| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 89 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-02-2555    อ่าน 1980
 AREA เบรกแตก แนะ "รื้อ-แก้" ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ / เก็บภาษี 10% อาคารขนาดใหญ่ในเมือง

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร AREA (ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส) เปิดเผยว่า จากการติดตามผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครฉบับที่กำลังร่างอยู่ในปัจจุบัน เมื่อประเมินแล้วพบว่าจะส่งผลร้ายต่อการพัฒนาเมืองเพราะไม่เปิดโอกาสให้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ใจกลางเมือง พยายามทำให้เมืองขยายตัวออกสู่รอบนอก เป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมและทำให้ต้นทุนการขยายสาธารณูปโภคออกนอกเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงขอเสนอแนวทางการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครดังนี้



1. ในพื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ บางรัก ยานนาวา ดุสิต พญาไท ห้วยขวาง พระโขนง ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ควรอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ โดยกำหนดสัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) เท่ากับ 10: 1 หรือก่อสร้างได้ 10 เท่าของขนาดที่ดิน



ทั้งนี้ ข้อกำหนดด้านพื้นที่ว่าง (Open Space Ratio) และพื้นที่สีเขียว ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร โดยไม่กำหนดให้พิเศษหรือแตกต่างจากพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อความไม่ซ้ำซ้อนในทางข้อกฎหมาย



2. ให้เก็บภาษีพิเศษสำหรับการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ใจกลางเมือง ให้เสียภาษีพิเศษเป็นมูลค่าประมาณ 10% ของราคาประเมิน เช่น อาคารห้องชุดหลังหนึ่ง มีราคาประเมินตามราคาตลาดเป็นเงิน 50,000 บาท ให้เก็บภาษี 10% เป็นเงิน 5,000 บาท เพื่อนำเงินภาษีนี้เข้ากองทุนพัฒนาสาธารณูปโภค ในเวลา 1 ปี หากมีพื้นที่ก่อสร้างใหม่ 1 ล้านตารางเมตร ณ ราคาตลาดที่ 30,000 บาทต่อตารางเมตร ก็จะเก็บภาษีได้ 3,000 บาท (10%) หรือเป็นเงินปีละ 3,000 ล้านบาท



3. กองทุนที่ได้จากภาษีเหล่านี้สามารถนำมาก่อสร้างสาธารณูปโภค เช่น รถไฟฟ้ามวลเบา ผ่านเข้าสู่ถนนหลายสายเช่น ถนนสุขุมวิท 3 (นานา เหนือ-ใต้) ถนนสุขุมวิท 49 ถนนสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ถนนสุขุมวิท 63 ถนนสุขุมวิท 71 ถนนพระรามที่ 1ถนนพระรามที่ 4 ช่วงคลองเตย-กล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 9 ถนนเจริญกรุง (สาทร-ถนนตก) ถนนจันทน์ ถนนลาดพร้าว ถนนรามคำแหง ถนนสามเสน ถนนเจริญกรุง ฯลฯ

"เชื่อว่าหากให้เจ้าของทรัพย์สินบนถนนเหล่านี้ร่วมลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม เจ้าของทรัพย์สินเหล่านี้คงยินดีเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างยิ่ง"



4. ก่อนการวางผังเมือง รัฐบาลควรให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคทั้งหลายมาร่วมวางผังเมืองฉบับนี้ และถือเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาสาธารณูปโภคของหน่วยงานเหล่านี้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ใช่ให้กรุงเทพมหานครวางผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและไม่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเช่นทุกวันนี้



สำหรับแนวเวนคืน ยังควรจัดทำแนวที่ชัดเจน ไม่ใช่แนวที่วางผังไว้คร่าว ๆ โดยมีเขตพื้นที่สำรวจกว้างนับ 1,000 เมตร ทั้งที่ขนาดถนนมีขนาดเพียง 30-100 เมตรเท่านั้น เพราะจะทำให้เจ้าของที่ดินในแนวดังกล่าวเสียโอกาสในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ถือเป็นการรอนสิทธิ์



5. ผังเมืองควรมีการวางสวนสาธารณะต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครให้ชัดเจน จะสังเกตได้ว่าในเขตใจกลางเมือง รวมทั้งเขตต่อเมือง ไม่มีการกำหนดหรือการจัดหาพื้นที่ทำสวนสาธารณะแต่อย่างใด



ส่วนในเขตรอบนอกกลับจะมีแผนซื้อที่ดินเพื่อสร้างสวนสาธารณะทั้งที่ไม่จำเป็นเพราะอยู่ในเขตที่มีต้นไม้เป็นจำนวนมากตามธรรมชาติอยู่แล้ว ผังเมืองควรกำหนดให้มีพื้นที่สวนสาธารณะขนาดเล็ก ประมาณ 1-5 ไร่ จำนวนประมาณ 3-5 บริเวณในทุก ๆ แขวงของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเขตพื้นที่ชั้นใน โดยซื้อที่ดิน รับบริจาคที่ดิน หรือใช้ที่ดินราชพัสดุ ตลอดจนการเช่าที่ศาสนสถานต่าง ๆ เป็นต้น



"ผังเมืองฉบับที่กำลังร่างอยู่ในปัจจุบัน มีข้อจำกัดและมีข้อที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงมาก โดยเฉพาะการห้ามก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษในแทบทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลควรทำให้เมืองมีความแออัดในเขตชั้นในเพื่อการบริการและควบคุมที่ดีขึ้น และไม่ไปรุกที่เกษตรกรรมรอบนอก การผังเมืองที่ดีต้องเน้นความหนาแน่นของเมือง แต่ไม่แออัด เช่นกรณีตัวอย่างสิงคโปร์ที่ได้ชื่อว่าเป็น Garden City ทั้งที่สิงคโปร์มีความหนาแน่นของประชากรเกินกว่า 2 เท่าของกรุงเทพมหานคร เพราะเมืองขยายออกในแนวตั้งแทนแนวราบนั่นเอง"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 22-02-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.