| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 87 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-03-2555    อ่าน 1989
 จับทิศทาง "ออกแบบ-เลือกซื้อบ้าน" จุดเปลี่ยนธุรกิจอสังหาฯหลังอุทกภัย

หลังน้ำท่วมใหญ่ปลายปีมีคำถาม เกิดขึ้นมากมายกับตลาดที่อยู่อาศัย

หนึ่งในนั้นคือ...แนวโน้มพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ทิศทางการออกแบบบ้านหลังน้ำลดจะเป็นอย่างไร ในการสัมมนาใหญ่ของ 3 สมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้หยิบเรื่องนี้เป็นประเด็นในการไขรายละเอียดผ่านมุมมอง 2 กูรูในแวดวงสถาปนิกและนักวิชาการด้านอสังหาฯ พ่วงด้วยเคล็ดลับจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรและอาคารชุดให้สำเร็จ

เศรษฐซื้อบ้านหลังที่ 2 ตจว.

"รศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล" อาจารย์ประจำโครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่ามี 4 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้คือ 1) ประสบการณ์ตรงและการรับข่าวสารในช่วงน้ำท่วม 2) ซัพพลาย-ดีมานด์แต่ละทำเล 3) การปล่อยกู้ของสถาบันการเงินและการทำประกันภัย และ 4) นโยบายภาครัฐที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน

เมื่อจับพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัย พบว่ามีแนวโน้มผู้ซื้อบ้านจะเลือกทำเลที่น้ำไม่ท่วม หรือท่วมน้อยเป็นลำดับแรก ๆ

แต่เมื่อแบ่งผู้ซื้อบ้านเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม "เศรษฐีมีเงิน" พบว่าหลังเกิดน้ำท่วมต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 ในต่างจังหวัดหรือพื้นที่น้ำไม่ท่วมเป็นบ้านพักสำรอง ทำให้เกิดเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ต่างจังหวัด คอนโดมิเนียมในเมือง

ขณะที่ "ชนชั้นกลาง" จะไม่มีทางเลือกมากนัก จึงไม่ย้ายถิ่นฐานหรือซื้อบ้านใหม่ก็เลือกทำเลที่น้ำท่วมน้อย หรือมีระบบป้องกันที่ดีและใช้วิธีเรียนรู้-ปรับตัวเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม

เทรนด์ออกแบบ-ชั้นล่างเน้นโล่ง

ด้านทิศทางการออกแบบที่อยู่อาศัยและตกแต่งภายใน "ทวีจิตร จันทรสาขา" นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิเคราะห์ว่า เทรนด์การออกแบบบ้านหลังน้ำท่วม หากเป็นบ้านที่ปลูกสร้างในพื้นที่ฟลัดเวย์ (ทางน้ำผ่าน) จะปรับมาเป็นแบบบ้านใต้ถุนสูง โดยเฉพาะบ้านที่เจ้าของว่าจ้างผู้รับเหมาปลูกสร้าง ส่วนทำเลอื่น ๆ จะปรับเปลี่ยนวัสดุตกแต่งภายในให้ทนน้ำได้ดีมากกว่าจะปรับแบบบ้าน

ส่วนฟังก์ชั่นใช้สอยภายในบ้านชั้นล่างมีแนวโน้มเปลี่ยนเป็นพื้นที่โล่งมากขึ้นแทนที่จะออกแบบเป็นห้องต่าง ๆ ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ จะถูกออกแบบไว้ชั้นบน

ส่วนการออกแบบบ้านลอยน้ำเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นเพราะกรุงเทพฯไม่ได้มีน้ำท่วม และไม่สอดรับกับการอยู่อาศัยจริง

ขณะที่เทรนด์การตกแต่งภายใน อย่างวัสดุปูพื้นจะเปลี่ยนจากไม้ธรรมชาติเป็นกระเบื้องรุ่นที่น้ำซึมผ่านได้ยาก, เฟอร์นิเจอร์จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและชิ้นเล็กเคลื่อนย้ายสะดวกหรือถอดประกอบได้ รวมทั้งจะออกแบบถังบำบัดของเสียห้องน้ำชั้นบนแยกจากชั้นล่าง และตั้งไว้บนดินหากน้ำท่วมก็สามารถใช้งานเฉพาะห้องน้ำชั้นบนได้

แจงขั้นตอนตั้งนิติฯบ้านจัดสรร

ปิดท้ายที่ "พิสิฐ ชูประสิทธิ์" นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร ที่เผยสถิติจากกรมที่ดินนับตั้งแต่มีหมู่บ้านจัดสรรในเมืองไทยได้ประมาณ 50 ปี มีหมู่บ้านจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรรไปแล้ว 470 แห่งเท่านั้น ถือว่าน้อยมาก

ประเด็นมี 2 ส่วนคือ 1) อยากตั้งนิติฯแต่ไม่สำเร็จ และ 2) เลี่ยงการจัดตั้ง ซึ่งกรณีอยากตั้งนิติฯแต่ไม่สำเร็จ อาจเกิดจาก 1) ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องการเพราะไม่อยากรับภาระส่วนกลางทุกเดือน 2) ต้องใช้เสียงรับรองจากผู้ซื้อกึ่งหนึ่งหรือ 50% ของจำนวนยูนิตตามผังโครงการ

ซึ่งการจะตั้งได้หมู่บ้านจัดสรรนั้น ๆ จะต้องมียูนิตขายไปได้แล้วอย่างน้อย 50% หรือกึ่งหนึ่ง ของจำนวนยูนิตตามผังโครงการและการก่อสร้างสาธารณูปโภคในโครงการจะต้องแล้วเสร็จ มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน เจ้าของโครงการซึ่งก็คือผู้จัดสรรที่ดินต้องยินยอมพ้นจากหน้าที่การดูแลสาธารณูปโภค และแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวตั้งไม่น้อยกว่า 180 วันและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดให้จัดตั้งนิติฯ

ในส่วนของอาคารชุดหรือคอนโดฯจะง่ายกว่า เพราะทันทีที่ทรัพย์ส่วนกลางในโครงการ (พื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด) สร้างเสร็จและเริ่มโอนห้องชุดห้องแรกให้ผู้ซื้อก็สามารถตั้งนิติฯได้ทันที ส่วนใหญ่จึงตั้งนิติฯได้สำเร็จ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 20-03-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.