| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 420 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-06-2555    อ่าน 1811
 AREA ฟันธง มั่นใจไม่มีสัญญาณฟองสบู่อสังหาฯ แม้คอนโดล้นเมือง จี้จับตาแบงก์แข่งสินเชื่อดุ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA (ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวนำเสนอว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยจะมีสัญญาณฟองสบู่เกิดขึ้นนั้น ประเมินว่ายังไม่มีปรากฏการณ์ฟองสบู่เกิดขึ้นแต่อย่างใด โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ที่ปรากฏว่ามีโครงการอาคารชุดเกิดขึ้นมามากมาย จนดูคล้ายล้นตลาดนั้น สาเหตุสำคัญก็เป็นเพราะในร่างผังเมืองใหม่ โอกาสจะเกิดห้องชุดอาจจะน้อยลง ภาคเอกชนจึงเร่งการพัฒนาห้องชุดในขณะนี้ ประกอบกับการขนส่งมวลชนผ่านรถไฟฟ้าสะดวก ไม่มีทำเลอื่นเทียบเคียงได้ และประชาชนบางส่วนยังไม่มั่นใจในทำเลน้ำท่วมเมื่อปลายปี พ.ศ.2554 ดังนั้น จึงมีห้องชุดเกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ เมื่อปี พ.ศ.2554 มีห้องชุดเกิดขึ้นถึง 60% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดในตลาด ขณะที่ในปี พ.ศ.2553 มีเพียง 50% และเชื่อว่าในปี พ.ศ.2555 จะมีห้องชุดเกิดขึ้นถึง 70% ของที่อยู่อาศัยทั้งตลาด การที่ห้องชุดเกิดขึ้นได้มาก ก็เพราะที่อยู่อาศัยประเภทอื่นเกิดขึ้นได้น้อยด้วยเช่นกัน



2. ตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศยังมีความแข็งแกร่ง ขนาดของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่ำ หนี้ของภาคเอกชนต่ำ อัตราการว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราการเติบโตของการส่งออกยังสูงอยู่ จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจยังดีอยู่อย่างต่อเนื่อง



3. ภาวะความผันผวนในต่างประเทศไม่ส่งผลต่อประเทศไทย ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ตากอากาศ ที่กลุ่มผู้ซื้อจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาลดน้อยลง แต่คาดว่าจะถูกแทนที่โดยผู้ซื้อจากรัสเซีย จีนและอินเดียในโอกาสต่อมา กลุ่มประเทศในเอเชียยังแข็งแกร่ง เช่น ฮ่องกง มีมาตรการสะกัดการเก็งกำไร โดยการเก็บภาษีค่าโอนเปลี่ยนมือระยะสั้นสูงถึง 15% ของราคาขายต่อหากขายในระยะ 6 เดือนนับแต่ซื้อ จีนมีมาตรการให้หนึ่งครอบครัวซื้อที่อยู่อาศัยได้เพียงหลังที่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ สิงคโปร์มีมาตรการสะกัดการเก็งกำไรของต่างชาติด้วยการคิดค่าธรรมเนียมโอนของชาวต่างชาติถึง 10% ของราคาขาย ดังนั้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียจึงแข็งแกร่งและไม่ส่งผลกระทบในแง่เลวร้ายต่อประเทศไทย



4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้บ้างก็คือสถาบันการเงินไทยแข่งขันกันอำนวยสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัย จนอำนวยสินเชื่อถึง 100% ซึ่งเป็นจุดเปราะบางในอนาคต ควรที่รัฐบาลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังจะจับตาดูเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เกิดฟองสบู่ในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังควรระวังการทุจริตจากการอำนวยสินเชื่อ ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินมีโอกาสล้มลงได้ หากขาดความโปร่งใสในการอำนวยสินเชื่อโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่หรือผู้กู้ที่มีความเกี่ยวพันทางการเมือง


จากเหตุผลข้างต้น จึงเชื่อว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยจะยังเจริญเติบโตต่อไป แต่ควรที่จะมีการติดตามและควบคุมการอำนวยสินเชื่อโดยใกล้ชิด
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.