| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 108 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-06-2555    อ่าน 11639
 ทวายโปรเจ็กต์ Housing Relocation บ้านใหม่ ชีวิตใหม่ การเมืองใหม่...ในพม่า

ภายใต้บรรยากาศการเมืองใหม่ ๆ ในสหภาพพม่าวันนี้ เมกะดีลแผนลงทุนมูลค่า 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในนาม "ทวายโปรเจ็กต์-โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย" มีภารกิจสำคัญประการหนึ่งคือ การอพยพย้ายคนท้องถิ่นหรือชาวทวายที่อยู่ในพื้นที่สัมปทานโครงการออกไปอยู่ในสถานที่แห่งใหม่ที่รัฐบาลพม่าจัดสรร

ไว้ให้ เบ็ดเสร็จมีประมาณ 9 ชุมชน 4,000 ครอบครัว ประชากรราว 2.6-3 หมื่นคน

เจ้าภาพโครงการทวายคือ "ITD-บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" เพิ่งจะจัดทริปเชิญคณะสื่อมวลชนไทย-ญี่ปุ่นลงพื้นที่ จ.ทวาย เมื่อวันที่ 9-11 พ.ค.ที่ผ่านมา

หนึ่งในสิ่งที่พบเห็นคือโครงการ "บ้านหลังใหม่" หรือ Housing Relocation

"พี่ปัญโน ไกรวณิช" ผู้จัดการโครงการรับผิดชอบด้านชดเชยและรีโลเกชั่นชี้แจงว่า แผนการอพยพชาวทวายไปอยู่ในพื้นที่รัฐจัดสรร (relocation area) จะมี 3 พื้นที่หลักคือ 1.ปะกอว์ซูน (Pagaw Zoon) ขนาด 864 เอเคอร์ หรือประมาณ 2,160 ไร่ รองรับการย้าย 10 หมู่บ้าน 2,300 ครอบครัว

2.บาวาห์ (Bawah) 742 เอเคอร์ หรือประมาณ 1,855 ไร่ รองรับการย้าย 5 หมู่บ้าน 1,850 ครอบครัว และ 3.ปันดินอิน (Pandin in) จุดนี้เล็กมากเพราะรองรับชุมชนประมงเพียง 52 ครอบครัว

ในการย้ายออกไปอยู่ชุมชนแห่งใหม่นั้น ทางรัฐบาลพม่าจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่าครอบครัวไหนย้ายไปแล้วจะได้ค่าชดเชยอย่างไร โดยค่าชดเชยจะมี 2 ส่วนหลักคือ เงินชดเชยจากการประเมินทรัพย์สิน กับชดเชยด้วยการสร้างบ้านใหม่ให้

แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วน ทาง ITD เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

สำหรับ "บ้านหลังใหม่" หรือ Housing Relocation จะมีการแบ่งเป็น 3 ไซซ์ขึ้นกับขนาดครอบครัว ได้แก่ ไซซ์ S-M-L พื้นที่ใช้สอยในตัวบ้านเริ่มที่ 130, 160 และ 190 ตร.ม. บนพื้นที่จัดสรรเท่ากัน

แปลงละ 185 ตร.ว.

"ลักษณะการย้ายจะไม่ใช่ย้ายไปเป็นหมู่บ้าน แต่เป็นการย้ายถิ่นฐานไปอยู่

ในซิตี้ ไปอยู่ในเมือง เพราะทั้งบาวาห์

ปะกอว์ซูน ทาง ITD จะเป็นผู้ลงทุนจัดหาสาธารณูปโภคพื้นฐานให้อย่างเรียบร้อย อาทิ ไฟฟ้า ประปา โรงเรียน โรงพยาบาล รวมประชากรประมาณ 2.6-3 หมื่นคน เพราะตัวเลขที่ลงทะเบียนอาจมีการเปลี่ยนแปลง"

เจาะลึกกันที่แบบบ้าน ถามถึง "ทวายโมเดล" หน้าตาเป็นอย่างไร คำตอบคือ ส่วนใหญ่เป็นบ้าน 2 ชั้น มีหน้าต่างตรงข้างหน้า บันไดอยู่ข้างใน หน้าบันไดส่วนใหญ่ถ้าเป็นชั้นล่างจะเปิดโล่ง บริเวณบันไดจะมีซุ้มประตูคั่น ยิ่งถ้าเป็นบ้านไม้สมัยเก่า ๆ เลยอาจจะมีประตูคั่นที่เป็นไม้ฉลุ

