| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 78 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-12-2554    อ่าน 11189
 AREA แนะรัฐลงทุนสร้างฟลัดเวย์-ถนนยกระดับออกชานเมือง-ขุดลอกคูคลอง-ทำผังเมืองบูรณาการแก้น้ำท่วมยั่งยืน

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA ระบุว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา หลายฝ่ายรวมทั้งรัฐบาลได้นำเสนอแนวคิดการสร้างฟลัดเวย์ ทาง AREA นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. เนื่องจากในบางปีโดยเฉาะปี พ.ศ.2554 นี้ มีปริมาณน้ำมากจนแม่น้ำและคูคลองระบายน้ำไม่ทัน จึงมีข้อเสนอให้สร้างแม่น้ำเจ้าพระยาสอง หรือการสร้างฟลัดเวย์ (Flood Way หรือ Water Way) มาระบายน้ำ อย่างไรก็ตามประเด็นที่พึงพิจารณาก็คือคูคลองต่าง ๆ ขาดการขุดลอก บำรุงรักษาและติดตั้งระบบระบายน้ำ จึงทำให้ประสิทธิภาพการระบายน้ำต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วย



ทั้งนี้ อุปสรรคของการลงทุนก่อสร้างฟลัดเวย์ เพราะติดขัดปัญหาการเวนคืนซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง และประชาชนไม่ยินยอม



2.การที่มีน้ำมากและระบายลงสู่ทะเลอาจเป็นการสูญเสียทรัพยากรน้ำไปอย่างน่าเสียดาย ทางออกหนึ่งก็คือเสนอให้มีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพิ่มเติมเพื่อการใช้ประโยชน์ในเวลาต่อมา แน่นอนว่าปัญหานี้ติดขัดที่การคัดค้านของกลุ่มหรือขบวนการเอ็นจีโอจำนวนหนึ่ง อาจแก้ไขได้ด้วยการจ่ายค่าทดแทนที่เป็นธรรมและการทำประชามติกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง



3.การสร้างฟลัดเวย์ ขุดลอกคูคลอง สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ แก้มลิง และอื่น ๆ ก็ยังอาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะในเขตเมือง เพราะน้ำยังเอ่อท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ การสร้างเขื่อนริมฝั่งแม่น้ำจึงเป็นอีกทางออกหนึ่ง โดยออกแบบให้เป็นเขื่อนสูงขนาด 5 เมตร มีถนนอยู่ด้านบนด้วย หรืออาจต้องมีฐานกว้างประมาณ 20-40 เมตร เขื่อนนี้ยังสามารถใช้เป็นถนนหรือเป็นแนวสวนสาธารณะตลอดแนว เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง



4.แนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้น จะยังขาดประสิทธิภาพ หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุน ดังนั้นเสนอให้มีโครงการขนาดมหึมาในการสร้างเขื่อนกั้นอ่าวไทย ตั้งแต่แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน เขื่อนนี้อาจเหมือนประเทศในยุโรปที่สามารถเปิดปิดได้ แม้การก่อสร้างจะใช้เงินมหาศาล แต่ก็คุ้มค่าหากสามารถแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และยังอาจคืนทุนด้วยการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย



5.ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ พบว่าไม่ได้มีประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม ผังเมืองปริมณฑลก็หมดอายุ หรือไม่ได้ประสานกับส่วนอื่น ๆ ทำให้เมืองขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดทำผังเมืองแบบบูรณาการเพื่อประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน



6.เสนอให้มีการสร้าง "ถนนยกระดับ" ออกไปสู่ชานเมือง จะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่กำลังอยู่อาศัยในย่านชานเมือง ประหยัดน้ำมันและค่าใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของเมืองได้รับการเชื่อมต่อ แม้ในภาวะน้ำท่วมก็ยังสามารถใช้สัญจรและขนส่งสินค้าได้ รัฐบาลและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจึงควรดำเนินการ



ทั้งนี้ รัฐบาลควรให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเวนคืนเพื่อการก่อสร้างสาธาณูปโภคป้องกันน้ำท่วม ว่าเป็นความจำเป็นของประเทศชาติและส่วนรวม โดยให้ผู้ถูกเวนคืนที่ได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสม รวดเร็ว และช่วยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบตามสมควร ในขณะเดียวกันจะให้ฝ่ายใดมาอ้างสิทธิส่วนตน สิทธิชุมชนเพื่อกีดขวางการเวนคืนเพื่อส่วนรวมไม่ได้ ทุกฝ่ายควรยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-12-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.