| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 178 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-07-2555    อ่าน 1997
 รีวิวใหม่สายสีชมพู"แคราย-มีนบุรี" เพิ่ม30สถานีรถไฟฟ้า"สนามบินน้ำ-มีนบุรี"เฮสุดสุด



"จารุพงศ์" สั่งทบทวนแผนลงทุนรถไฟฟ้าสีชมพูใหม่ทั้งเส้น เหตุเพราะความเจริญในพื้นที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก ชี้แนวเส้นทางคงเดิม แต่จำนวนสถานีเพิ่มจาก 24 เป็น 30 สถานี "สนามบินน้ำ-มีนบุรี" ได้เฮมีที่จอดรถรวม 1.1 พันคัน

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) หลังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้างบริษัทที่ปรึกษามาทบทวนผลการศึกษาเดิมเมื่อปี 2552 โดยสรุปภาพรวมมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมพอสมควร จะเปลี่ยนระบบเดินรถเป็นโมโนเรล (รถไฟฟ้ารางเดี่ยว) วงเงินลงทุนจะถูกกว่ารถไฟฟ้าเฮฟวี่เรล (รถไฟฟ้าขนาดหนัก) ประมาณ 10,000 ล้านบาท

"ผมให้ รฟม.เดินหน้าโครงการนี้โดยเร็วแบบโมโนเรล เพราะผ่านสิ่งแวดล้อมแล้ว หากกลับไปเป็นเฮฟวี่เรลอีกจะเสียเวลาถึง 4 ปี"

นายจารุพงศ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสถานีใหม่อีก 6 สถานี จากเดิม 24 เป็น 30 สถานี โดยปรับตำแหน่งที่ตั้งสถานีให้สั้นลงเฉลี่ยประมาณ 1.2 กิโลเมตรต่อสถานี รวมถึงวงเงินก่อสร้างที่จะเพิ่มขึ้น เพราะมีการเพิ่มสถานีใหม่



คงแนวเส้นทางเดิม

แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้งฯ วงเงินกว่า 30 ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งโดยไม่ได้แตะแนวสายทางรูปแบบก่อสร้าง ยังคงเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นคงเดิมที่จุดเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ด้านหน้าศูนย์ราชการนนทบุรี แนวรถไฟฟ้าจะเลี้ยวซ้ายแยกแครายเข้า ถ.ติวานนท์ วิ่งไปตามเกาะกลางถนน เลี้ยวขวาที่แยกปากเกร็ดเข้า ถ.แจ้งวัฒนะ ผ่านทางด่วนขั้นที่ 2 แยกหลักสี่ ผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ตรงเข้า ถ.รามอินทรา ถึงแยกมีนบุรีตรงเข้าตัวเมืองมีนบุรี ตาม ถ.สีหบุรานุกิจ ไปสิ้นสุดทางแยก ถ.ร่มเกล้า รวมระยะทาง 34.5 กม.

ขยับจุด-เพิ่มใหม่ 6 สถานี

แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้งนี้มีการขยับตำแหน่งสถานีเดิมและเพิ่มสถานีใหม่อจากเดิมมี 24 สถานีจะเพิ่มเป็น 30 สถานี พร้อมที่จอดรถ 2 สถานีคือ สนามบินน้ำ 48 ไร่ จอดรถ 225 คัน และมีนบุรี 50 ไร่ อาคารจอดรถ 9 ชั้นสำหรับจอดรถ 1,500 คัน

รายละเอียดสถานี ได้แก่ 1) สถานีศูนย์ราชการ จ.นนทบุรี อยู่บน ถ.รัตนาธิเบศร์ หน้าศูนย์ราชการ จ.นนทบุรี 2) สถานีแคราย ขยับจากเดิมมาอยู่บริเวณใกล้กับโรงพยาบาลทรวงอกนนทบุรี ระหว่างซอยติวานนท์ 13 และซอยติวานนท์ 15 รองรับแหล่งชุมชน โรงพยาบาล และตลาดมากขึ้น

3) สถานีสนามบินน้ำ ขยับจากเดิมมาอยู่หน้ากรมพลาธิการทหาร ใกล้ทางแยกถนนสนามบินน้ำ ระหว่างแยก ถ.สนามบินน้ำและซอยติวานนท์ 35 รองรับผู้โดยสารจากสนามบินน้ำ 4) สถานีสามัคคี ขยับจากเดิมไปทางซอยติวานนท์ 52 ก่อนแยกเข้า ถ.สามัคคี ให้ใกล้กับแหล่งชุมชนมากขึ้น

5) สถานีกรมชลประทาน ขยับจากเดิมมาใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา ระหว่างซอยติวานนท์ 4 และซอยติวานนท์ 6 เพื่อรองรับผู้โดยสารจากโรงพยาบาลชลประทาน กรมชลประทาน และโรงเรียนชลประทานวิทยาคม 6) สถานีปากเกร็ด ขยับจากตำแหน่งเดิมไปอยู่ระหว่างทางห้าแยกปากเกร็ดกับห้างคาร์ฟูร์ แจ้งวัฒนะ รองรับผู้โดยสารจากชุมชนห้าแยกปากเกร็ด

7) สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ขยับจากเดิมมาใกล้แยก ถ.เลี่ยงเมืองปากเกร็ด

ตัดกับ ถ.แจ้งวัฒนะ มาบริเวณมีพื้นที่ว่างที่จะสามารถสร้างอาคารจอดแล้วจรได้

8) สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 เป็นสถานีใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา อยู่บริเวณใกล้กับกระทรวงยุติธรรม รองรับผู้โดยสารจากซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 และหมู่บ้านสวัสดิการ กทม.