สวยแบบพื้นถิ่น

ดีไซน์ของ "หน้าต่าง" ก็บ่งบอกความเป็นเมียนมาร์สไตล์ กล่าวคือจะมีหน้าต่างบานหนึ่งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมยื่นออกมา จุดนั้นคือ "ห้องพระ" ในที่นี้ขอเรียกว่าเป็นหน้าต่างห้องพระก็แล้วกัน

ตำแหน่งหน้าต่างห้องพระจะต้องเลือกเฟ้นเป็นอันดับแรก ๆ เพราะมีกฎเหล็กอย่างน้อย 2 ข้อคือ ตำแหน่งติดตั้งกับทิศ

ตำแหน่งคือจะต้องอยู่ฝั่งด้านหน้าของตัวบ้าน หันไปทางทิศตะวันตกกับทิศเหนือเท่านั้น โดยมุมห้องพระดังกล่าวจะต้องอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบันได และไม่อยู่ด้านติดห้องน้ำ

"จริง ๆ ก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ง่าย คนพม่าเขาไหว้พระกันทุกวัน ทำดอกไม้บูชาพระทุกวัน ทุกบ้านจะบูชาพระ ดังนั้นการวางตำแหน่งห้องพระไว้ตรงข้ามบันได เพราะเวลาไหว้พระเสียงคนเดินขึ้น-ลงบันไดจะได้ไม่รบกวนสมาธิ"

"มิสเตอร์โฮม" เดินขึ้นชั้นสอง พบว่าเป็นบ้านชนบทที่เปิดโล่งได้ใจจริง ๆ แบบว่าโล่งทั้งชั้นล่างและชั้นสอง

"เท่าที่ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจมา พม่าทรัพย์สินไม่ค่อยมี ไม่ได้บ้าสมบัติเยอะ (หัวเราะ) ชาวบ้านที่เขาอยู่จริง ๆ ขึ้นไปทุกหลังบ้านเขาโล่งหมดเลย บางบ้านจะกั้นห้องก็ใช้วิธีวางตู้กั้นไว้เป็นสัดส่วน ผู้หญิงจะนอนในห้อง ผู้ชายจะนอนข้างนอก เราถามมาหมด"

อย่าง "หลังคา" จะเหมือนบ้านไทยที่เป็นจั่ว ต่างกันตรงที่จั่วบ้านไทยจะทรงแหลมกว่า จั่วพื้นเมืองทวายจะทรง

ลาด ๆ มากกว่า เหตุผลเพราะดินฟ้าอากาศเป็นเมืองติดทะเล มีลมมรสุมเข้าปีละ 6-7 เดือน ฤดูฝนยาวนานกว่าฤดูอื่น ๆ

อีกมุมที่สำคัญ "ห้องครัว" เนื่องจากเมืองทวายเป็นเมืองหุบเขา คั่นเส้นแดนไทยด้วยเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ราบน้อยกว่า พลเมืองไม่ค่อยเยอะ การทำมาหากินจึงทำพอเพียงกินในครอบครัว ห้องครัวจึงไม่ได้อลังการงานสร้างเหมือนครัวไทย

และที่ดูจะมีเสน่ห์ก็คือ เป็น "ครัวเตาฟืน" หน้าต่างเป็นไม้แบบบ้านทวายจึงต้องมีช่องแสงข้างบน บ้านใหม่ทางบริษัทจะติดตั้งกระจกให้เพื่อให้แสงส่องในห้องครัว ประเด็นที่ต้องขยายความต่อก็คือ ห้องครัวไม่สามารถวางไว้นอกตัวบ้านได้ เพราะเหตุผลเรื่องฝนตกชุกนั่นเอง

ยังติดใจนิดหน่อยว่า ทำไมต้อง "ยกใต้ถุนสูง" เพราะเท่าที่สัมผัสบ้านของชาวทวายไม่ได้ยกสูงเหมือนบ้านไทย คำตอบคือเป็นดีไซน์คิดไว้เผื่ออนาคตสำหรับให้สามารถขยายบ้านได้ในอนาคต
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 05-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.