| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 330 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 29-06-2555    อ่าน 1933
 เผือกร้อนในมือการเคหะฯ ขายที่ดิน "บึงพังพวย" คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ "กทม." !

เผือกร้อนก้อนโตเมื่อ "กคช.-การเคหะแห่งชาติ" ประกาศขายกรรมสิทธิ์ที่ดิน 22 ไร่ แปลงบึงพังพวย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากเครือข่ายชุมชนชาวบางกะปิและบึงกุ่ม ล่าสุดคือ "สตง.-สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน" ส่งหนังสือให้ชะลอการประกาศขายออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบ

เลื่อนประมูลรอบ 2

ที่ดิน แปลงบึงพังพวยดังกล่าว กคช.ประกาศขายครั้งแรก เป็นหนังสือเชิญชวนลงวันที่ 16 มี.ค. 2555 โฉนดเลขที่ 16426 เนื้อที่ประมาณ 22-1-12.7 ไร่ กำหนดให้ยื่นซองประมูลในวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา

ปรากฏว่ามีกระแส ต่อต้านอย่างรุนแรง ทั้งในโซเชียลมีเดีย และโดยเฉพาะเครือข่ายที่ออกมาเคลื่อนไหวในนามประชาชนชาวบางกะปิและชาวบึง กุ่ม มีผู้ประสานงานโครงการภาคประชาชนเป็นเรื่องเป็นราว ปักป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ริมทะเลสาบพังพวย ระบุข้อความว่า "...ขอคัดค้านการเคหะแห่งชาติ ในการขายหรือให้เช่า โครงการแก้มลิงบึงลำพังพวย พระราชทานตามแนวพระราชดำริ ให้มีการบริหารจัดการน้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ส.ค. 2532"

ทำ ให้ กคช.ตัดสินใจเลื่อนเปิดซองประมูลออกไป 2 เดือน เป็นวันที่ 26 มิ.ย. 2555 แทน พร้อมกับเปิดห้องประชุมชั้น 15 สำนักงานใหญ่การเคหะฯ แถลงข่าวเพื่อตอบทุกคำถามให้กับสื่อมวลชน

อย่างไรก็ตาม โครงการขายทอดตลาดที่ดินกรรมสิทธิ์บึงพังพวยต้องเจอโรคเลื่อนอีกครั้ง เมื่อ "สตง." ส่งหนังสือ 4 ฉบับลงวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมาถึง "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี, "สันติ พร้อมพัฒน์" รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, "ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" ประธาน กคช. และส่งถึงผู้ว่าการ กคช.

ทำให้ กคช.ต้องเลื่อนเปิดประมูลออกไปอีก 1 เดือน นับเป็นการเลื่อนครั้งที่ 2 เพื่อ กคช.ก็ต้องการตรวจสอบข้อกฎหมายให้ถูกต้องรอบคอบรัดกุมที่สุดเช่นกัน

แจง 77 ไร่รับน้ำ 5 แสนคิว

"วิฑูรย์ เจียสกุล" ผู้ว่าการ กคช. ชี้แจงกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการขายทอดตลาดที่ดินกรรมสิทธิ์ 22 ไร่ดังกล่าว อยู่ในดุลพินิจของ กคช.โดยตรง เมื่อ สตง.มีหนังสือให้ทบทวน กคช.ก็ต้องทบทวนและชี้แจงข้อมูลขึ้นไป

ประวัติเดิมของที่ดินเจ้า ปัญหาแปลงดังกล่าว ผู้ว่าการ กคช.ให้ข้อมูลว่า ที่ดินเต็มแปลงมีประมาณ 99 ไร่ กคช.ใช้เงินกู้จัดซื้อมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว วัตถุประสงค์เพื่อนำมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นภารกิจหลักของ กคช. แต่การใช้ประโยชน์ในอดีตมีการขุดดินไปใช้ถมที่เพื่อพัฒนาโครงการของ กคช.ในทำเลอื่น ๆ สภาพแปลงที่ดินจึงเป็นหลุมลึกมากกว่า 2-7 เมตรตลอดแปลง ในที่สุดก็มีน้ำขังและกลายเป็นบึงน้ำขึ้นมา

โดยสรุปบึงพังพวยไม่ใช่ บึงธรรมชาติ เป็นบึงน้ำที่เกิดบนที่ดินกรรมสิทธิ์ของ กคช. นี่คือคำตอบว่าทำไม กคช.จึงสามารถประกาศขายที่ดินแปลงนี้ได้

ทั้งนี้ ทั้งนั้น การใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำสำหรับรองรับ ในเขตบางกะปิและบึงกุ่ม โดย "กองระบบคลอง สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร" ปักป้ายสีเขียวระบุว่า เป็น "โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ บึงลำพังพวย พื้นที่ 111,815 ตร.ม. ลึกเฉลี่ย 7 เมตร ปริมาตรกักเก็บน้ำ 2 แสนลูกบาศก์เมตร"

"ที่ดินเต็มแปลง 99 ไร่ กคช.เก็บไว้ 77 ไร่สำหรับเป็นพื้นที่แก้มลิงฯ คำนวณจริง ๆ แล้วรับน้ำได้สูงสุดถึง 5 แสนลูกบาศก์เมตร เกินกว่าที่ กทม.กำหนดไว้กว่าเท่าตัว ปริมาตรความจุขนาดนี้เพียงพอต่อการรองรับน้ำให้กับพื้นที่เขตบางกะปิ เหมือนมีเขื่อนขนาดใหญ่ กรณีน้ำเยอะจะเก็บกักไว้เพื่อรอพร่องน้ำไปคลองแสนแสบ" ผู้ว่าการ กคช.กล่าว

