| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 86 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-06-2555    อ่าน 1847
 "ปู"บี้"คลัง-คมนาคม"เร่งรถไฟฟ้า สางปมแอร์พอร์ตลิงก์-สายสีแดง

"ปู" สั่ง 2 กระทรวงหลัก "คลัง-คมนาคม" แท็กทีมเร่งลงทุนระบบราง ผลักดันแผนใช้งบฯโครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท ประเดิม "แอร์พอร์ตลิงก์-รถไฟฟ้าสายสีแดง" เหตุผลงานไม่เข้าเป้าเบิกจ่ายงบฯแค่ 30% "จารุพงศ์" รับลูกโมเดลใหม่ บูรณาการเป็นแผนแห่งชาติ การรถไฟฯสบช่องชงข้อเสนอให้คลังเข้ามาถือหุ้นแอร์พอร์ตลิงก์ 100% แก้ปัญหาขาดทุนสะสม

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงการคลังไปทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศวงเงินลงทุน 2.27 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี คณะทำงานชุดดังกล่าวจะมีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง ทำงานร่วมกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนโครงการระบบรางทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง แต่ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมยังล่าช้า อย่างกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีงบฯลงทุนปีละ 1-2 หมื่นล้านบาท แต่เบิกจ่ายเพียง 30-40% มาโดยตลอด นับจากนี้ไปรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราง เม็ดเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า หรือปีละ 5-6 หมื่นล้านบาท

นายอารีพงศ์กล่าวว่า แนวทางการทำงานจะเริ่มจากนำทุกโครงการที่มีปัญหาค้างคาอยู่มาแก้ปัญหาให้เดินหน้าจนจบ ทั้งโครงการของ ร.ฟ.ท. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อาทิ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟฟ้าสายสีแดง และอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการผลักดันโครงการลงทุนใหม่

"ทั้ง 2 กระทรวงประชุมร่วมกัน 2-3 ครั้งแล้ว การทำงานร่วมกันจะเป็นแบบเจาะทีละโครงการว่าปัญหาอยู่ตรงไหน"

นายอารีพงศ์กล่าวว่า การแก้ปัญหาขาดทุนของแอร์พอร์ตลิงก์จะเริ่มจากแก้ปัญหาโครงการเก่าที่ขาดทุนก่อน โดยระบบแล้วสามารถแยกการบริหารออกมาต่างหากจาก ร.ฟ.ท.ได้ แต่เบื้องต้นต้องปรับการบริหารการเดินรถ โดยหันมาเน้นให้บริการซิตี้ไลน์ที่จอดทุกสถานีให้มากขึ้น เพราะมีประชาชนใช้บริการมาก ต่างจากเอ็กซ์เพรสไลน์ที่คนยังใช้บริการน้อย มีตัวอย่างจากประเทศฮ่องกง ที่แอร์พอร์ตลิงก์ประสบความสำเร็จเพราะให้บริการซิตี้ไลน์ หลังจากนั้นจะมองไปถึงการต่อขยายเส้นทางออกไปยัง จ.ชลบุรีหรือระยองต่อไป

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า ล่าสุดในการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ให้การบ้านบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่เป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ กลับไปจัดทำแผนธุรกิจมาใหม่ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อแก้ปัญหาที่ปัจจุบันขาดทุนอยู่เดือนละ 3-4 ล้านบาท หรือปีละกว่า 40 ล้านบาท จากนั้นจึงจะดูว่าทางคลังจะสนับสนุนอะไรได้บ้าง

ชงแก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์

นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ดูแลงานโครงสร้างพื้นฐานและในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์ที่หารือร่วมกับคลังจะต้องแยกบริษัทเป็นองค์กรอิสระจากการรถไฟฯ มี 3 แนวทางคือ 1) โอนทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิงก์ที่เป็นโครงสร้างเหนือรางให้บริษัทลูก หรือให้เช่าในราคาถูก 2) ให้กระทรวงการคลังรับหนี้ทั้งหมดแล้วถือหุ้น 100% แทนการรถไฟฯ 3) ให้เงินทุนหมุนเวียน 1,860 ล้านบาท โดยกระทรวงคลังจะให้การรถไฟฯกู้และบริษัทลูกมากู้ต่อ

"ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงก์เป็นบริษัทลอย ๆ ยังไม่มีอะไรเลย จึงไม่สามารถบริหารจัดการด้วยตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับการรถไฟฯอย่างเดียว เช่น ซื้ออะไหล่ก็ต้องให้การรถไฟฯซื้อให้"

นายจำรูญกล่าวว่า ขณะเดียวกันกระทรวงคลังให้ทำแผนธุรกิจในระยะยาว 3-7 ปี ว่าหากมีการซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวน วงเงิน 5.2 พันล้านบาทแล้ว จะมีรายได้และผู้โดยสารเพิ่มเท่าไหร่ รวมถึงแผนรายได้แต่ละปีจากค่าโดยสารและรายได้เชิงพาณิชย์จากพื้นที่โฆษณา

ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงก์มีผู้โดยสารเดือนละ 1 ล้านเที่ยวคนหรือเฉลี่ยวันละ 3-4 หมื่นเที่ยวคน รายได้เดือนละ 40 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายปีละ 400 ล้านบาท

