| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 80 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-03-2555    อ่าน 1864
 ชำแหละ 3 เส้า "ตลาดนัดจตุจักร" "คู่สัญญา-นายทุน-เช่าช่วง" ใคร...เสือนอนกิน

นับเป็นครั้งที่ 2 ที่กลุ่ม "ม็อบผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร" ที่มี "สงวน ดำรงไทย" เป็นแกนนำ เดินเกมกดดัน "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ด้วยการปิดถนนพหลโยธินด้านหน้าตลาด เมื่อ 3 มีนาคมที่ผ่านมา พร้อมกับเรียกร้องให้ลดค่าเช่าอัตราใหม่ จาก 3,157 บาท/แผง/เดือน เหลือไม่เกิน 1,000 บาท/แผง/เดือน พ่วงด้วยสัญญาเช่า 30 ปี

ก่อนหน้านี้ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็มีม็อบปิดถนนมาแล้วรอบหนึ่ง ผลตอบรับถือว่าม็อบได้รับชัยชนะ เพราะ "ร.ฟ.ท." ถอย 1 ก้าว ยกเลิกเก็บค่าต๋งหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้า 50,000 บาท กับค่าประกันสัญญา 21,312 บาท จากเบ็ดเสร็จที่ผู้ค้าต้องจ่ายเป็นก้อน 74,974 บาท เมื่อตกลงทำสัญญาเช่า



เดดไลน์ต่อสัญญาเช่า 13 มี.ค.

ม็อบครั้งที่ 2 ดูเหมือนจะไม่มีปฏิกิริยาตอบรับจาก "ร.ฟ.ท." แถมใช้ไม้แข็งขีดเส้นตายให้ผู้ค้าเดิม 27 โซน ที่มีเล่มทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 8,875 แผง ควบแผงค้าไก่ชนเดิม ทำสัญญาเช่าภายใน 10 วัน ระหว่าง 3-13 มีนาคมนี้

เม็ดเงินที่ต้องจ่ายในการต่อสัญญาเช่าคือ 3,562 บาท แยกเป็นค่าเช่าแผง 3,157 บาท ค่าภาษี 395 บาท ค่าบัตรชำระเงินธนาคาร 10 บาท มีอายุสัญญาเช่า 2 ปี

หากพ้นจากกำหนดนี้ถือว่า "ผู้ค้าเดิม" สละสิทธิ์ จะเปิดทางและจัดคิวให้ "ผู้เช่าช่วง" ที่ว่ากันว่ามีอยู่กว่า 90% ในตลาด ซึ่ง "ร.ฟ.ท." จัดทำแบบฟอร์มให้ลงประวัติไว้แล้วล่วงหน้า เป็นผู้มีสิทธิ์ทำสัญญาเช่าแทน

ผู้เช่าช่วง เปิดศึกแย่งสิทธิแผงค้า

เดดไลน์ของ "ร.ฟ.ท." ปรากฏว่ามี "ผู้ค้าเดิม" ทยอยเข้ามาทำสัญญาเช่ากับ ร.ฟ.ท.ไปหลายราย แต่ก็มีอีกหลายรายที่ขอรอจนถึงวินาทีสุดท้ายวันที่ 13 มีนาคม โดยหวังลึก ๆ ในใจว่า ร.ฟ.ท.จะใจอ่อนลดค่าเช่าให้

ขณะที่กลุ่ม "ผู้เช่าช่วง" ก็เปิดเกมแย่งชิง "สิทธิการเช่า" จากผู้ค้าเดิมเช่นกัน แสดงความพร้อมด้วยการรวมตัวกันยื่นหนังสือถึง "พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก" รมช.คมนาคม ยื่นข้อเสนอยอมจ่ายค่าเช่าสูงกว่าที่ ร.ฟ.ท. ประกาศหลายเท่า เฉลี่ย 10,000 บาท/แผง/เดือน เพราะดีดลูกคิดแล้วถือว่ายังคุ้ม เมื่อเทียบกับอัตราค่าเช่าที่จ่ายเช่าช่วงให้เจ้าของแผงในแต่ละเดือน

โซน 2-3-4 หูฉี่...คนรวยเดิน

แหล่งข่าวพ่อค้าในตลาดจตุจักรกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดจตุจักรตอนนี้กลายเป็นตลาดสีเทาเคล้าไปด้วยผลประโยชน์ไปแล้ว ถึงได้เกิดเรื่องบานปลาย

