| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 60 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-05-2555    อ่าน 1926
 QHชี้ราชพฤกษ์"เดดโซน''ขายฝืด''บ้านจัดสรร"เร่งวางระบบกันน้ำท่วมล่อใจลูกค้า

ราชพฤกษ์ยังลูกผีลูกคน "คิวเฮ้าส์" เจ้าถิ่นวิเคราะห์ทำเลราชพฤกษ์ตอนปลาย ตั้งแต่ถนนสาย 345-รัตนาธิเบศร์ยังไม่ฟื้นไข้ เป็นเดดโซนยอดขายบ้านนิ่งสนิทไปถึงปีหน้า หลังลูกค้าชะลอซื้อ รอประเมินน้ำท่วมปีนี้ เร่งวางระบบป้องกันน้ำท่วมโครงการเก่า-ใหม่ ทั้งถมที่ดินสูงขึ้นอีก 1 เมตร เตรียมจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ฉาบกำแพงรั้วป้องกันน้ำเข้า หนุนรัฐบาลเวนคืนที่ขุดแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วยป้องกันน้ำท่วมแบบเบ็ดเสร็จระยะยาว


นายซวง ชัยสุโรจน์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในทำเลราชพฤกษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โครงการบ้านจัดสรรบนถนนราชพฤกษ์ถือว่าได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะถนนราชพฤกษ์ตอนปลายนับจากช่วงถนนสาย 345-รัตนาธิเบศร์ถือว่าถูกน้ำท่วมหนัก ทำให้ความต้องการซื้อบ้านจัดสรรช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาถึงปัจจุบันในทำเลนี้ยังไม่ฟื้นตัว และมีความเห็นว่าทำเลราชพฤกษ์ตอนปลายจะเป็น "เดดโซน" ไประยะหนึ่ง คือเป็นทำเลที่ไม่มียอดขายเข้ามาเลย หรือมียอดขายเข้ามาเพียงเล็กน้อยไปจนถึงปีหน้า

11 โครงการคิวเฮ้าส์ถูกน้ำท่วม

ปัจจุบันคิวเฮ้าส์และบริษัทในเครือมีโครงการที่เปิดขายบนถนนราชพฤกษ์ทั้งหมด 11 โครงการ จากทั้งหมด 48 โครงการ อาทิ พฤกษ์ภิรมย์ ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์, ลัดดารมย์ อีลิแกนซ์ ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์, ลัดดารมย์ ราชพฤกษ์ รัตนาธิเบศร์ 2, คาซ่า แกรนด์ ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์, คาซ่า พรีเมี่ยม ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ ฯลฯ ถือว่าได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าแวะชมโครงการบ้างแต่ยังไม่มียอดขาย

"ภาวะที่เกิดขึ้นตอนนี้คือคนมีเงินแต่ยังไม่ซื้อ ขอรอดูอีกปีจนผ่านฤดูฝนปีนี้ไปก่อน และน่าจะส่งผลให้ความต้องการซื้อบ้านในภาพรวมทั้งปีลดลง" นายซวงกล่าวและว่า ส่วนถนนราชพฤกษ์ตอนกลางนับจากช่วงถนนสาย 345-ช่วงปิ่นเกล้า และถนนราชพฤกษ์ช่วงต้นนับจากช่วงปิ่นเกล้า-เพชรเกษมถือว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ไตรมาสแรกเริ่มมียอดขายบ้านกลับเข้ามา และช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมยอดขายฟื้นตัวกลับมาประมาณ 70-80% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ และน่าจะกลับสู่ภาวะปกติได้ในช่วงครึ่งปีหลัง

