| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 54 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-02-2555    อ่าน 1932
 กทม.งัดข้อเพื่อไทยลุยรัฐสภาใหม่ ไม่สนจะย้ายไปสระบุรี-เดินหน้าสะพานเกียกกาย

กทม.เปิดเกมงัดข้อรัฐบาลเพื่อไทย ยืนยันเดินหน้าผุดสะพานข้ามเจ้าพระยาเกียกกายกับถนนต่อเชื่อม วงเงินลงทุน 1.6 หมื่นล้านบาท ไม่หวั่นรัฐบาลมีแนวคิดย้ายพื้นที่สร้างอาคารรัฐสภาใหม่ไปสระบุรี เตรียมชงผู้บริหารขอจัดสรรงบประมาณปี 2556 นำร่องตอกเข็มสร้างสะพานกว่า 6.8 พันล้านบาท คาดใช้เวลาสร้าง 5 ปี ส่วนถนนต่อเชื่อม 9.1 พันล้านบาท จะเป็นแผนขอจัดสรรงบฯลงทุนต่อเนื่อง



นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กทม.จะเดินหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกายต่อไป แม้ล่าสุดจะมีกระแสข่าวออกมาว่า ทางนายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.จังหวัดชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างมีแนวคิดจะย้ายพื้นที่ก่อสร้างโครงการจากบริเวณเกียกกายไปยัง จ.สระบุรี ก็ตาม

"โครงการสะพานเราศึกษาก่อนที่รัฐบาลมีแผนจะสร้างรัฐสภาใหม่ และหากสร้างเสร็จยังเป็นประโยชน์ต่อการจราจรพื้นที่โดยรอบรัฐสภาแห่งใหม่ให้มีการเดินทางที่สะดวกยิ่งขึ้น"

นายจุมพลกล่าวต่อว่า ปัจจุบันโครงการได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาภายใต้รัฐบาลชุดที่แล้ว โดยให้สร้างเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากเดิมรัฐสภามีแนวคิดให้ปรับรูปแบบการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาแทน เนื่องจากเกรงว่ารูปแบบสะพานจะบดบังทัศนียภาพและเกิดความไม่ปลอดภัยได้ แต่ได้ชี้แจงแล้วว่าสะพานที่ออกแบบไว้ไม่ได้สูงเกินจากอาคารรัฐสภาใหม่ อยู่ในระดับชั้น 2 ของอาคารเท่านั้น เรื่องนี้ในที่สุดได้มีการประชุมและหารือร่วมกันจนได้ข้อสรุปแล้วว่าจะสร้างเป็นสะพานเหมือนเดิม

"รัฐสภาให้ กทม.ประสานรูปแบบกับบริษัทที่ปรึกษาคุมงานก่อสร้างเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงกองทัพ เพราะ กทม.จะต้องใช้พื้นที่ของทหารบางส่วนมาก่อสร้าง คาดว่าจะมีการประชุมในเร็ว ๆ นี้"

นายจุมพลกล่าวอีกว่า ในขณะนี้ กทม.ยังไม่ได้ตั้งงบประมาณก่อสร้าง เพราะเป็นโครงการที่มีวงเงินลงทุนสูง อาจจะต้องให้รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างบางส่วน คาดว่าจะเริ่มขอตั้งงบประมาณมาก่อสร้างได้ในปีงบประมาณ 2556 โดยแผนดำเนินการในปี 2555 ทั้งปีจะเป็นเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป หลังจากที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างแล้ว

ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการมีการศึกษาความเหมาะสมและแบบรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากเคลียร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสร็จ จะนำเสนอโครงการให้ผู้บริหาร กทม.อนุมัติ เพื่อดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างต่อไป จากทั้งโครงการมีวงเงินลงทุนประมาณ 16,000 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการ ในส่วนของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก่อน รวมค่าก่อสร้างและค่าชดเชยที่ดินอยู่ที่ 6,890 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน 5 ปี