ขนาดนี้ เพราะมีกลุ่มเสียผลประโยชน์จากค่าเช่าแผงค้า คือ 1)กลุ่มผู้ค้าเดิมที่เคยจ่ายถูก 120-500 บาท/แผง/เดือน 2)กลุ่มนายทุนแผงที่กินส่วนต่างจากปล่อยเช่าราคาถูกตามสัญญาและปล่อยเช่าช่วงในราคาตลาด 3)กลุ่มผู้เช่าช่วง เพราะต้องจ่ายค่าเช่าแพงขึ้น

ปัจจุบันตลาดนัดจตุจักร คนที่ทำมาค้าขายจริงจึงเป็นผู้เช่าช่วงเป็นหลัก ยอมจ่ายค่าเช่าแพงตั้งแต่หลายพันบาทจนถึงหลักหมื่นบาทต่อเดือน เสน่ห์ของตลาดนัดจตุจักรคือเป็นตลาดค้าส่งมากกว่าขายปลีกหน้าร้าน ใครอยากมีธุรกิจส่วนตัวก็ต้องมาเริ่มที่นี่

"ทุกวันนี้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดที่อยู่ได้เพราะรายได้จากค้าส่ง ส่วนแผงค้าที่เช่าไว้ก็เพื่อเป็นหน้าร้านโชว์สินค้า เวลาลูกค้ามาเดินแล้วชอบและสั่งซื้อ รายได้จากการขายหน้าร้านไม่มากเลย เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว บางโซนคนเดินน้อย ขายได้วันละไม่กี่ร้อยบาท เพราะวันหนึ่งมีเดินผ่านหน้าร้านไม่ถึง 10 คนก็มี"

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า คนที่มีชื่อเป็นเจ้าของแผงค้าจริง ๆ ตั้งแต่ดั้งเดิมที่ย้ายมาจากสนามหลวง ไม่รู้ว่ายังมีอยู่หรือเปล่าตอนนี้ เพราะบางคนให้ญาติ ๆ กันมาค้าขาย หรือเซ้งต่อไปให้นายทุนแผงค้าที่มีธุรกิจส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้มีหลายรายมากว้านซื้อแผงค้าในตลาด เพื่อปล่อยเช่าช่วงต่อเก็บค่าเช่ากินเป็นรายเดือนก็มี

"บางรายเจ้าของเดียวมีถึง 50-100 แผง คนเหล่านี้จะมีธุรกิจส่วนตัวอยู่แล้ว แต่มาลงทุนรับผลประโยชน์แบบเสือนอนกินจากค่าเช่าแผง เพราะรายได้เยอะนะต่อเดือน ทำเลข้างในประมาณ 8,000-20,000 บาท/เดือน ทำเลคนเดินเยอะอย่างริมรั้วโซน 2, 3 และ 4 ที่เขาเรียกว่าโซนคนรวยเดิน อยู่ที่ 20,000-50,000 บาท/เดือน แต่จ่ายให้ กทม.จริงไม่กี่ร้อยบาท อย่างมากระดับ 1,000-2,000 บาท/เดือนเท่านั้น" แหล่งข่าวกล่าว

สารพัดกลยุทธ์ "เสือนอนกิน"

ยังไม่ทันที่ผู้เช่าเดิมจะ "ต่อ-ไม่ต่อ" สัญญา ปรากฏว่าเจ้าของแผงเริ่มบอกอย่างไม่เป็นทางการแล้วว่า หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ปรับค่าเช่าเพิ่มเป็น 3,157 บาท/แผง/เดือน จะขอปรับค่าเช่าช่วงเพิ่มอีก 5,000-10,000 บาท แล้วแต่ทำเลแผง

"ตอนนี้มีผู้เช่าช่วงหลายเจ้าเริ่มหาทำเลใหม่ที่ค่าเช่าถูกกว่านี้แล้ว เพราะประเมินแล้วน่าจะสู้ค่าเช่าช่วงของใหม่ไม่ไหวแน่ ๆ หากขึ้นพรวดพราดขนาดนี้ เพราะสภาพตลาดตอนนี้ไม่ได้ขายดีเหมือนยุค 4-5 ปีก่อน คนต่างชาติเดินน้อยลง โดยเฉพาะทำเลด้านในตอนนี้เงียบมากเพราะคนเดินเข้าไปไม่ถึง ร.ฟ.ท.น่าจะคิดถึงตรงนี้และจัดค่าเช่าแบ่งเป็นโซนเหมือนเดิมก็ดีอยู่แล้ว คิดเหมารวมแบบนี้แผงบางทำเลจะถูกมาก บางทำเลจะเท่าทุน และบางทำเลจะแพงขึ้น"

สอดคล้องกับ "แม่ค้าขายเสื้อผ้า" ในทำเลโซน 2/1 บอกว่า เช่าแผงต่อจากผู้เช่าช่วงอีกทอดหนึ่ง ปัจจุบันจ่ายค่าเช่า 25,000 บาท/เดือน โดยให้จ่ายล่วงหน้า 7 เดือน ล่าสุดทางผู้เช่าช่วงได้โทร.มา