9) สถานีเมืองทองธานี (ม.สุโขทัย) ขยับใหม่ให้อยู่ใกล้ถนนเข้าเมืองทองธานี และสะพานข้ามทางแยกเมืองทองธานี

10) สถานีศรีรัช อยู่บริเวณใกล้ทางด่วนศรีรัช 11) สถานีเมืองทอง 1 ใกล้กับโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ และห้างบิ๊กซี แจ้งวัฒนะ 12) สถานีศูนย์ราชการ 1 ใกล้กรมการกงสุล ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 9 กับซอยแจ้งวัฒนะ 7

13) สถานีศูนย์ราชการ 2 เป็นสถานีใหม่เพิ่มเติม อยู่ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7 รองรับผู้โดยสารที่เข้าศูนย์ราชการ 14) สถานีหลักสี่ อยู่บริเวณใกล้แยกหลักสี่ 15) สถานีราชภัฏพระนคร อยู่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 16) สถานีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ใกล้กับวงเวียนหลักสี่ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) 17) สถานีรามอินทรา 3 เป็นสถานีใหม่เพิ่มเติม ใกล้ห้างเซ็นทรัล รามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 3 และซอยรามอินทรา 5

18) สถานีลาดปลาเค้า อยู่ใกล้ทางเข้า ถ.ลาดปลาดเค้า 19) สถานีรามอินทรา 31 เป็นสถานีใหม่เพิ่มเติม ใกล้ห้างสรรพสินค้าฟู้ดแลนด์ ระหว่างซอยรามอินทรา 29 และซอยรามอินทรา 31 20)สถานีมัยลาภ อยู่ระหว่างซอยรามอินทรา 12 และซอยรามอินทรา 14 21) สถานีวัชรพล ใกล้ซอยวัชรพล 22) สถานีรามอินทรา กม.6 เป็นสถานีใหม่เพิ่มเติม อยู่ระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42

23) สถานีรามอินทรา กม.8 อยู่แยกนวมินทร์ระหว่างซอยรามอินทรา 46 และซอยรามอินทรา 48 24) สถานีรามอินทรา 91 เป็นสถานีใหม่เพิ่มเติม อยู่แยกนวมินทร์รามอินทรา กม.8 25) สถานีคันนายาว หน้าห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ 26) สถานีนพรัตนราชธานี หน้าโรงพยาบาลนพรัตน์ ใกล้แยกเข้าสวนสยาม 27) สถานีบางชัน ใกล้ซอยรามอินทรา 109 28) สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ หน้าโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29) สถานีตลาดมีนบุรี ใกล้ตลาดมีนบุรี และ 30) สถานีมีนบุรี อยู่ใกล้ทางแยกร่มเกล้า

เวนคืน 147 ไร่ รื้อ 259 หลัง

แหล่งข่าวกล่าวว่า ด้านการเวนคืนที่ดิน ตลอดเส้นทางคาดว่าจะมีการเวนคืนพื้นที่รวม 147 ไร่ รื้อสิ่งปลูกสร้าง 259 หลัง คิดเป็นเงินค่าชดเชยทั้งสิ้น 4,458 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 3,896 ล้านบาท และชดเชยสิ่งปลูกสร้าง 562 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ปรึกษายังปรับระบบการเดินรถของรถไฟฟ้าสายนี้เป็นระบบโมโนเรล (รางเดี่ยว) เนื่องจากเป็นเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ชานเมือง ทำให้บางช่วงเวลาคนมาใช้บริการไม่มากนัก สามารถจัดการในช่วงเวลาที่มีคนน้อยได้ดีกว่า รวมทั้งเสนอแนะให้จัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่ม เพื่อรองรับเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

เง"นลงทุนพุ่ง 5 หมื่นล้าน

ด้านงบประมาณลงทุนทั้งโครงการ แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการเพิ่มสถานีใหม่และซื้อขบวนรถเพิ่ม รวมถึงเพิ่มค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด ทำให้มีผลต่อต้นทุนการลงทุนโครงการ จากเดิมเมื่อปี 2552 อยู่ที่ 37,110 ล้านบาท ปรับใหม่เป็น 50,770 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 3,900 ล้านบาท งานโยธา 19,490 ล้านบาท งานไฟฟ้าและเครื่องกล 11,089 ล้านบาท จัดหาขบวนรถ 12,126 ล้านบาท งานประตูกั้นระหว่างรถไฟฟ้าและชานชาลา (platform screen door) 450 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 1,748 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 2,418 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 02-07-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.