| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 76 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 11-02-2555    อ่าน 1921
 ลูกค้า"ไอดีโอคิวพญาไท"ฟ้องสคบ. เช็กบิลฐานเปิดช่องโหว่แจก"กรรมสิทธิ์ที่จอดรถ"

"อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์" เจอของแข็ง เจ้าของร่วมคอนโดฯแบรนด์ "ไอดีโอ คิว พญาไท" เช็กบิลร้องเรียน สคบ. เหตุเปิดช่องโหว่ระบุให้กรรมสิทธิ์ที่จอดรถสำหรับลูกค้าซื้อห้องชุดแบบ 2 นอน ราคา 8-9 ล้านบาท แต่ของจริงทำผิดสัญญาผู้บริหาร "อนันดาฯ" แจงตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาแล้ว เตรียมสรุปผลเสนอบอร์ดรับทราบ ด้าน "สคบ." ยืนข้างผู้บริโภค ชี้หากผู้ประกอบการผิดสัญญาจริง พร้อมเรียกไกล่เกลี่ย-ส่งฟ้องศาล



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้รับการร้องเรียนจากเจ้าของร่วมที่พักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมโครงการ "ไอดีโอ คิว พญาไท" ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด เนื่องจากไม่ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่เจ้าของโครงการได้โฆษณาไว้เมื่อเปิดขายโครงการ โดยทางโครงการไม่ทำตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย เรื่องที่จอดรถประจำที่ในสัญญาระบุไว้

โครงการนี้ได้จัดให้มีที่จอดรถจำนวน 391 คัน (รวมจอดซ้อนคัน) แยกเป็นที่จอดแบบตีช่อง (รวมชั้น G) 285 คัน และ 106 คันจอดแบบซ้อนคัน ปรากฏว่าปัจจุบันทางเดินรถแต่ละชั้นค่อนข้างแคบ ทำให้ไม่สามารถจอดซ้อนคันได้ ทำให้พื้นที่จอดรถไม่เพียงพอกับผู้อยู่อาศัยที่มีจำนวน 446 ยูนิต ส่งผลกระทบต่อเนื่อง เกิดความไม่เป็นระเบียบภายในโครงการ ต้องแย่งที่จอดรถ ทั้งที่ราคาห้องชุดตก 8-9 ล้านบาท/ยูนิต

"ตอนเปิดขาย เจ้าของโครงการบอกว่าหากซื้อห้องใหญ่จะได้สิทธิ์ที่จอดประจำ โดยแบบ 2 ห้องนอนจะได้กรรมสิทธิ์ที่จอดรถ 2 คัน แบบจอดประจำ 1 คัน และไม่ประจำ 1 คัน แบบ 1 ห้องนอนและดูเพล็กซ์จะได้สิทธิ์จอดรถแบบไม่ประจำ 1 คัน แต่พอเข้ามาอยู่อาศัยจริง ๆ ไม่เป็นอย่างที่บอกไว้แต่แรก เพราะเจ้าของโครงการนำพื้นที่ส่วนนี้ไปจดเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง ทำให้สิทธิ์ที่จอดรถไม่ได้ปรากฏอยู่ในโฉนดที่รับโอนห้องชุดแล้ว ผลที่ตามมาผู้ซื้อห้องใหญ่ได้สิทธิ์จอดแบบไม่ถาวรหรือแบบไม่ประจำ เกรงว่าจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตได้ เพราะทั้งโครงการมีที่จอดรถประจำแค่ 130 คันเท่านั้น" แหล่งข่าวเจ้าของร่วมโครงการไอดีโอกล่าวและว่า

ก่อนหน้านี้ได้หารือนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อหารือร่วมกับเจ้าของโครงการเพื่อหาข้อยุติ แต่เวลาผ่านมา 1 ปีเศษ ยังไม่มีอะไรคืบหน้า เจ้าของร่วม (ผู้พักอาศัยในคอนโดฯ) จึงได้รวมตัวกันไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดังกล่าว

"1 ปีเศษที่มีความพยายามจะหาข้อยุติร่วมกัน ตัวแทนเจ้าของโครงการยอมรับว่าเรื่องที่จอดรถเขาพลาดไป..." แหล่งข่าวกล่าว

"ไอดีโอ" แจงกำลังแก้ไข

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามผู้บริหารบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ถึงประเด็นการร้องเรียนดังกล่าว และได้รับคำชี้แจงว่า ผู้ที่มาเรียกร้องเป็นกลุ่มลูกบ้านบางส่วน บริษัทได้รับทราบข้อเรียกร้องและจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อประมวลผลและหาแนวทางตอบสนองข้อเรียกร้องนั้นแล้ว และอยู่ระหว่างสรุปผลเพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารของบริษัทรับทราบ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้เรียกร้องประสงค์ที่จะให้บริษัทดำเนินการตามข้อเรียกร้องโดยเร็ว และกำหนดกรอบระยะเวลาให้บริษัทต้องปฏิบัติในระยะเวลาสั้นหรือภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งเกินกว่าที่จะดำเนินการได้ทัน ทำให้กลุ่มผู้เรียกร้องไม่พอใจ

ทั้งนี้บริษัทขอยืนยันและแสดงความจริงใจว่าไม่เคยละเลยหรือหลีกหนี อีกทั้งพยายามสุดความสามารถในการตอบสนองข้อเรียกร้องต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของบริษัท ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่บริษัทยึดถือในการดำเนินธุรกิจมาตลอด

สคบ.แนะทางออก

ร้อยตรีไพโรจน์ คนึงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สคบ. กล่าวว่า กรณีนี้ผู้บริโภคสามารถมาร้องเรียนกับ สคบ.ได้ นำหลักฐาน 1)เอกสารแสดงโฆษณาจำนวนที่จอดรถที่ระบุไว้ในช่วงที่ขายห้องชุด 2)เอกสารแสดงจำนวนที่จอดรถจริงในปัจจุบัน ซึ่งสามารถขอได้จากสำนักงานที่ดินที่รับผิดชอบพื้นที่โครงการ

เมื่อรับเรื่องและ สคบ.พิจารณาแล้วว่าเข้าข่ายละเมิดสัญญาจริง ก็จะเรียก ผู้ยื่นคำร้อง ผู้ประกอบการ และผู้แทนสำนักงานที่ดิน มาไกล่เกลี่ย หากไม่สามารถตกลงกันได้ สคบ.จะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การส่งฟ้องศาลแพ่งต่อไป

"ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องสิทธิ์ให้ ผู้ประกอบการปรับพื้นที่ว่างภายในโครงการมาเป็นที่จอดรถให้ทดแทน หรืออาจเรียกร้องค่าใช้จ่ายชดเชยตามสมควรกรณีที่ต้องไปเช่าที่จอดรถในบริเวณอื่น ซึ่งที่ผ่านมา สคบ.เคยได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะนี้บ้าง และสามารถตกลงกันได้ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ย" ร้อยตรีไพโรจน์กล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 11-02-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.