บอกว่าจะขอปรับค่าเช่าเพิ่มอีก 5,000 บาท รวมเป็น 30,000 บาท/เดือน หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ปรับค่าเช่าใหม่

"หนูกำลังชั่งใจว่าจะต่อสัญญาเช่าดีมั้ย เพราะค่าเช่าแพงขึ้นมาก แต่ลูกค้าที่เดินเข้าร้านทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีมากมายเหมือนแต่ก่อน ตอนนี้ก็เริ่มดู ๆ มองหาทำเลเช่าที่ใหม่ หากถูกกว่านี้และเป็นทำเลที่ไม่น่าเกลียดมากคงจะต้องย้ายออกไป"

เช่นเดียวกับ "แม่ค้ากระเป๋า" ในโซน 2/1 บอกว่า เปิดร้านขายของในจตุจักรมาแล้ว 10 ปี จ่ายค่าเช่าอยู่ที่ 20,000 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เจ้าของแผงผลักภาระมาให้ อาทิ ค่าเช่าที่ กทม.มาเดินเก็บต่อเดือน 370 บาท

ทุกวันนี้ยังกังวลใจว่าเมื่อ ร.ฟ.ท.เก็บค่าเช่าใหม่ ทางเจ้าของแผงจะให้จ่ายเองหรือจะรับภาระแทน เพราะยังไม่ได้ตกลงกัน หากจ่ายเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกจาก 370 บาท/เดือน เป็น 3,157 บาท/เดือน เกือบ 10 เท่า แถมยังไม่รู้ว่าเจ้าของแผงจะปรับค่าเช่าเพิ่มอีกหรือเปล่า หลังจากปรับมาครั้งหนึ่งแล้วช่วงน้ำท่วม ตกเดือนละ 1,500 บาท

"ที่ขายมานานเพราะอาศัยว่าขายส่ง เป็นสินค้าที่เราออกแบบเอง มีลูกค้าต่างชาติและคนไทยที่มาซื้อประจำ แต่ตอนนี้ซบเซาไปมาก ต้องขายให้ได้วันละ 7,000 บาทถึงจะอยู่ได้ เมื่อก่อนรายได้ดีกว่านี้มาก สมัยยุคคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ขายได้วันละ 1 แสนบาท เพราะต่างชาติมาเดินเยอะมาก ทั้งญี่ปุ่น สิงคโปร์ เดี๋ยวนี้มีแต่ทัวร์ประหยัด เป็นคนตะวันออกกลางที่มาเดินดูแต่ไม่ค่อยซื้อ" แม่ค้ากระเป๋ากล่าวระบายความในใจ

ต่อสัญญาเช่า-เก็บเป็นมรดกลูก

ฟาก "พ่อค้าขายส่งเสื้อยืดวัยรุ่น" ในโซน 20 บอกว่า เช่าช่วงต่อจากเจ้าของแผงค้า จ่ายค่าเช่ารายเดือน 20,000 บาท ไม่รวมค่าเช่ารายเดือนที่จ่ายให้ กทม. ซึ่งผู้เช่าแผงผลักภาระมาให้จ่ายอีก 1,200 บาท/แผง/เดือน ค่าเช่าขายส่งคืนวันศุกร์ 200 บาท/ครั้ง ค่าเช่าแผงขายส่งช่วงเช้า 370 บาท/ครั้ง ค่าขนของ 40 บาท/รอบ ค่าที่จอดรถอีกต่างหาก

ปิดท้ายที่ "แม่ค้ากระเป๋าผ้า" ในโซน 24 บอกว่า เพิ่งเปิดร้านวันแรก ขายไม่ได้เลยสักใบ เพราะคนเดินมาไม่ถึงโซนนี้ แผงที่เปิดขายเป็นเจ้าของเอง แต่ก่อนหน้านี้ปล่อยให้คนอื่นเช่าเพราะมีร้านขายมือถืออยู่ที่มาบุญครองอยู่แล้ว แต่หลัง ๆ เศรษฐกิจไม่ค่อยดี คนที่มาเช่าแผงค้าขายไม่ได้ เลยตัดสินใจจะมาเปิดร้านขายเอง แม้ว่าค่าเช่าใหม่จะแพงขึ้น ยังไงจะต้องรักษาสิทธิการเช่าไว้ เพราะจะเก็บไว้ให้ลูกสาวมาหัดทำธุรกิจค้าขายที่นี่ร่วมกับเพื่อน ๆ และอาจจะต้องปรับการขายจากขายปลีกเป็นขายส่งแทน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 07-03-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.