ตีความ "มติ ครม. ปี"32"

กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องทางตรงกับการขายที่ดินบึงพังพวย หลัก ๆ น่าจะมี 2 ฉบับคือ พ.ร.บ.การเคหะแห่งชาติปี 2537-ปี 2550 กับประกาศผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปี 2549

ความเกี่ยวพันคือ กฎหมายการเคหะฯระบุภารกิจจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ มีรายได้น้อย ขณะที่กฎหมายผังเมืองรวม กทม.กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นที่โล่งสำหรับ

พักน้ำ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีเขียว) และระบุด้วยว่า "...ที่โล่งประเภทนี้ให้มีการถมดินได้ไม่เกินร้อยละ 35"

ผลของกฎหมายผังเมืองรวม กทม.

ปี 2549 ทำให้ กคช.ซึ่งเคยมีโครงการก่อสร้างคอมเพล็กซ์ที่มีห้องชุดกว่า 2,000 ยูนิต และพื้นที่ร้านค้าต้องยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนั้นกรรมสิทธิ์ที่ดิน 99 ไร่

เมื่อกันพื้นที่ 77 ไร่รองรับโครงการแก้มลิงตามพระราชดำริอย่างเพียงพอ

ทำ ให้เหลือที่ดินประมาณ 22 ไร่ ที่กลายเป็นทรัพย์สินที่ไม่สามารถนำมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยได้ แนวทางการบริหารจัดการจึงต้องขายทอดตลาดออกไป โดยบึงพังพวยเป็น 1 ในทรัพย์สิน 60 แปลง ที่จะทยอยประกาศขายทอดตลาด

"จะเห็นว่าผังเมือง กทม.ปี"49 ถึงแม้ใครจะซื้อไปก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชนก็ถมที่ได้จำกัด แถมถมที่ดินร้อยละ 35 ไปแล้ว ยังถูกบังคับอีกว่าห้ามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ฉะนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงนี้ยังจะต้องเป็นทะเลสาบเหมือนเดิม จะไม่มีชุมชนใดได้รับความเดือดร้อนจากการขายบึงพังพวยแน่นอน"

นี่คือ เหตุผลทางข้อกฎหมายที่ กคช.ตัดสินใจขายที่ดินบึงพังพวย อย่างไรก็ตามเมื่อทาง สตง.มีหนังสือยับยั้งชั่วคราว จะต้องกลับมาดูมติ ครม. วันที่ 29 ส.ค. 2532 ประกอบเพิ่มเติมขึ้นมา

"สาระสำคัญของมติ ครม.ปี"32 ให้จัดพื้นที่สงวนเป็นแก้มลิงสาธารณะตามแนวพระราชดำริ สำหรับบึงพังพวยถ้าผังเมืองเป็นสีส้ม สีเหลือง แล้วมีบริษัทเอกชนซื้อไปก็สามารถถมที่ดินได้เต็มแปลงเพราะไม่ได้มีกฎหมาย ป้องกัน มติ ครม.จึงบอกว่าอย่าขาย แต่ในเมื่อผังเมืองรวม กทม.ปี"49 ออกกฎหมายมากำกับให้เป็นสีเขียวอ่อนทแยงเขียว บังคับให้ถมที่ได้นิดเดียว แถมห้ามสิ่งปลูกสร้างด้วย ก็ตีความว่าไม่ว่า กคช.จะเก็บไว้หรือขายออกไป ก็ยังเป็นทะเลสาบอยู่ดี"

คำตอบสุดท้าย ทำไมต้อง "กทม."

ตัวละครสำคัญในเรื่องนี้ต้องไม่ลืมบทบาท "กทม." เพราะใช้ประโยชน์

1.ทำ เป็นสวนสาธารณะนวมินทร์ภิรมย์ ภายใต้นโยบายเพิ่มปอดของเมืองกรุง โดยใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท บนที่ดินกรรมสิทธิ์ของ กคช. 2.เป็นสถานที่ระบายน้ำในเขตบางกะปิ

ดังนั้นประเมินแล้ว บึงพังพวยไม่มีเอกชนรายใดสนใจซื้อแน่นอน เพราะไม่สามารถนำมาพัฒนาโครงการอะไรได้ ขณะที่หน่วยงานรัฐดูเหมือนจะมี "กทม." หน่วยงานเดียวที่ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการใช้ประโยชน์บึง พังพวย

"จริง ๆ แล้ว กคช.มีการเจรจาขายบึงพังพวย 22 ไร่ ให้กับ กทม.มานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ ราคาประเมินวาละ 5 พันบาท ที่ดินเต็มแปลง 99 ไร่ ถ้า กทม.จะซื้อเต็มแปลงก็ตก 200 ล้านบาท แต่ถ้า กทม.ต้องการต่อรองราคา เรายินดีรับทุกเงื่อนไข"

ถึงแม้จะมีการแบตัว เลขออกมาว่า เคยมีการต่อรองอยู่ที่ 80 ล้านบาทก็ตาม "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามไปยังแหล่งข่าวผู้บริหาร กทม. คำตอบสั้น ๆ คือ "...ยังไม่มีความชัดเจน"

นั่นหมายความว่า สำหรับ กทม.แล้ว ผู้บริหารสูงสุดที่จะเป็นคนเคาะว่าซื้อหรือไม่ซื้อ คือ "คุณชายหมู-ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าราชการ กทม.นั่นเอง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 29-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.