| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 351 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-06-2555    อ่าน 1889
 อีกแล้วครับทั่น AREA วิพากษ์ "ข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้นของการทำผังเมือง กทม."

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA (ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) เผยแพร่บทความหัวข้อ "ข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้นของการทำผังเมือง กทม." มีรายละเอียด ดังนี้



ดร.โสภณ ระบุว่า ผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับที่กำลังร่างอยู่นี้ ไม่เหมาะสม ทำร้ายประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ทำร้ายประชาชนในเขตปริมณฑล ทำลายพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สีเขียวรอบนอกกรุงเทพมหานคร เพราะการสั่งห้ามพัฒนาพื้นที่แทบทุกแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ก็จะทำให้การพัฒนาต่าง ๆ ต้องออกไปพัฒนานอกเมือง อีกทั้งยังทำให้สาธารณูปโภคต่าง ๆ ต้องขยายตัวออกไปอย่างไร้ที่สิ้นสุด เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินเป็นอย่างมาก แต่คณะผู้จัดทำร่างผังเมือง ก็ยังพยายามดันทุรัง ทำผังเมืองที่ไม่เหมาะสมนี้ออกมา ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จึงขอแจงให้เห็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้นของการทำผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับนี้



1. กลัวกรุงเทพมหานครหนาแน่นเกินไป ทั้งที่กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นของประชากรเพียง 3,600 คนต่อตารางกิโลเมตร น้อยกว่าสิงคโปร์ถึงครึ่งต่อครึ่ง แต่สิงคโปร์กลับได้ชื่อว่าเป็นเมืองในสวน (Garden City) เพราะอนุญาตให้อาคารขึ้นแนวสูง ใช้ประโยชน์ที่ดินให้ได้มากที่สุด แล้วเก็บพื้นที่ส่วนที่เหลือมาทำสวนสาธารณะในเมือง ในขณะที่กรุงเทพมหานครแทบไม่มีโครงการสร้างสวนสาธารณะใหม่ในใจกลางเมืองตามร่างผังเมืองเลย



2. กรุงเทพมหานครมักอ้างว่าที่พยายามจำกัดความสูงของอาคารก็เพราะมีปัญหาไฟไหม้บ่อยครั้งในซอยใจกลางกรุง ข้ออ้างนี้เป็นเท็จ ตามข้อมูลของกรุงเทพมหานครเอง ในกรณีอาคารสูง อาคารชุดและอะพาร์ตเมนต์ ในช่วง 5 ปีล่าสุด (พ.ศ.2550-2554) นั้น เกิดเพลิงไหม้ลดลงจาก 8% ของกรณีเพลิงไหม้ทั้งหมด เป็น 7% 4% 3% และ 2% ตามลำดับ กรณีอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป) ในปัจจุบันก็มีระบบป้องกันไฟไหม้ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ระบบอาคารเก่าในอดีต อาคารสมัยใหม่จึงแทบไม่เกิดเพลิงไหม้ ในอีกแง่หนึ่งการดับเพลิงของกรุงเทพมหานครต้องได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ไม่ใช่อ้างความไร้ประสิทธิภาพมาเพื่อกีดขวางการพัฒนาประเทศ



3. กรุงเทพมหานคร ยังอ้างว่าจะขยายและตัดถนนใหม่ ๆ ที่สามารถใช้ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ในเขตรอบนอกของเมือง โดยในร่างผังเมืองรวม ขีดเส้นถนนใหม่ไว้มากมาย แต่ไม่อาจของบประมาณก่อสร้างถนนได้จริง ถนนตามร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครส่วนมากจึงไม่ได้ก่อสร้างจริง แนวถนนยังมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และไม่มีกรอบระยะเวลาที่แน่ชัด นอกจากนี้ยังมีถนนจำนวนมากสร้างอยู่ในเขตรอบนอกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งขาดความเป็นไปได้ทางการตลาดและการเงินในการสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ



4. เจ้าหน้าที่วางผังเมืองบางส่วนคงไปเลียนแบบประเทศตะวันตกที่กำหนดความสูงของอาคาร เช่น กรุงปารีส ที่แม้กำหนดความสูงเพียง 37 เมตร แต่ก็ไม่ได้กำหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างมากเกินความจำเป็นเช่นกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เมืองมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความหนาแน่นของประชากรสูงถึง 22,000 คนต่อตารางกิโลเมตร

ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครยุ่งเหยิง ก็เพราะการขาดการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายอาคารเท่าที่ควร เช่น ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมตามผังเมืองหลายพื้นที่ ที่ห้ามมีการก่อสร้างตึกแถว ก็มีการก่อสร้างเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก



และเพราะข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับปี 2549 จึงทำให้ประชากรกรุงเทพมหานครลดลงอย่างน่าพิศวง โดยไปสร้างปัญหาก่อสร้างบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดอื่น ผู้ที่เดือดร้อนก็คือประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย จะหาซื้อที่อยู่อาศัยต้องออกไปไกล ๆ เสียค่าเดินทาง ในทางตรงกันข้าม ด้วยนโยบายด้านผังเมืองที่ไม่เหมาะสมนี้ กลับเป็นการอุ้มหรือช่วยเจ้าที่ดินรายใหญ่ ๆ ในเมืองที่ได้รับมรดกตกทอดมาให้เก็บที่ดินไว้รอการพัฒนาในภายหลัง ผังเมืองเช่นนี้จึงเป็นการทำลายประโยชน์ของคนส่วนใหญ่



การส่งเสริมให้มีการสร้างอาคารในเมือง หรือส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครนั้น ไม่ใช่เป็นการช่วยนักธุรกิจพัฒนาที่ดิน หรือเห็นแก่นายทุน นักพัฒนาที่ดินเป็นแค่ผู้จัดหาที่อยู่อาศัย ผู้ที่ใช้สอยประโยชน์คือประชาชนผู้ซื้อที่อยู่อาศัยต่างหาก การไม่ให้ประชาชนอยู่ในกรุงเทพมหานครและรักษากรุงเทพมหานครไว้ให้เป็น “ฟ้าอมร” แก่คนผู้มีรายได้สูงบางกลุ่ม ต่างหากที่ถือเป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้อง



ผม (โสภณ พรโชคชัย) ให้ความเห็นเกี่ยวกับผังเมืองนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่ควรมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ มีการวางผังเมืองที่ดีเช่นนานาอารยะประเทศ ประชาชนสิ้นเปลืองงบประมาณในการเดินทางน้อยในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ให้ไล่คนกรุงเทพมหานครออกนอกเมืองเช่นที่เป็นไปตามผังเมืองปี 2549 และร่างผังเมืองฉบับปัจจุบันนี้



อนึ่งผมไม่ได้เห็นแก่นักพัฒนาที่ดินรายใด วิสาหกิจของผมที่ทำด้านการประเมินค่าทรัพย์สินและวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ก็เพื่อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการมีข้อมูลเพื่อการวางแผน โดยวิสาหกิจของผมได้ประกาศนโยบายมาตั้งแต่เริ่มตั้งว่า ไม่ทำกิจการด้านนายหน้า หรือไปพัฒนาที่ดินหรือมีส่วนได้เสียกับนักพัฒนาที่ดินทั้งทางตรงและทางอ้อมรายใดทั้งสิ้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.