| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 353 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-04-2555    อ่าน 11012
 กทม.ผ่าตัด "บางกะปิ-โซนตะวันออก" ผุดวงแหวน-สะพานข้ามแยก...ทะลวงรถติด

เริ่มเห็นช่องทางที่จะใช้เป็นยุทธวิธีแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณเขตบางกะปิ ภายหลังสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) คลิกออฟจัดเวทีสาธารณะเปิดรายละเอียดผลการศึกษาโครงการแก้ไขปัญหาจราจร บริเวณจุดตัดของถนนสายหลัก 6 สายที่มาบรรจบกันบริเวณแยกบางกะปิ ตั้งแต่ถนนลาดพร้าว ถนนนวมินทร์ ถนนเสรีไทย ถนนรามคำแหง ถนนศรีบูรพา และถนนศรีนครินทร์

โดยโครงการนี้ "กทม." ทุ่มเม็ดเงิน 27.9 ล้านบาท จ้างกลุ่มบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด, บริษัท เอ กรุ๊ป คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด ผลสรุปขั้นสุดท้ายกำหนดแล้วเสร็จกันยายนนี้

สภาพปัญหา เพื่อให้การจราจรในบริเวณโดยรอบที่มีข้อจำกัดเรื่องของถนนมีน้อยสาย และจุดตัดที่มีอยู่ 6 แยกด้วยกัน คือสามแยกบางกะปิ แยกบางกะปิ แยกลำสาลี แยกสวนสน แยกนิด้า และแยกบ้านม้า ให้มีประสิทธภาพและคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจาก "เขตบางกะปิ" นับเป็นพื้นที่รอยต่อเชื่อมโยงการเดินทางไปยังกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันอออก

หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษาสำรวจพื้นที่จริงแล้ว มีแนวทางเสนอแนะในการเคลียร์การจราจรหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ประกอบด้วย 1) การปรับระบบจราจรในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การกำหนดพื้นที่จอดรถบริเวณข้างทาง กำหนดจุดจอดรถประจำทางเพิ่มเติมและให้ชัดเจน รวมถึงตำแหน่งทางม้าลาย สะพานลอยคนข้าม และปรับปรุงทางเท้าให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น

2) การเพิ่มความจุของถนน โดยปรับปรุงถนนสายรอง เพื่อเพิ่มความจุให้แก่โครงข่ายถนน ก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแยกปริมาณจราจรที่ต้องการเดินทางผ่านทางแยกออกจากปริมาณจราจรในพื้นที่ จะส่งผลให้ปริมาณจราจรทางแยกลดลงตามไปด้วย ปรับปรุงทางแยกตามแนวเส้นทาง เพื่อเพิ่มความจุให้แก่ทางแยก ด้วยการสร้างสะพานข้ามทางแยก อุโมงค์ลอดทางแยก

รวมถึงศึกษาเส้นทางตัดใหม่ในจุดที่เหมาะสม ในการช่วยกระจายรถออกสู่ปลายทางได้โดยตรง ในรูปแบบทางเลี่ยงหรือบายพาส (Bypass) เพื่อลดปริมาณรถที่จะเข้าไปสะสมในพื้นที่ แนวเส้นทาง "บายพาส" ตามที่บริษัทที่ปรึกษาเสนอแนะมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนอีกชั้น

โดยเชื่อมจากถนนตัดใหม่ของ กทม.สาย "กรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า" จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้บริเวณถนนศรีนครินทร์ (อนุบาลวรรณี) ตัดผ่านพื้นที่ว่างไปทาง ม.ธารทิพย์ ม.เจริญชัย เชื่อมต่อกับถนนศรีบูรพาและถนนเสรีไทย (สุขาภิบาล 2)

ขณะที่อีกด้านจะเชื่อมจากถนนลาดพร้าว บริเวณโรงพยาบาลเวชธานี ตัดเข้าซอยลาดพร้าว 130 ทะลุการเดินทางเข้าย่านรามคำแหงใกล้กับ ม.เดชา โรงพยาบาลรามคำแหง มาเชื่อมกับถนนศรีนครินทร์ใกล้กับโรงพยาบาลสมิติเวช

3) ก่อสร้างทางยกระดับซ้อนทับกับสะพานข้ามแยกบางกะปิเดิม และขยายช่องการจราจรบนสะพานเพิ่ม เพื่อแยกปริมาณจราจรที่ผ่านทางแยกออกจากปริมาณจราจรในพื้นที่

"วัชรินทร์ บรรพต" ผู้อำนวยการกองออกแบบ สำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่เขตบางกะปิต้องรองรับปริมาณจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนสูงถึง 10,190 คัน/ชั่วโมง ในขณะที่ความจุของถนนสามารถรองรับได้เพียง 8,200 คัน/ชั่วโมง

แบ่งเป็นพื้นที่ด้านตะวันออกกับถนนศรีนครินทร์ จำนวน 2,143 คัน/ชั่วโมง พื้นที่ด้านตะวันตกกับถนนศรีนครินทร์ จำนวน 2,257 คัน/ชั่วโมง และบนถนนรามคำแหง ทั้งทิศทางเข้าเมืองและออกนอกเมือง จำนวน 2,719 คัน/ชั่วโมง

ด้านการเวนคืนที่ดิน "ผอ.วัชรินทร์" แจ้งว่า ให้รอดูผลการศึกษาครั้งสุดท้ายที่จะออกมาในเดือนกันยายนนี้ หากสร้างถนนวงแหวนเพิ่ม ก็อาจจะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-04-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.