| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 196 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 18-06-2555    อ่าน 1926
 พลัสแนะเทคนิคอาคารสำนักงานฮึดฝ่าวิกฤติค่าแรง 300 บาท ต้องใช้ระบบออโตเมชันทดแทนคนมากขึ้น

นายชาญ ศิริรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารและวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า กรณีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันถือว่าเป็นการขึ้นค่าแรง ในอัตราที่สูงที่สุดในเมืองไทย คือ เพิ่มขึ้นกว่าอัตราเดิมถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามค่าแรงนี้ยังถือว่า น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ที่เฉลี่ยประมาณ 100,000 บาทต่อเดือน ส่งผลให้สิงคโปร์ต้องปรับ กลยุทธ์การดำเนินงานโดยนำระบบ Automation หรือการใช้เครื่องจักรแทนที่แรงงานมนุษย์เข้ามาทดแทน แต่สำหรับเมืองไทยยังมีวัฒนธรรมที่แตกต่างและส่วนมากยังต้องการการบริการจากคนอยู่ จึงอาจต้องใช้เวลา ในการปรับตัวให้คุ้นเคยกับระบบดังกล่าวพอสมควร ซึ่งมองว่าไทยจะสามารถบริหารจัดการอาคาร ด้วยเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเหมือนดังสิงคโปร์หรือประเทศตะวันตกได้ในอีก 5-6 ปีข้างหน้า



“ปัจจุบันเจ้าของอาคารในไทยได้นำ 2 มาตรการเข้ามาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤติด้านแรงงาน ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 ปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าและค่าบริการจากผู้เช่าพื้นที่อาคาร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เช่าต้องรับภาระ ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และแนวทางที่ 2 ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค และลดจำนวนพนักงานบริการ ซึ่งทั้งสองแนวทางต่างส่งผลกระทบต่อผู้เช่าทั้งสิ้น และจะสามารถส่งผลต่อมาตรฐานหรือคุณภาพของ การบริหารอาคารในส่วนรวมได้” นายชาญ ศิริรัตน์ กล่าวเสริม



ทั้งนี้ ในด้านแนวทางการบริหารจัดการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น นายชาญกล่าวเสนอแนะต่อ ประเด็นดังกล่าวว่า “เจ้าของอาคารต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ 1. การเริ่มออกแบบสร้างอาคาร โดยต้อง ออกแบบให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า ใช้วัสดุที่ดูแลง่าย และออกแบบรองรับการปฏิบัติงานของระบบ Automation ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมถึงการลดจำนวนช่องทางเข้า-ออก เพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และหันมาใช้ระบบ CCTV ให้เพิ่มมากขึ้น 2. การลดจำนวนพนักงานที่ให้บริการในแต่ละ อาคารสำนักงานลง



โดยนำระบบ Building Automation System (BAS) เข้ามาเพื่อใช้พนักงานในระดับแรงงานฝีมือ (Skilled Labour) ในการควบคุมภาพรวมการทำงานผ่าน Monitor โดยปัจจุบันองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งในไทย ได้เริ่มนำระบบ BAS เข้ามาใช้งานบ้างแล้ว และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้มากขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อบรรเทาและแก้ไขผลกระทบอันเกิดจากวิกฤติด้านแรงงาน 3. การนำระบบ Automation เข้าไปปรับใช้ ในการดูแลอาคารสำนักงาน อาทิ ระบบ CCTV เพื่อทดแทนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, ระบบ Cleaning Machine เพื่อทดแทนพนักงานทำความสะอาด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ระบบ IT เพื่อเข้ามาดูแลควบคุมระบบสั่งงานผ่าน Tablet หรือ Palm เพื่อให้ฝ่ายวิศวกรรมได้รับข้อมูลแบบ Real-time และเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องอย่างทันท่วงที”



