| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 119 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-10-2554    อ่าน 11305
 หอไตรฯวัดเทพธิดารามฯสถาปัตยกรรมไทยคว้ารางวัล "ยูเนสโก"

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัวย่อ "ASA" กำลังมีข่าวดีจากการที่มีผลงานในนามสมาคมไปคว้ารางวัลระดับโลกจากยูเนสโก เรากำลังพูดถึงรางวัล "UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards" สำหรับโครงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมประจำปี 2554

ผลงานที่ส่งประกวดคือ "หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดารามวรวิหาร" ทางยูเนสโกแยกเป็น 4 ประเภท 4 รางวัล โดยรางวัลที่ประเทศไทยคว้ามาได้คือ "รางวัลแห่งคุณค่าที่น่ายกย่อง" (Award of Merit)

จากหอไตร สู่หอไตร

ก่อนหน้านี้สมาคมสถาปนิกฯเคยทำผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก หรือ "หอไตร" ที่วัดระฆังโฆสิตารามมาแล้ว แต่นั่นคือเมื่อปี 2513 หรือกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ล่าสุด "พี่แจ็ค-ทวีจิตร จันทรสาขา" นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯคนปัจจุบัน เล็งเห็นว่า น่าจะมีโครงการที่สามารถเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ดีอย่าง เป็นรูปธรรม เพื่อแสดงบทบาทของวิชาชีพสถาปนิกที่มีต่อสังคมได้อีกครั้ง

โปรเจ็กต์ใหม่มอบหมายให้ "อ.ตุ่น-วสุ โปษยะนันทน์" สถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นผู้รับผิดชอบ เคียงข้างกันไปคือ วิศวกรนักอนุรักษ์ "จุมภฏ ตรัสศิริ" วิศวกรโยธา กรมศิลปากร ที่รับบทบาทคีย์แมนด้านวิศวะในโครงการ

กว่าจะได้รางวัลระดับโลกต้องใช้เวลาประคบประหงมมานาน 3 ปีเต็ม เริ่มต้นจากการคัดเลือกสถานที่เหมาะสมที่สุด คำตอบสุดท้ายกลายมาเป็น "หอไตร วัดเทพธิดารามฯ" โดยเหตุผลดังนี้ 1.ของเดิมหอไตรแห่งนี้มีความเป็นผลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่มีคุณค่าอยู่ แล้ว 2.มีความต้องการในการอนุรักษ์อย่างยิ่งยวดทั้งในมุมมองของลักษณะทางกายภาพ และความต้องการของผู้ที่เป็นเจ้าของ

ประเด็นนี้มีเรื่องที่ต้องขยายความ กล่าวคือ ทีมงานพยายามนำเสนอ แนวคิดว่า โลกยุคไอทีในปัจจุบัน เมื่อบูรณะเสร็จแล้ว หอไตรแห่งนี้น่าจะนำคอมพิวเตอร์มาวางไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง ได้คลิกดูข้อมูลพระธรรม แต่ท่านเจ้าประคุณ "พระเทพวิสุทธิเมธี" เจ้าอาวาสวัดเทพฯ ให้ความเห็นคัดค้านไว้ว่า อยากให้มองสถาปัตยกรรมหอไตรแห่งนี้ในเชิงสัญลักษณ์ ว่าเป็นสื่อแทนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ทุกอย่างจึงกลับคืนสู่บรรยากาศดั้งเดิมทั้งหมด 3.เป็น อาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่โตจนเกินไปเพื่อให้การทำงานในระยะเวลาจำกัดสามารถเจาะ ลึกรายละเอียดได้เต็มที่ และ 4. สำคัญสุดสุดคือ "เปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมได้โดยง่าย"คีย์ซักเซส "การมีส่วนร่วม"

สำหรับคณะกรรมการตัดสิน การมีส่วนร่วมของสาธารณะถือเป็นเหตุผลสำคัญประการแรกที่ทำให้โครงการนี้ได้ รับรางวัล เบื้องหลังความสำเร็จจึงปรากฏรายนามบุคคลคละวงการในรูปแบบ "สหวิชาชีพ" อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี แห่งจุฬาฯ พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ รศ.ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ และ รศ.สมคิด จิระทัศนกุล แห่ง ม.ศิลปากร ยังไม่นับคณะทำงานอีกรวมประมาณ 75 ชีวิต

