| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 90 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-06-2555    อ่าน 11128
 AREA ตีแสกหน้าการเคหะ-รัฐบาล เผยแพร่บทความ "เลิกสร้างบ้านมั่นคงได้แล้ว"

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA (ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) นำเสนอบทความหัวข้อ "เลิกสร้างบ้านมั่นคงได้แล้ว" มีรายละเอียด ดังนี้



“บ้านมั่นคง” เป็นนโยบายของรัฐที่พึงทบทวน โดยวันอังคารที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา AREA จะนำเสนอเอกสารวิชาการเรื่อง “Inventing Better Thai Housing Solutions than Baan Eua-Arthorn and Baan Mankong ในการประชุมนานาชาติของราชบัณฑิตสถาน ณ โรงแรมดุสิตธานี โดยนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ และต่อไปนี้เป็นบทวิเคราะห์ภาคภาษาไทย (ต่อด้วยภาคภาษาอังกฤษ) มาดูกรณีศึกษาต้นแบบแห่งหนึ่งของบ้านเอื้ออาทร จะเห็นว่านโยบายนี้ผิดพลาดอย่างไร



การใช้ที่ดินที่ขาดประสิทธิภาพ

ชุมชนแห่งนี้มีประชากรประมาณ 250 หลังคาเรือนบนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ที่ดินนี้หากนำมาพัฒนาตามมาตรฐานทั่วไป จะสามารถใช้สอยสุทธิได้ราว 80% หรือ 8 ไร่ ที่เหลือก็คือถนนหรือสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ที่ดิน 8 ไร่ หากนำมาสร้างอาคารแบบแฟลต 5 ชั้น ก็จะสามารถสร้างได้ประมาณ 64,000 ตารางเมตร โดยคิดจากที่ดิน 8 ไร่ หรือ 12,800 ตารางเมตร คูณด้วย 5 ชั้น พื้นที่ก่อสร้าง 64,000 ตารางเมตรนี้ สามารถใช้สอยสุทธิเพียง 80% หรือ 51,200 ตารางเมตร โดยที่เหลือก็คือทางเดิน บันได และอื่น ๆ หากคิดจากแฟลตเอื้ออาทร 32 ตารางเมตรก็จะสามารถจัดหาที่อยู่อาศัยได้ถึง 1,600 หน่วย หรือประมาณ 6.4 เท่าของจำนวนบ้านเดิมในชุมชน



กรณีนี้รัฐสามารถจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยอื่นในละแวกนั้น เข้ามาอยู่อาศัยได้อีก 1,350 ครัวเรือน หรือหากรัฐใจดีแจกให้ชาวบ้าน 250 ครัวเรือนนี้คนละ 2 ห้องไปเลย ก็ยังเหลือห้องให้ผู้มีรายได้น้อยแถวนั้นได้เข้ามาอยู่อีก 1,100 ครัวเรือน แต่รัฐกลับเอาที่ดินของหลวงทั้งผืนไปแบ่งเช่าให้เฉพาะกับผู้อยู่อาศัยเดิม ประชาชนที่ด้อยโอกาสอื่นโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีกระทั่งบ้านในที่ดินบุกรุกเป็นของตนเองก็ไม่สามารถกระทั่งเข้ามาเช่าบ้านแบบแฟลตได้เลย



ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

ถ้าสร้างเป็นแฟลต แล้วให้คนอีก 1,350 ครัวเรือนเข้ามาอยู่ หากคิดค่าเช่าหน่วยละ 2,000 บาท ก็จะได้เงินถึงปีละ 32.4 ล้านบาท แต่ในกรณีนี้ นอกจากรัฐจะไม่ได้เงินแล้ว ยังต้องเจียดงบประมาณแผ่นดินไปช่วยชุมชนนี้อีกต่างหาก



ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจอีกแง่หนึ่งก็คือ นอกจากรัฐจะไม่ได้เงินจากการใช้ที่หลวงแล้ว ยังต้องจ่ายให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนนี้ถึงครัวเรือนละประมาณ 80,000 บาท (แรกเริ่ม 65,000 บาท) นัยเพื่อเป็นทุนประเดิมสำหรับครัวเรือนในการสร้างชุมชนใหม่ นี่เป็นเงินประมาณ 20 ล้านบาท ที่มาจากภาษีอากรของประชาชนทั่วประเทศ



นอกจากนี้รัฐยังให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้ชาวบ้านสร้างบ้านของตนเอง เช่น ประมาณ 100,000 บาท โดยในขณะนี้ ชาวบ้านก็ยังผ่อนใช้คืนอยู่ตามปกติ รวมทั้งอัดฉีดเงินอีกมากมาย แต่จากประสบการณ์โครงการแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) ในอดีตที่ผ่านมา ปรากฏว่าชาวบ้านขาดการผ่อนส่งกันแทบทั้งชุมชนจนทางราชการต้องยกหนี้ให้บางแห่งผ่อนเพียงตารางวาละ 1 บาทต่อเดือนก็ยังติดค้างคงเพราะถือว่าเป็นเงินหลวงไม่ใช่หนี้นอกระบบ