ประมูลสีม่วงยังวุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรถไฟสายสีแดง สัญญาที่ 1 การรถไฟฯให้บริษัทซิโน-ไทยฯ ส่งรายการราคาก่อสร้างเพื่อนำมาพิจารณาต่อรองราคาอีกรอบจาก 31,170 ล้านบาทที่ได้ลดราคาไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยการรถไฟฯมีเป้าหมายจะให้อยู่ในกรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท คาดว่าบริษัทซิโน-ไทยฯจะยอมลดราคาให้

ส่วนสัญญาที่ 6 งานวางรางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) เมื่อวันที่ 29 พ.ค. มีการเปิดซองราคาของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ โดยเสนอมา 4,142 ล้านบาท สูงจากกรอบวงเงิน 3,638 ล้านบาทอยู่ 504 ล้านบาท หรือประมาณ 13.8% รฟม.คาดว่าอีก 3 เดือนจะสามารถลงนามก่อสร้างได้หลังจากมีมติ ครม.อนุมัติ ตามขั้นตอนคาดว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ภายในสิ้นปี 2555 นี้ ใช้เวลาดำเนินการ 990 วัน เพื่อให้ทันเปิดบริการสายสีม่วงในปี 2558

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วงบ่ายของวันที่ 29 พค. ทางบริษัทซิโน-ไทยฯ และบริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ ผู้ร่วมประมูลแข่งขันเดินทางมารับซองเอกสารคืนและเตรียมยื่นอุทธรณ์ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยนายประเสริฐ คงเคารพธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของซิโน-ไทยฯ ระบุว่า วันที่ 24 พค.ที่ผ่านมา บริษัทได้รับแจ้งจากรฟม.ว่าให้มารับซองเอกสารด้านเทคนิคคืนเพราะไม่ผ่านคุณสมบัติ และให้อุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน บริษัทไม่เร่งรีบเพราะไม่คิดว่ารฟม.จะเร่งเปิดซองราคา ทำให้เป็นการเปิดซองราคารายเดียว"

ทั้งนี้เอกสารเสนอราคาของซิโน-ไทยฯ ที่เปิดให้ดูต่อหน้าผู้สื่อข่าว อยู่ที่ 3,860 ล้านบาท ต่ำกว่าราคาประมูลของอิตาเลียนไทยฯ 282 ล้านบาท และสูงกว่ากรอบราคากลาง 222 ล้านบาท

เร่งสายสีแดงให้จบ ม.ย.นี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การทำงานร่วมกับกระทรวงการคลังต้องเร่งดำเนินการ 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกคือสะสางโครงการที่ล่าช้า เช่น รถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่ช้า 2 ปี ทั้งที่เซ็นสัญญาเงินกู้กับองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เรียบร้อยแล้ว แต่ติดปัญหาการประกวดราคาที่ยังหาผู้รับเหมาไม่ได้

โดยได้มอบให้การรถไฟฯเร่งแก้ปัญหาให้เสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งสัญญาที่ 1 ที่เจรจากับผู้รับเหมาคือ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งฯ ยังไม่จบ คาดว่าจะจบเร็ว ๆ นี้ ส่วนสัญญาที่ 3 ยังพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นไม่เสร็จ หลังมีบริษัทเอกชน 2 รายถือหุ้นไขว้กันอยู่ เรื่องนี้ให้การรถไฟฯถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าจะเข้าข่าย พ.ร.บ.สมยอมราคา (ฮั้ว) หรือไม่ หากพบว่าเข้าข่ายสมยอมกันก็ต้องยกเลิกเริ่มและเปิดประมูลใหม่

เร่งลงทุน 1.64 ล้านล้าน

เรื่องที่ 2 เร่งรัดลงทุนระบบรางของกระทรวงคมนาคม ซึ่งกระทรวงคลังพร้อมสนับสนุนทุกโครงการ โดยอาจจะออก พ.ร.บ.เงินกู้ในปี 2555 นี้ มีเวลาดำเนินการ 7 ปี (2555-2562) โครงการเสนอไปลงทุน 1.64 ล้านล้านบาท โครงการที่จะลงทุน อาทิ โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย วงเงิน 640,071 ล้านบาท ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ที่จะรองรับการเปิดการค้าเสรีอาเซียน 26 โครงการ 1.001 ล้านล้านบาท

แบ่งเป็น 1) ทางบก รวม 140,445 ล้านบาท 2) ทางน้ำ รวม 63,215 ล้านบาท 3) ทางราง รวม 712,164 ล้านบาท 4) ทางอากาศ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 83,503 ล้านบาท และ 5) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ 2,218 ล้านบาท

โมเดลใหม่ทำแผนแห่งชาติ

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า 2 กระทรวงคือ คลังกับคมนาคมได้ประชุมหารือร่วมกันเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชาติตามนโยบายของรัฐบาล หลังเกิดความล่าช้ามานาน ต่อไปการดำเนินการจะไม่ยึดกรอบงบประมาณแต่ละปีเหมือนที่ผ่านมา แต่จะกำหนดเป็นกรอบวงเงินลงทุนภาพรวมทั้งหมด และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนนี้จนกว่าโครงการแล้วเสร็จ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-06-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.