ด้านนโยบายของ พลัส ด้านการบริหารจัดการปัญหาเรื่องค่าแรงนั้น นายชาญอธิบายเสริมว่า “ปัจจุบันพลัสมีอาคารสำนักงานที่ดูแลประมาณ 35 อาคาร โดยเราเชื่อว่าเราจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 5 อาคารภายในปีนี้ โดยพลัสได้มีแนวทางในการรับมือไว้กับปัญหาเรื่องแรงงานไว้หมดแล้ว โดยการให้ ค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่าและสมเหตุสมผล นอกจากนี้ พลัส ยังได้เพิ่มคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ลูกค้า เจ้าของอาคารได้รับบริการที่ดีเลิศยิ่งขึ้นด้วย โดยพนักงานจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่ม ทักษะความรู้ในการบริหารจัดการอาคารเป็นประจำทุกสัปดาห์เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า และยังวาง ระบบการประเมิน KPI ที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น



โดยล่าสุด พลัส ได้นำระบบ “Zero” เข้ามาใช้ในค้านต่างๆ ประกอบด้วย 1. Zero Repeat Order มีการซ่อมแซมแก้ไข เสร็จสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในทุกครั้ง อัตราการซ่อมซ้ำ ณ จุดเดิมหรือแก้ไขปัญหาไม่เสร็จสิ้นเป็นศูนย์ 2. Zero Basis จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอาคารเป็นศูนย์ และ 3. Zero Machine Breakdown จำนวนครั้งที่เครื่องจักร ลิฟท์ ระบบไฟฟ้าหรือระบบ Chilling ขัดข้องหรือเสียหายเป็นศูนย์”



นายชาญ กล่าวแสดงความเห็นด้วยว่า “เจ้าของอาคารสำนักงาน และโครงการที่อยู่อาศัยต้องปรับตัวเองให้รับมือกับอนาคตให้ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีและการบริหาร จัดการด้านบุคลากรที่เป็นระบบและลดจำนวนคนมากยิ่งขึ้น เพราะพลัสเองคิดว่าในอนาคตปัญหาที่จะ กระทบต่อการบริหารจัดการอาคารจะไม่ได้มีเพียงค่าแรงเท่านั้น แต่จะมีผลกระทบที่เกิดจาก AEC อีกด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะค่าแรงจะสูงขึ้นอีกกว่าปัจจุบัน เพราะต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับอัตรามาตรฐาน ของตลาดแรงงานอาเซียน ในส่วนของแรงงานระดับปฏิบัติการ (Labour) ในอนาคตจะมีจำนวนน้อยลง เพราะแรงงานต่างด้าวจากพม่า ลาวหรือเขมรจะลดลง เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมจะไปเปิดในประเทศ เหล่านั้นมากขึ้น จนทำให้แรงงานกลับไปทำงานในประเทศตัวเองแทนที่จะเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองไทย



แต่อย่างไรก็ตาม Skilled Labour จากประเทศข้างเคียงจะเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น คนไทยเองจะ ทำงานสายปฏิบัติการหรือเรียน ปวช. ปวส. น้อยลง เนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่ให้เงิน 15,000 แก่ปริญญาตรี จะทำให้คนต้องการจบปริญญาเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เรายังมองว่าผู้ให้บริการบริหารจัดการอาคารสำนักงาน รายเล็กจะอยู่รอดได้ยากในภาวะค่าแรงตึงตัวท่ามกลางกระแสการแข่งขันรุนแรงเช่นนี้ เพราะต้องมีการลงทุน ในเรื่องระบบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการอบรมเพิ่มศักยภาพแรงงานสู่ระดับ Skilled Labour ซึ่งคนที่จะทำเช่นนี้ได้ ต้องมี Know-how ในเรื่องการบริหารจัดการที่ลึกรวมทั้งมี Resources อีกด้วย”



ทั้งนี้ พลัส ตั้งเป้าการเติบโตทางธุรกิจในปี 2555 ไว้ที่ 15% โดยปัจจุบันรายได้จากการบริหารอาคาร คิดเป็น 20% ของรายได้รวมของบริษัท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 18-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.