นายซวงกล่าวต่อว่า สิ่งที่ดำเนินการระหว่างรอกำลังซื้อกลับมาคือต้องประคองตัว เพราะบริษัทไม่มีนโยบายนำบ้านมาลดราคา อย่างไรก็ตาม ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาได้จัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ แต่เป็นลักษณะการแจกแถมไม่ใช่การลดราคาบ้าน อาทิ แคมเปญซื้อบ้าน (พฤกษ์ภิรมย์ ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์) แถมคอนโดมิเนียม (คาซ่า รัชดาฯ-ท่าพระ), ผ่อน 0 บาท ฟรีสิทธิประโยชน์ 7 รายการ (คาซ่าวิลล์ ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ) เป็นต้น

วางระบบป้องกันน้ำ-ถมดินสูง

ส่วนการเรียกความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับคืนมามี 2 ส่วนคือ 1) ส่วนของผู้ประกอบการ และ 2) ส่วนของรัฐบาลที่ต้องทำในภาพใหญ่ ในฝั่งผู้ประกอบการคิวเฮ้าส์ได้วางระบบป้องกันน้ำท่วมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ได้แก่ 1) การถมดิน 2) ทำจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และ 3) ป้องกันน้ำรั่วซึมทางรั้วโครงการการถมดินหากเป็นโครงการใหม่ จะถมให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดเมื่อปีที่ผ่านมา อย่างทำเลถนนราชพฤกษ์ตอนปลายมีน้ำท่วมเฉลี่ย 1 เมตร ก็จะถมที่ให้สูงขึ้นประมาณ 1.20-1.30 เมตร และโครงการที่เพิ่งเปิดใหม่และมียอดขายบ้านไม่กี่หลัง บริษัทจะปรับระดับการถมดินบริเวณพื้นที่ก่อสร้างบ้านให้สูงขึ้น ควบคู่กับการปรับระดับการเทพื้นบ้านชั้นล่าง รวมแล้วจะทำให้ตัวบ้านสูงจากเดิมอีกกว่า 1 เมตร

ส่วนโครงการเก่าได้ระดมช่างฉาบกำแพงรั้วและรอยต่อระหว่างเสา-ท้องคาน รวมถึงเตรียมจุดติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำประจำโครงการ โดยช่วงน้ำท่วมคิวเฮ้าส์มีเครื่องสูบน้ำรวมประมาณ 400 ตัว จะนำมากระจายไปติดตั้งตามโครงการต่าง ๆ

นอกจากนี้สิ่งที่อยากเห็นจากรัฐบาลคือ การขุดคลองสายใหม่ หรือแม่น้ำเจ้าพระยา 2 เพราะสิ่งที่ดำเนินการอยู่ทั้งการขุดลอกคูคลองหรือเตรียมการบริหารจัดการน้ำ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้แบบยั่งยืน

หนุนรัฐบาลขุดเจ้าพระยา 2

ข้อเสนอคือ อยากเห็นการขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ 2 สาย เชื่อมจากนครสวรรค์ลงมาบรรจบกับแม่น้ำท่าจีนและไหลลงสู่ทะเล แต่วิธีนี้รัฐบาลจะต้องหามาตรการรองรับไม่ให้น้ำล้นจากริมตลิ่ง หากว่ามีปริมาณน้ำไหลบ่าเป็นจำนวนมาก

ส่วนอีกวิธีคือ การขุดแม่น้ำเจ้าพระยา 2 จากนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลโดยตรง ขนาดเท่าแม่น้ำเจ้าพระยา คือรับน้ำได้ 3,500 คิวบิกเมตรต่อวินาที เท่ากับจะมีแม่น้ำเจ้าพระยา 2 สาย รับน้ำรวมกันได้ 7,000 คิวบิกเมตรต่อวินาที น่าจะเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้แบบเบ็ดเสร็จ และน่าจะการันตีได้ว่าน้ำจะไม่ท่วม

"วิธีนี้รัฐบาลต้องมีความกล้าที่จะเวนคืน อย่างถนนมอเตอร์เวย์ที่กว้างถึง 100 เมตร รัฐบาลก็ยังเวนคืนเพื่อก่อสร้างได้ แต่คนที่เดือดร้อนก็ต้องได้รับการชดเชยสมเหตุสมผล" นายซวงกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 25-05-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.