ส่วนถนนต่อเชื่อม 5 สายทาง วงเงิน 9,110 ล้านบาท จะเริ่มทยอยเวนคืนและดำเนินการปรับปรุงขยายถนนเดิมและสร้างเพิ่มใหม่ เนื่องจากมีการเวนคืนที่ดินจำนวนมาก อาจจะต้องใช้เวลามากพอสมควร

สำหรับรายละเอียดเนื้องานก่อสร้างสะพาน แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ 1) ทางยกระดับ 4 ช่องจราจร และปรับปรุงถนนในฝั่งธนฯ งบประมาณแบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 780 ล้านบาท เวนคืน 1,925 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 1,450 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างเอกชน 475 ล้านบาท 2) สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 6 ช่องจราจร รวมทางขึ้น-ลง ค่าก่อสร้าง 790 ล้านบาท เวนคืน 140 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 100 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างเอกชน 40 ล้านบาท

3) ทางยกระดับและปรับปรุงถนนฝั่งพระนคร จากแม่น้ำเจ้าพระยา-ถึงแยกสะพานแดง ค่าก่อสร้าง 850 ล้านบาท เวนคืน 1,565 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 50 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างเอกชน 15 ล้านบาท และค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างที่ราชพัสดุของทหาร และราชการอื่น ๆ 1,500 ล้านบาท 4) ทางยกระดับ และปรับปรุงถนนฝั่งพระนคร จากแยกสะพานแดง-ถนนกำแพงเพชร ค่าก่อสร้าง 770 ล้านบาท เวนคืน 70 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 50 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างเอกชน 20 ล้านบาท

ส่วนถนนต่อเชื่อม 5 สาย ได้แก่ 1) ขยายถนนสามเสนและถนนประชา ราษฎร์สาย 1 เป็น 8 ช่องจราจร วงเงิน 1,940 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 300 ล้านบาท เวนคืน 1,600 ล้านบาท 2) ก่อสร้างถนนคู่ขนานถนนสามเสน วงเงิน 2,280 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 1,360 ล้านบาท เวนคืน 1,500 ล้านบาท มีงานก่อสร้างถนนใหม่จากแยกเตาปูนเชื่อมกับถนนพิชัย บริเวณจุดตัดถนนอำนวยสงคราม ขนาด 6 ช่องจราจร ยาว 2.7 กิโลเมตร งานปรับปรุงทางแยกเตาปูน บริเวณจุดตัดถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี กับถนนประชาราษฎร์สาย 2 ทางลอดแนวถนนใหม่ ขนาด 4 ช่องจราจร

3) ถนนเชื่อมถนนประชาชื่นกับถนนพระรามที่ 6 วงเงิน 1,150 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 760 ล้านบาท ค่าเวนคืน 370 ล้านบาท เป็นถนนตัดใหม่ ขนาด 6 ช่องจราจร จากถนนประชาชื่นตัดกับถนนประชาราษฎร์สาย 2 ไปยังถนนพระรามที่ 6 ระยะทาง 1.75 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 420 ล้านบาท

สร้างสะพานข้ามแยกประชาชื่นตัดกับถนนประชาราษฎร์สาย 2 ขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 450 เมตร งบฯก่อสร้าง 170 ล้านบาท ก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกตัดกับถนนเตชะวณิช ขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 450 เมตร งบฯก่อสร้าง 170 ล้านบาท

4) ก่อสร้างถนนเลียบคลองเปรมประชากร จากถนนเตชะวณิช-ถนนรัชดาฯ วงเงิน 2,120 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 900 ล้านบาท เวนคืน 1,200 ล้านบาท และ 5) ขยายถนนเทอดดำริห์ จากถนนอำนวยสงคราม-ถนนประชา ราษฎร์สาย 2 วงเงิน 1,020 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 600 ล้านบาท เวนคืน 400 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 06-02-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.