| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 54 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-01-2555    อ่าน 1982
 เปิด 10 พื้นที่แก้มลิง "อยุธยา"แจ็กพอต รับน้ำช่วยคนกรุง

เปิดพื้นที่แก้มลิง 10 แห่งรับน้ำนองจากแผนรับมือน้ำท่วมระยะสั้นปี 2555 นครสวรรค์-พิจิตร-อ่างทอง-พระนครศรีอยุธยา ใช้ทั้งบึง-พื้นที่นารองรับ เตรียมคำนวณชดเชยค่าเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นกรณีพิเศษ ด้านกรุงเทพฯเสนอเจาะอุโมงค์ทะลุ 8 คลองเร่งระบายน้ำไหลผ่าน


รายงานข่าวจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการกำหนดพื้นที่รับน้ำนอง (แก้มลิงขนาดใหญ่) ตามแผนงานกำหนดพื้นที่รับน้ำนองและมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้พื้นที่เพื่อการรับน้ำ ตามแผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน (แผนระยะยาว) จะมีการกำหนดพื้นที่รับน้ำนองในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก โดยมีวัตถุประสงค์ลดปริมาณน้ำไหลผ่านกรุงเทพฯ/ปริมณฑลให้อยู่ในปริมาณที่บริหารจัดการได้ (ไม่เกิน 3,000 ลบ.ม./วินาที)

โดยพื้นที่รับน้ำนองในเขตเจ้าพระยาตอนบน จะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ หรือแก้มลิงขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ บึงบอระเพ็ด-ชุมแสง, ชุมแสง-เก้าเลี้ยว-อำเภอเมืองนครสวรรค์, ตะพานหิน-บางมูลนาก-โพทะเล, อำเภอเมืองพิจิตร-อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอบางกระทุ่ม กับพื้นที่รับน้ำนองในเขตเจ้าพระยาตอนล่าง จะมีแก้มลิงขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่งเช่นกันในพื้นที่บางบาล 1 ป่าโมกข์-ผักไห่ ผักไห่-บางยี่หน, บางบาล 2 ดอนพุด-มหาราช, ภูเขาทอง-บางปะหัน, ไชโย-บ้านแพรก และอ่างทองฝั่งตะวันตก

ในพื้นที่แก้มลิงทั้ง 10 แห่งนี้ จะมีการจัดทำแผนการผันน้ำ ด้วยการปรับระบบการเพาะปลูกพืชให้มีระยะเวลาที่สอดคล้องกับการทิ้งน้ำที่จะ "ล้นเกิน" จากแม่น้ำเจ้าพระยากรณีน้ำมากผิดปกติ พร้อมกับตั้งงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการชดเชยความเสียหายให้กับประชาชนในพื้นที่แก้มลิง

"จะต้องกำหนดมาตรการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพราะพื้นที่แก้มลิงเหล่านี้จะกลายเป็นพื้นที่รับน้ำนอง โดยจะชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากช่วงน้ำท่วม ไม่ใช่การชดเชยส่วนต่าง พร้อมกับสนับสนุนปัจจัยการผลิตและการตลาดหลังน้ำลดให้กับเกษตรกรด้วย"

ด้าน ม.ร.ว.เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรงเช่นเดียวกับหลายจังหวัดในภาคกลางและปริมณฑล คณะที่ปรึกษาด้านผังเมือง กทม.จึงแนะนำให้สำนักผังเมืองกับสำนักการระบายน้ำร่วมหารือกันเกี่ยวกับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมยั่งยืนในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้ยื่นข้อเสนอแนะให้ กทม.ปรับปรุงแนวคลองสายหลักที่อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 8 คลอง ด้วยการเจาะอุโมงค์ลอดทะลุคลองให้เชื่อมต่อกันได้ และขยายคลองเดิมให้กว้างขึ้น เพื่อให้การไหลของน้ำเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย ทั้งในพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออกและตะวันตกได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย

1) ฝั่งธนบุรี เจาะคลองทวีวัฒนาเชื่อมทะลุกับคลองเลนเปน 2) ฝั่งธนบุรีด้านตะวันตก เจาะคลองบัวเชื่อมคลองพระยาราชมนตรี 3) ฝั่งตะวันออก เจาะคลองพระยาสุเรนทร์เชื่อมคลองบางชัน และ 4) ฝั่งตะวันออก เจาะคลองสามวาเชื่อมกับคลองสาม

"วิธีการคือ ทำให้คลอง 2 ช่วงต่อเชื่อมกัน จะเป็นรูปแบบอุโมงค์ใต้ดินก็ได้ เพื่อรับน้ำให้ไหลสะดวกมากขึ้น อาจจะต้องมีการเวนคืนที่ดิน โดยจะขอความร่วมมือจากการเคหะแห่งชาติ หาที่อยู่อาศัยรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ หากได้ข้อสรุปชัดเจนจะสำรวจพื้นที่จริงอีกครั้งว่าทั้ง 8 คลองนี้จะเวนคืนส่วนไหนบ้าง ต้องใช้งบประมาณในการเวนคืนเท่าไหร่"

ส่วนมาตรการอื่น ๆ ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาเพิ่มเติม เนื่องจากในผังเมืองรวมฉบับใหม่นั้นได้มีการกำหนดพื้นที่รับน้ำ (ฟลัดเวย์) ไว้แล้ว เช่น พื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันออกและตะวันตก ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่เขียวลายขาวสำหรับการเกษตรกรรมเป็นหลัก ส่วนพื้นที่ฟลัดเวย์ ตามนโยบายของรัฐบาลน่าจะอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 19-01-2555 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.