงิน 1,200 ล้านบาท, เส้นทางจากเฉลิมพระเกียรติ-บ.หนองกระทิง วงเงิน 1,500 ล้านบาท, เส้นจากโนนไทย-หนองบัวโคก วงเงิน 1,000 ล้านบาท

โครงการเชื่อมผืน ป่ามรดกโลก ทางหลวงหมายเลข 304 ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี วงเงิน 920 ล้านบาท, โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน ศูนย์ซ่อมอากาศยาน และศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาครวมทั้งเชื่อมโยงประเทศ AEC โครงการปรับปรุง Emergency Spill Way เขื่อนลำพระเพลิง วงเงิน 649,268,000 บาท, โครงการพัฒนาระบบส่งน้ำและกระจายน้ำบึงพุดซา พื้นที่ 2,500 ไร่ วงเงิน 80 ล้านบาท, โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งโครงข่ายทางหลวงชนบท วงเงิน 830 ล้านบาท, โครงการถนนสาย ฉ. ผังเมืองรวมเมืองนครราชสีมา วงเงิน 2,000 ล้านบาท, โครงการพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์แบบบูรณาการ จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 122,282,464 บาท, โครงการส่งเสริมการเลี้ยง

โค เนื้อพันธุ์โคราชวากิว วงเงิน 48,968,000 บาท, โครงการจัดสร้างอุทยานไดโนเสาร์ (DINO PARK) วงเงิน 1,390 ล้านบาท, โครงการจัดตั้งพื้นที่อุทยานธรณีแห่งชาติกลุ่มจังหวัด วงเงิน 5 ล้านบาท, โครงการ นอร์ทอีสเทิร์น ฟู้ดส์ วัลเลย์ และโครงการจัดตั้งศูนย์การแพทย์สู่ระดับสากล และจัดตั้งสำนักทันตแพทยศาสตร์

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นประตูสู่ภาคอีสาน มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศ มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ประมาณ 2.6 ล้านคน ยังไม่นับรวมประชากรแฝง ขณะนี้เมืองโคราชขยายตัวมากทั้งในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ ภาคบริการและการท่องเที่ยว ทำให้มีคนย้ายเข้ามาทำงาน เรียนหนังสือ และเข้ามาพักอาศัยมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และการจราจรติดขัด

ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจของ จังหวัดนครราชสีมาขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนร้อยละ 23.01 รองลงมาคือ ภาคการเกษตรร้อยละ 21.91 และการค้าส่งค้าปลีกร้อยละ 14.52 ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดกว่า 2,500 โรงงาน เงินลงทุนประมาณ 1.4 แสนล้านบาท มีการจ้างงานเกือบ 1.4 แสนคน และภาวะการลงทุนยังขยายตัวต่อเนื่อง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-07-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.