หนึ่งในประเด็นการมีส่วนร่วมยังรวมถึงการจัดทำ "ผ้าป่าอาษาสามัคคี" วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนประเดิม ในการปรับปรุงหอไตรโดยเฉพาะเบ็ดเสร็จโครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 5.9 ล้านบาท แหล่งเงินทุนมาจากวัดเทพธิดารามฯ บริจาค 8.3 แสนบาท ผ้าป่าอาษาสามัคคี 3.7 แสนบาท และกรมศิลปากรอุดหนุนส่วนที่เหลืออีก 4.7 ล้านบาท

การค้นพบโบราณคดีอาคาร

"อาจารย์ตุ่น-วสุ" บอกว่า บีฟอร์แอนด์อาฟเตอร์โครงการนี้เรียกว่าพลิกฝ่ามือจากซ้ายเป็นขวากันทีเดียว ประมาณว่า "...ของเดิมเน่ามากเลยครับ" เพราะสภาพอาคารทรุดโทรม ขาดการดูแลรักษาที่ดีเพราะวัดไม่ได้ใช้ประโยชน์ในฐานะที่เป็นหอไตร กลายเป็นห้องเก็บของ

งานแรกจึงเป็นการสะสาง ทำความสะอาด ขนย้ายขยะสิ่งกีดขวาง สิ่งที่พบทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เติมอะไรใหม่ ๆ เข้าไปก็คือ พื้นไม้สักหน้ากว้างที่มีสภาพดีเยี่ยม ล้อมรอบด้วยบานประตูหน้าต่างที่มีร่องรอยตกแต่งลายรดน้ำ

งานที่ทำยังรวมถึง "รื้อถอน" ส่วน ต่อเติมที่ทำให้อาคารเสื่อมค่าลงออกไป ไม่ว่าจะเป็นโถส้วม ผนังกั้นห้องเก็บของ และผนังส่วนที่ก่อทับลงบนพนักระเบียงของหอไตร

ข้อมูลโบราณคดีทางสถาปัตยกรรมที่ค้นพบยังรวมถึง ระดับพื้นอาคารและระดับพื้นดินเดิม เปิดให้เห็นลวดบัวปูนปั้นของฐานอาคารที่ถูกถมปิดไว้ เป็นลักษณะฐานรากอาคารที่ไม่มีเสาเข็มรองรับ ที่น่าสนใจคือ พบบ่อปูนอยู่ที่พื้นใต้ถุนอาคาร ทำให้คนรุ่นปัจจุบันจินตนาการได้ถึงการทำงานของช่างปูนในอดีตได้

เล็ง "หอไตร วัดอัปสรสวรรค์"

ทีมงานนอกจากจะต้องมีจิตอาสาทำงานใจเต็มร้อยแล้ว ยังต้องมี "ลูกอึด" ตลอดช่วง 3 ปีเต็ม เพราะทำงานอย่างลงลึกรายละเอียดจริง ๆ อาทิ การอนุรักษ์งานศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นลายรดน้ำที่บานประตู หน้าต่าง ลายปูนปั้นซุ้มประตูหน้าต่าง การรื้อฟื้นลวดลายปิดทองอย่างโบราณของเพดานทั้งภายนอกและภายใน ลายที่ขื่อไม้มอบ ไม้แป

การใช้ปูนขาวหมักและปูนตำอย่างโบราณแท้ ๆ โดยกำหนดใช้ปูนขาวหมักเป็นปูนสอ ปูนฉาบ และขัดผิวนอกด้วยปูนตำตามเทคนิคช่างแบบโบราณ เป็นต้น

แน่นอนว่า รางวัล Award of Merit ของยูเนสโกจากผลงานหอไตร วัดเทพธิดารามฯ ในวันนี้สร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาคมสถาปนิกสยามฯอย่างแรงกล้า โดยจะยังคงคอนเซ็ปต์ "หอไตร" เหมือนเดิม

โปรเจ็กต์ต่อไปลงตัวที่หอไตร "วัดอัปสรสวรรค์" ที่มีเอกลักษณ์เป็น "หอไตรกลางน้ำ" สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ประดับผนังภายนอกด้วยกระจกทั้งหมด จุดเด่นคือเป็นผลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีชิ้นเอกของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะเป็นผลงานหอไตรชิ้นที่ 3 ของ สมาคมสถาปนิกสยามฯ

  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 07-10-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.