| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 344 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-06-2555    อ่าน 11037
 AREA แนะรัฐ ออกนโยบายส่งเสริมต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ให้เก็บภาษีโอน 10%-ภาษีสิ่งปลูกสร้างอีกต่างหาก

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA (ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) เปิดเผยว่า ประเทศไทยสามารถอนุญาตให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ แต่ต้องมีมาตรการที่ดีทางด้านภาษี และมาตรการทางกฎหมายอื่น ตลอดจนการจัดทำฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

จากที่มีข่าวว่าชาวต่างชาติมาถือครองที่ดินถึง 30% ของที่ดินทั่วประเทศไทยนั้น ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ เพียงแต่เป็นการตั้งสมมติฐานเท่านั้น นัยสำคัญอย่างหนึ่งก็คือประเทศไทยขาดการจัดทำฐานข้อมูลการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติ ซึ่งนับเป็นช่องโหว่ประการหนึ่งที่ควรดำเนินการแก้ไข แต่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ยากเพราะหากมีการทำให้เกิดความโปร่งใส โอกาสที่จะกระทำการทุจริตก็คงมีจำกัด เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ประกอบการทุจริตได้



อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลจะจัดการให้ต่างชาติถือครองอสังหาริมทรัพย์นั้น สมควรดำเนินการดังนี้

1. ควรให้ต่างชาติเสียภาษีและค่าธรรมเนียมโอนในอัตราสูงกว่าปกติ เช่น ในกรณีสิงคโปร์ กำหนดให้ชาวต่างชาติที่ซื้อห้องชุดในสิงคโปร์ ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมโอนประมาณ 10% ของราคา การกำหนดให้เกิดความแตกต่างจากประชาชนในท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ เช่นกรณีการไปศึกษาต่อต่างประเทศ ชาวต่างชาติหรือคนไทยที่ไปศึกษาต่อยังประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา จะต้องเสียค่าเล่าเรียนสูงกว่าคนท้องถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรเก็บค่าธรรมเนียมในการถือครองเป็นรายปี เช่น ปีละ 1% เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำทะเบียนที่ดินและอำนวยความสะดวกในการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติ



2. ประเทศไทยควรมีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเช่นประเทศตะวันตกที่จัดเก็บประมาณ 1-3% ของราคาตลาดต่อปี และควรมีภาษีมรดก ซึ่งจัดเก็บประมาณ 30% โดยประมาณ เช่น ในขณะที่บ้านในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีราคาตกต่ำเหลือประมาณ 10 ล้านบาทต่อหน่วย หากคนไทยไปลงทุน ก็ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีละ 200,000 บาท (ในกรณีอัตราภาษีเท่ากับ 2%) ในขณะที่ชาวต่างชาติมาซื้อทรัพย์สินในประเทศไทยโดยไม่เสียภาษีนี้เลย นอกจากนั้นในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้า หากราคาบ้านเพิ่มเป็น 50 ล้านบาท การโอนให้ทายาท ยังต้องเสียภาษีมรดกอีกประมาณ 30% หรือ 15 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนที่จะอนุญาตให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทย ประเทศไทยควรมีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีมรดกก่อน หากไม่ก็เท่ากับไทยยกแผ่นดินให้กับคนต่างชาติไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ



3. รัฐบาลไทยควรมีนโยบายที่แตกต่างกันต่อนักลงทุนและผู้ที่จะมาซื้อบ้านเป็นบ้านหลังที่สองในประเทศไทย ในกรณีนักลงทุนที่ต้องใช้ที่ดิน เช่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รัฐบาลสามารถจัดสรรที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมให้ใช้สอยโดยไม่คิดมูลค่าแต่คิดค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำบัดน้ำเสีย รัฐบาลอาจให้ภาคเอกชนสร้างนิคมอุตสาหกรรมและให้นักลงทุนต่างชาติใช้สอย เพื่อกระตุ้นการจ้างงานภายในประเทศจากการลงทุนด้านอุตสาหกรรม ส่วนสำหรับผู้ที่หวังจะมาอยู่หลังเกษียณอายุหรือหวังมีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านหลังที่สอง ก็สมควรที่จะให้ซื้อหรือเช่าระยะยาวโดยอาจต่อระยะเวลาเช่าจาก 30 ปีเป็น 50 ปี เป็นต้น



4. ในขณะนี้หากมีการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ผิดกฎหมาย ให้รัฐบาลอนุญาตให้ชาวต่างชาติเช่าได้โดยถูกกฎหมายปัจจุบัน เช่น 30 ปี และควรมีการลงทุนจัดทำฐานข้อมูลการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ ในกรณีการครอบครองที่ผิดกฎหมาย สมควรที่รัฐบาลจะดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด



หากรัฐบาลสามารถสร้างความโปร่งใสในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติได้ เชื่อว่าต่างชาติจะมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอีกมาก เพราะประเทศไทยเป็นแหล่งพำนักที่เป็นที่นิยมยิ่งกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคนี้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.