| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 97 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 31-03-2555    อ่าน 1955
 ฟื้นที่ดิน"หมอชิต"2หมื่นล้านฉลุย กรมธนารักษ์เร่งเปิดประมูลแจกสัมปทานยาว30ปี

"ครม.ยิ่งลักษณ์" ผ่านฉลุยโครงการพัฒนาที่ดินหมอชิตเก่า 63 ไร่ มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้าน ด้าน "กรมธนารักษ์" เดินหน้าเต็มสูบ นับหนึ่งใหม่ ตั้งแต่รีวิวรูปแบบการพัฒนา ตั้งคณะกรรมการมาตรา 13 ยันทีโออาร์จัดหาเอกชนมาร่วมลงทุน แย้มเปิดทางคู่สัญญาเก่า "บางกอกเทอร์มินอล" เข้าร่วมประมูลด้วย คาดปีนี้เปิดประมูลได้



แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ได้อนุมัติแผนการพัฒนาโครงการที่ดินบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่า เนื้อที่ 63 ไร่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยหลังจากนี้ กรมธนารักษ์จะต้องเริ่มนับหนึ่งโครงการใหม่ เริ่มจากการดำเนินการตามขั้นตอนพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เนื่องจากโครงการมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งในการดำเนินการ จะมีการยกร่างทีโออาร์เงื่อนไขการลงทุนที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน รวมถึงทบทวนรูปแบบการพัฒนาและมูลค่าการลงทุนของโครงการ เนื่องจากโครงการนี้ กรมธนารักษ์เคยศึกษาไว้นานแล้ว ขณะที่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงต้องมีการทบทวนแผนการพัฒนาใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบันด้วย

"ภายในปีนี้ กรมจะเร่งดำเนินการทุกอย่างให้เกิดการเริ่มต้นโครงการทั้งหมด ทั้งการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 13 และการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนโครงการ และพิจารณาผลตอบแทนที่เอกชนจะเสนอรูปแบบมา ซึ่งต้องเร่งให้เสร็จโดยเร็ว เพราะกรมจะต้องเร่งหาเงินประมาณ 1,100 ล้านบาท เพื่อมาชำระหนี้คืนให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ที่บริษัทออกค่าก่อสร้างงานฐานรากโครงการไปก่อน โดยจะให้รวมวงเงินส่วนนี้เข้าไปกับการลงทุนโครงการพัฒนาที่ดินหมอชิตด้วย เพราะเอกชนรายใหม่ที่เข้ามาดำเนินการจะไม่ต้องลงทุนส่วนนี้อีกแล้ว"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เนื่องจาก ครม.ไม่อนุมัติวงเงินตามที่กรมได้ดำเนินการขอจัดสรรไปจากงบประมาณส่วนกลาง โดยให้ขอจัดสรรงบประมาณประจำปี 2556 แทน เนื่องจากเงินกองกลางไม่มีเหลือแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา กรมจะต้องเร่งหาแนวทางอื่นสำรอง เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าชดเชยใหักับบริษัทบีทีเอสซี เพราะหากยิ่งล่าช้าออกไป กรมจะต้องมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เฉลี่ยวันละ 124,000 บาท

"คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

จะได้ข้อสรุป สำหรับบริษัทเอกชนที่จะมาเป็นผู้พัฒนาโครงการ โดยจะเปิดกว้างให้เอกชนทุกรายที่สนใจเข้ามาเสนอรูปแบบการพัฒนา รวมทั้งบริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด คู่สัญญาเดิมที่เคยเสนอรูปแบบการพัฒนาไว้แต่เดิมเข้าร่วมด้วย"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบการพัฒนาจะคงเป็นรูปแบบการพัฒนาแบบเชิงพาณิชย์ และผสมผสานกับการพัฒนารูปแบบอื่น ๆ เข้าไปด้วย เช่น โรงแรม หรือคอมเพล็กซ์ เป็นต้น เนื่องจากทำเลปัจจุบันมีศักยภาพสูงมาก อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่วนการพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยอาจจะไม่เน้นมากนัก รวมถึงสถานีขนส่งรถโดยสารของ บขส.จะไม่มีด้วยเช่นกัน

จากเดิมโครงการนี้เคยศึกษาไว้เมื่อปี 2538 ออกแบบการพัฒนาไว้เดิมในพื้นที่ 63 ไร่ พัฒนาเป็นรูปแบบคอมเพล็กซ์สูง 5 ชั้น โรงแรมขนาด 450 ห้อง ร้านค้าย่อย ศูนย์แสดงสินค้า พื้นที่ 47,114 ตารางเมตร สถานีขนส่ง สำนักงานให้เช่า ศูนย์การค้า ค้าปลีก-ค้าส่ง ศูนย์แสดงนิทรรศการ ศูนย์สินค้าโอท็อป สถานที่ราชการ โรงเรียนกวดวิชา เป็นต้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่เอกชนเสนอการลงทุนเข้ามา โดยจะให้สัมปทานเอกชนพัฒนาที่ดินเพื่อจัดหาผลประโยชน์เป็นระยะเวลา 30 ปี สำหรับเม็ดเงินลงทุนจะต้องทบทวนใหม่เช่นกัน อาจจะไม่ใช่กรอบวงเงินเดิม 18,000 ล้านบาทที่เคยศึกษาไว้หลายปีก่อน ด้วยมูลค่าที่ดินและพื้นที่โดยรอบเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้ต้นทุนที่ดิน รวมถึงค่าก่อสร้าง อาจจะแพงขึ้นตามไปด้วย ตามสภาวะปัจจุบัน อาจจะเกิน 20,000 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 31-03-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.