| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-10-2554    อ่าน 11010
 พิษน้ำท่วมเล็งปิดถนนซ่อมยาว1ปี 15จังหวัด900สายทาง-เดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ป่วน

น้ำท่วมทำพิษถนนสายหลัก-สายรองทั่วประเทศเสียหายยับนับ 800-900 สายทาง ส่งผลการเดินทาง "ขึ้นเหนือ-ล่องใต้" ชะงักยาว กรมทางหลวง-กรมทางหลวงชนบทชี้ ถนนทุกสายใช้เวลากู้อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี กว่าจะคืนสู่สภาพเดิม เผยต้องรออีก 2 เดือนประเมินสภาพความเสียหายหลังน้ำลด เตรียมจัดลำดับความสำคัญแต่ละเส้นทางใหม่ ชงรัฐบาลพิจารณาจัดงบฯฟื้นฟูถาวร


นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน ส่งผลให้เส้นทางการจราจรถูกน้ำทะลักเข้าท่วมจนไม่สามารถสัญจรไปตามปกติ ในพื้นที่ 21 จังหวัด จำนวน 116 สายทาง (วันที่ 20 ต.ค. 2554) คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 5,200 ล้านบาท โดยมีเส้นทางที่ยังผ่านไม่ได้ 79 สายทางในพื้นที่ 15 จังหวัด ให้ผู้ใช้ทางหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทนเป็นการชั่วคราว จนกว่าน้ำจะลดลงและการซ่อมแซมถนนจะแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ ยังไม่รวมกับสถานการณ์ที่สะสมมาตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม-19 ตุลาคม โดยถนนของกรมทาง หลวงถูกน้ำท่วม 64 จังหวัด 557 สายทาง มีพื้นที่เสียหาย 2,741 แห่ง เมื่อแยกเป็นรายภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ 16 จังหวัด 214 สายทาง มีพื้นที่เสียหาย 1,339 แห่ง ระยะทาง 1,433.07 กิโลเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 จังหวัด 141 สายทาง มีพื้นที่ความเสียหาย 444 แห่ง ระยะทาง 369.53 กิโลเมตร ภาคกลาง 18 จังหวัด 172 สายทาง พื้นที่ความเสียหาย 840 แห่ง ระยะทาง 886.82 กิโลเมตร และภาคใต้ 9 จังหวัด 30 สายทาง พื้นที่ความเสียหาย 118 แห่ง ระยะทาง 82.76 กิโลเมตร

หลังน้ำท่วมเล็งปิดถนนยาว

"คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการกู้ถนนแต่ละสายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ตามขั้นตอนต้องรอให้น้ำลดก่อน คาดวˆาต‰องใช‰เวลาอีกประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นถึงจะประเมินได‰ว่าแต่ละเส้นทางจะใช้เวลากี่เดือนในการซ่อมแซมบูรณะให้สามารถเดินทางไปได้ เพราะทางรัฐบาลเองก็เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการในบางสายทางที่สำคัญของแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้การเดินทางเชื่อมระหว่างเมืองและจังหวัดได้ ซึ่งกรมจะต้องทำแผนฟื้นฟูโดยจัดลำดับความสำคัญของถนนแต่ละสายทางใหม่ เสนอให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป คาดว่าจะเสนอแผนการกู้เส้นถนนวงแหวนรอบนอกและพหลโยธินที่เป็นหัวใจหลักในตอนนี้"

นายวันชัยกล่าวต่อว่า จากการประเมินเบื้องต้น สำหรับถนนที่เสียหายไม่มากจะใช้เวลาซ่อมแซมไม่มาก เพื่อให้สัญจรไปได้ก่อนเป็นการชั่วคราว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน แต่หากเสียหายมาก เช่น มีสะพานขาด เป็นต้น จะต้องออกแบบและตอกเสาเข็มใหม่ อาจจะต้องใช้เวลาบูรณะซ่อมแซมอย่างน้อยประมาณ 6-8 เดือน หรืออาจจะถึง 1 ปี หากมีบางสายเสียหายหนัก

โพย 15 จังหวัดพื้นที่ประสบภัย

สำหรับพื้นที่ 15 จังหวัดที่ถนนผ่านไม่ได้ ประกอบด้วย 1) จังหวัดพิจิตร อาทิ สายบางมูลนาก-โพทะเล, วังจิก-ไผ่ท่าโพ, โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก, ตะพานหิน-บางมูลนาก, วังสำโรง-บางลาย 2) จังหวัดพิษณุโลก อาทิ สายท่าช้าง-พรหมพิรามและทับยายเชียง-พรหมพิราม 3) จังหวัดนครสวรรค์ อาทิ สะพานเดชาติวงค์-นครสวรรค์, นครสวรรค์-พิจิตร, เลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก, เลี่ยงเมืองชุมแสง, นครสวรรค์-เทศบาลเมืองชุมแสง, หนองเบน-ลาดยาว, ป่าแดง-บรรพตพิสัย, นครสวรรค์-บรรพตพิสัย, อุทัยธานี-ลาดยาว, โกรกพระ-อุทัยธานี, ทับกฤช-พนมรอก, แยกเข้าพยุหะคีรี

4) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาทิ สายประตูน้ำพระอินทร์-วังน้อย-หนองแค, บางปะอิน-นครหลวง, นครหลวง-อ่างทอง, นครปฐม-กำแพงแสน, บางเลน-บางปะอิน, วังน้อย-อยุธยา, บางปะหัน-สุพรรณบุรี, บางปะอิน-เจ้าปลุก, เจ้าปลุก-บางปะหัน, แยกต่างระดับวังน้อย-หนองแค, บ้านหว้า-ปากกราน, แยกไปอำเภอนครหลวง, มหาราช-บ้านแพรก, อยุธยา-บ้านสาลี, อ่างทอง-อยุธยา, บางบาล-ผักไห่, ผักไห่-เสนา, โพธิ์ทอง-หน้าโคก, นครหลวง-ท่าเรือ, อยุธยา-บางปะอิน, บางปะอิน-อยุธยา

5) จังหวัดสิงห์บุรี อาทิ สายอินทร์บุรี-ตากฟ้า, สิงห์บุรี-ชัยนาท, สิงห์บุรี-บางระจัน, บางงา-บ้านหมี่, บางงา-พรหมบุรี 6) จังหวัดลพบุรี อาทิ เลี่ยงเมืองลพบุรี, ลพบุรี-สิงห์บุรี, บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล, ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น 7) จังหวัดชัยนาท อาทิ แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท, ชัยนาท-วัดสิงห์, วัดสิงห์-หนองมะโมง, ชัยนาท-ท่าหาด

8) จังหวัดปทุมธานี อาทิ ลาดหลุมแก้ว-ต่างระดับบางปะอิน, ทางแยกต่างระดับบางปะอิน-คลองระพีพัฒน์ (วงแหวนตะวันออก), บางพูน-ปทุมธานี, ลาดหลุมแก้ว-ระแหง, ปทุมธานี-สามโคก, คลองหนึ่ง-บ้านพร้าว, ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-บางไทร-สามโคก, ชุมชนท้องถิ่นเลียบทางรถไฟสายเหนือ 9) จังหวัดอุทัยธานี อาทิ สายอุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง, เลี่ยงเมืองอุทัยธานี, อุทัยธานี-มโนรมย์

10) จังหวัดสระบุรี อาทิ สายหน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์, หนองแค-หนองเสือ, ทางแยกเข้าวัดสหมิตรมงคล 11) จังหวัดสุพรรณบุรี อาทิ สายสาลี่-สุพรรณบุรี, ลาดบัวหลวง-บางปลาม้า, อ่างทอง-สุพรรณบุรี, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ-โพธิ์พระยา 12) จังหวัดนนทบุรี อาทิ สายบางบัวทอง (หน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี)-ปทุมธานี, นครปฐม-กำแพงแสน, บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง, สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง, ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี, บางกรวย-ราษฎร์นิยม 13) จังหวัดอ่างทอง มีสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง 14) จังหวัดปราจีนบุรี มีสายบ้านสร้าง-นครนายก, ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง และ 15) จังหวัดมหาสารคาม มีสายกู่ทอง-บ้านเขื่อน

ทางหลวงชนบท 807 สายทาง

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันถนนของกรมที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ (20 ต.ค.) มีจำนวน 807 สายทาง มูลค่าความเสียหาย 5,960 ล้านบาท แยกเป็นภาคเหนือ 254 สายทาง ความเสียหาย 2,220 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 243 สายทาง ความเสียหาย 1,494 ล้านบาท ภาคกลาง 264 สายทาง ความเสียหาย 1,993 ล้านบาท และภาคใต้ 46 สายทาง ความเสียหาย 252 ล้านบาท

"กรมจะจัดลำดับความสำคัญของถนนแต่ละสายทาง แต่ละพื้นที่ว่าควรจะเร่งซ่อมแซมเส้นทางไหนให้สามารถใช้สัญจรไปก่อนอีก 1-2 เดือนถึงจะประเมินได้ เพราะถนนที่เสียหายมีเพิ่มขึ้นทุกวันตามมวลน้ำที่ขยายวงกว้างไปหลายพื้นที่"

นายชาติชายกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ถนนของกรมไม่ใช่สายหลักอย่างของกรมทางหลวง อาจจะใช้เวลาไม่นาน หากเส้นทางนั้นมีความเสียหายไม่มาก อาจจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วันและ 2-3 สัปดาห์ พอแค่ให้สามารถผ่านไปได้ แต่หากเส้นทางไหนที่เสียหายหนักอาจจะใช้เวลาซ่อมแซมอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายของแต่ละพื้นที่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 22-10-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.