| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 51 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-07-2555    อ่าน 1872
 ยลสถาปัตยฯ "สถานีอิโปห์" ต้นแบบรถไฟทางคู่ "ประจวบฯ-ชุมพร"

ทริปบินลัดฟ้าเยี่ยมเยือนประเทศมาเลเซีย ดูโครงการรถไฟทางคู่ของ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ไม่ใช่แค่ทัศนศึกษางานด้านก่อสร้างโยธาอย่างเดียว ยังถือโอกาสเก็บเกี่ยวสถาปัตยกรรมที่นำกลับมาออกแบบสถานีรถไฟทางคู่สู่สาย ใต้ ช่วง "ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร" ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ของประเทศไทย ให้งดงามไม่แพ้ประเทศเพื่อนบ้าน

จาก ทั้งหมด 21 สถานี "สนข." คัดมาเฉพาะ 2 สถานี "ประจวบฯ-ชุมพร" ที่ต้องการให้รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ เพราะในอนาคต นอกจากรถไฟสายนี้จะให้บริการขนผู้โดยสารทั่วไปแล้ว ยังมีบทบาทเพิ่มให้เป็นสถานีท่องเที่ยวพ่วงไปด้วย

ทาง "สนข." มีแนวคิดเลือก "สถานีรถไฟอิโปห์-Ipoh" เป็นสถานีต้นแบบ เพราะโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ เรียกว่ายังงดงามสะดุดตา แม้วันเวลาจะผ่านมาหลายสิบปี

ในอดีต "สถานีรถไฟอิโปห์" สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาล แต่หลังจากใช้งานมาได้สักระยะหนึ่ง ถูกปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นสถานีรถไฟ ตัวอาคารออกแบบและก่อสร้างในปี 2460 หรือเมื่อ 95 ปีที่แล้ว

โดยมี "อาเธอร์ เบนิสัน ฮับแบค" สถาปนิกชาวอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบให้ อาศัยประสบการณ์จากที่เคยคลุกคลีด้านออกแบบในประเทศอินเดียมาใช้กับการดี ไซน์ สไตล์ที่ออกมาจึงผสมผสานสถาปัตยกรรมระหว่าง "อังโกล+เอเชี่ยน" และปรับให้เข้ากับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น จนออกมาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร สวยถึงขนาดได้รับสมญาว่า "ทัชมาฮาลแห่งอิโปห์" ก็แล้วกัน

ต่อมาในปี 2550 "สถานีอิโปห์" ได้รับการบูรณะปรับปรุงใหม่ให้ร่วมสมัยขึ้น แต่ยังคงรูปแบบอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ โดยปรับพื้นที่ของสถานีให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดรับกับระบบรถไฟทางคู่ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่

ปัจจุบันตัวสถานี อิโปห์ ภายนอกทาด้วยสีขาว ภายในสถานีตกแต่งสีสันสดใสด้วยสีน้ำเงินและสีเหลือง พื้นที่สถานีถูกจัดแบ่งหลายส่วน ไล่ตั้งแต่เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วรถไฟ ร้านค้า ห้องน้ำ ห้องรับรองพิเศษ รวมถึงเก้าอี้ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่มารอใช้บริการกระจายไปตามจุดต่าง ๆ อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ขณะที่พื้นที่ชานชาลาจะมีเก้าอี้ให้นั่งคอยเช่นกัน

กลับ มาดู 2 สถานีรถไฟทางคู่ "สถานีประจวบคีรีขันธ์-สถานีชุมพร" ที่ "สนข." มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบ แนวคิดคือยังคงรักษาอาคารเดิมไว้โดยไม่แตะหรือต่อเติมโครงสร้างของอาคารเดิม อนุญาตเพียงให้ก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบข้างเท่านั้น

อีก ทั้งวางผังอาคารใหม่บริเวณด้านข้างอาคารเดิมสำหรับใช้ประโยชน์ด้านการอำนวย ความสะดวก เช่น ก่อสร้างสะพานหรือทางลอดรถไฟให้เชื่อมต่อระบบอื่น ๆ และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ที่สำคัญ "สถาปัตยกรรม" ต้องสวยงามไม่แพ้เพื่อนบ้าน เพื่อดึงดูดลูกค้าต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยมากขึ้นในอนาคต
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-07-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.