ค่าเช่าที่ดินถูก

ที่ดิน 10 ไร่ติดคลองชลประทานใหญ่ดังกล่าว เมื่อก่อนคงแทบไม่มีราคา แต่ตามสภาพที่เป็นชุมชนแออัดในปัจจุบัน หากขายได้คงเป็นเงินตารางวาละไม่เกิน 15,000 บาท หากรัฐขอ ‘ไถ่’ คืนจากชาวบ้าน ณ ราคาข้างต้น รัฐก็ควรจ่ายเงินแก่ชาวบ้านรวม 60 ล้านบาท หรือหลังละ 240,000 บาท แล้วต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไป ซึ่งในแง่หนึ่งชาวบ้านก็น่าจะดีใจที่ได้อยู่ฟรีกันมา 40-80 ปี (2-4 ชั่วรุ่น) แล้ว อยู่ ๆ ก็ยังได้เงิน ‘ค่าทำขวัญ’ หรือ ‘โบนัส’ อีกต่างหาก



เมื่อที่ดินแปลงนี้สามารถนำมาพัฒนาในทางอื่นที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ราคาที่ดินก็อาจสูงขึ้นถึงตารางวาละ 50,000 บาท หรือไร่ละ 20 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท หากให้เอกชนเช่า ณ 4% ของราคาตลาด รัฐก็จะได้เงินถึง 8 ล้านบาทต่อปี รัฐสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศหรือช่วยเหลือชุมชนแออัดอื่นได้อีก โดยรัฐไม่ต้องเอาภาษีอากรของประชาชนมาใช้แต่อย่างใดเลย



ถ้าคิดว่าอย่างน้อยครอบครัวหนึ่งได้ที่ดินเกือบฟรีข้างต้นเป็นเงิน 240,000 ต่อหลังคาเรือน แล้วยังได้บ้านในราคาอีก 200,000 บาท ที่ผ่อนเงินกู้ถูกกว่าเช่า แถมยังมีโครงการอัดฉีดเข้ามาพัฒนาชุมชนอีกสมมติให้หลังละ 60,000 บาท ก็เท่ากับว่าครอบครัวเหล่านี้ได้เงินจากรัฐประมาณ 500,000 บาทต่อหลังคาเรือน หรือรวมเป็นเงินถึง 125 ล้านบาท เพียงเพื่อพัฒนาชุมชนแออัดแห่งนี้ที่มีอยู่ 250 หลังคาเรือน



บทสรุป

การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่ไม่ควรอำนวยประโยชน์เฉพาะกลุ่ม สร้างความไม่เท่าเทียมที่ผู้มีรายได้น้อยอื่น แทนที่รัฐจะช่วยเหลือเช่นนี้ ควรที่จะจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ นำพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม หาไม่แล้ว งบประมาณแผ่นดินก็ถูกใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

เพื่อการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชนในมหานครและแก่ประเทศชาติโดยรวม เราต้องพัฒนาที่ดินเพื่อส่วนรวมเชิงรุก ไม่ใช่ปล่อยให้ชุมชนแออัดอยู่ตามยถากรรมหรือเพียงปรับปรุงตัวบ้านและชุมชนเป็นสำคัญ โดยไม่นำพาต่อการพัฒนาเมืองโดยรวม แต่สำหรับคนจนจริง ๆ สังคมต้องไม่ทอดทิ้ง และให้การช่วยเหลือกันตามอัตภาพ

สำหรับคนจนจริง ๆ ต้องจัดหาที่อยู่อาศัยให้อยู่ตามอัตภาพ แต่จะปฏิเสธการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยไม่ได้ เพราะเท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิและประโยชน์ของสาธารณชน ส่วนผู้ที่มีรายได้พอที่จะหาซื้อบ้านในตลาดเปิดได้ ก็ควรส่งเสริมให้ซื้อบ้านโดยรัฐบาลสนับสนุนด้วยการอำนวยสินเชื่อและภาษี จะเห็นได้ว่าตลอด 50 ที่ผ่านมาในประเทศไทย ภาคเอกชนสามารถจัดสร้างที่อยู่อาศัยได้มากมายจนรัฐบาลไม่ต้องแบกรับภาระ



อนึ่ง หน่วยงานรัฐที่มีภารกิจในการจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยสนองนโยบายรัฐบาลคือ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยอยู่ระหว่างจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ค้างดำเนินการตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2546 จำนวน 2.8 แสนหน่วย ปัจจุบันเหลือหน่วยรอการพัฒนาประมาณ 5-6 หมื่นหน่วย ตามแผนคาดว่าจะก่อสร้างได้ครบ 2.8 แสนหน่วยภายในปี 2556
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.