| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 84 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 17-09-2554    อ่าน 11201
 ระวังฝนตกหนักซ้ำเติมน้ำท่วม กทม.ของงบขุดอีก3อุโมงค์ยักษ์

กูรูแนะเฝ้าระวังน้ำท่วมกรุงเทพฯ ลุ้น17-18 ก.ย.ขอให้ปลอดฝน ชี้จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เร่งสร้างกำแพงกั้นน้ำ ยิ่งดันน้ำไหลส๔ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ผู้ว่าฯกทม.ตั้งงบฯฉุกเฉินพันล้านซื้อกระสอบทราย ยืนยันอุโมงค์ยักษ์แก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ลุยต่อของบฯสร้างอุโมงค์อีก 3 โครงการในปีหน้า วงเงิน 1.3 หมื่นล้าน กรมชลฯพ้อ ปัญหาหนักสุดในรอบ 5 ปี


ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คาดการณ์ กันว่าวันที่ 17-18 ก.ย. จะมีฝนชุกในพื้นที่ภาคเหนืออีกครั้ง และปริมาณน้ำฝนน่าจะมีต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือน ต.ค. ที่น่าห่วงคือภาคกลางและ กทม. แม้จะรับมือกับปริมาณน้ำที่ไหลบ่าจากภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนได้ แต่ถ้าเกิดฝนตกหนัก น้ำก็จะท่วมขังได้

ดังนั้น กทม.ควรมีมาตรการรองรับพร้อมระบบป้องกันน้ำ โดยผลักดันน้ำเข้าคลองขนาดใหญ่และอาจได้ใช้งานอุโมงค์ระบายน้ำที่เพิ่งเปิดใช้ช่วงต้นปี ที่ผ่านมา เมื่อนั้นจะได้เห็นว่าตัวอุโมงค์มีประสิทธิภาพการระบายน้ำจากจุดรับน้ำออกสู่ทะเลได้มากน้อยเพียงใด

"ขณะนี้คลองรับน้ำสำคัญ ๆ อย่างคลองระพีพัฒน์ และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต จะรับปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาไหวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป และจากที่เวลานี้หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ฯลฯ พยายามป้องกันน้ำท่วมโดยก่อสร้างเขื่อน กำแพงกั้นน้ำ เท่ากับยิ่งผลักดันน้ำมายังพื้นที่ตอนล่างอย่างปทุมธานี นนทบุรี และ กทม. เร็วขึ้น"

กทม.จึงต้องร่วมมือกับจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ หาทางรับมือน้ำท่วมด้วยการบริหารจัดการอย่างบูรณาการและเป็นระบบ โดยร่วมมือกับกรมชลประทานอย่างเร่งด่วน ปัญหาจะลดน้อยลง

กทม.ตั้งงบฯฉุกเฉินพันล้าน

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากที่กรมชลประทานระบุน้ำเหนือจะไหลทะลักเข้ากรุงเทพฯช่วง 19-20 ก.ย.นี้ มั่นใจว่าแนวคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยาที่สูง 2.50 เมตร ยังสามารถรับน้ำได้ จากปัจจุบันระดับยังไม่ถึง 2 เมตร แต่ต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ช.ม. โดยเตรียมเครื่องสูบน้ำ 158 จุด เพื่อเร่งระบายน้ำหากเอ่อล้น แต่พื้นที่น่าห่วงคือฝั่งตะวันออก 300 ตารางกิโลเมตร เพราะอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กทม.ตั้งงบประมาณฉุกเฉินไว้ 1,000 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ กระสอบทราย ไม้ และซ่อมแซมถนนหลังน้ำลด ขณะที่สำนักการระบายน้ำจัดทำแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมไว้ 4 ปี (2555-2558) วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท จะเป็นแผนงานระยะยาว พร้อมขออุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาล เช่น สร้างอุโมงค์ยักษ์อีก 1 หมื่นล้านบาท

ตอนนี้อุโมงค์ยักษ์มี 4 แห่ง เพิ่งเปิดใช้แห่งเดียวที่พระราม 9 ถือว่าได้ผลมากเพราะช่วยระบายน้ำท่วมขังได้เร็ว กทม.จะใช้อุโมงค์มาแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว หลัง 3 ปีที่ผ่านมา กทม.หมดเงินไปกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมมากกว่า 11,000 ล้านบาทแล้ว

นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า แผนงาน 4 ปี วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาทนั้น ไม่ได้เป็นงบฯแก้น้ำท่วมอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องจัดการน้ำเสียรวมอยู่ด้วย เฉพาะงบฯน้ำท่วมคือ 15,291 ล้านบาท

เปิดพิมพ์เขียว 3 อุโมงค์ยักษ์

ส่วนแผนงานปี 2555 กทม.จะใช้วงเงินดำเนินการ 2,636 ล้านบาท โดยสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่รวม 3 แห่ง มูลค่า 13,400 ล้านบาท ได้แก่ 1.อุโมงค์รัชดาภิเษก-สุทธิสาร จะสร้างอยู่ใต้คลองบางซื่อ จากถนนรัชดาลงแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร มูลค่า 2,500 ล้านบาท จะช่วยแก้น้ำท่วมย่านรัชดาฯ ลาดพร้าว สุทธิสาร จตุจักร

2.อุโมงค์ดอนเมือง (ใต้คลองเปรมประชากร) เส้นผ่านศูนย์กลาง 5.7 เมตร ความยาว 13.5 กิโลเมตร มูลค่า 6,000 ล้านบาท เริ่มปี 2555-2558 จะช่วยพื้นที่กรุงเทพฯโซนเหนือ เช่น ดอนเมือง บางเขน สายไหม และ 3.อุโมงค์สวนหลวง ร.9 (บึงหนองบอน) เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 9.4 กิโลเมตร มูลค่า 4,900 ล้านบาท เริ่มปี 2556-2559 จะแก้น้ำท่วมย่านศรีนครินทร์ ประเวศ สวนหลวง พระโขนง ฯลฯ

"อุโมงค์ทุกแห่งจะมีประสิทธิภาพช่วยระบายน้ำได้ในปริมาณ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเดิม 5-6 ชั่วโมงจะเหลือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หากไม่มีอุโมงค์ เวลาฝนตกน้ำที่คลองจะเอ่อล้นมาท่วมพื้นที่ต่าง ๆ อุโมงค์จะทำหน้าที่เป็นทางด่วนของน้ำช่วงระบายลงเจ้าพระยา"

ที่มีการตั้งข้อสังเกตประเด็นที่อุโมงค์ยักษ์มีขีดความสามารถรองรับได้เพียงน้ำฝนนั้น นายสัญญากล่าวว่า อุโมงค์ช่วยระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก น้ำท่วมปิดล้อม เมื่อน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเอ่อเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นน้ำเหนือหรือน้ำหลาก อุโมงค์จะช่วยดึงน้ำจากคลองระบายลงสู่เจ้าพระยาและอ่าวไทยได้ แต่การลงทุนค่อนข้างสูง

ส่วนโครงการอื่น ๆ เช่น แก้มลิงเพิ่มเติมและเพิ่มประสิทธิภาพแก้มลิงในปัจจุบันให้มากขึ้น ปรับปรุงระบบระบายน้ำคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ปรับปรุงท่อระบายน้ำ สร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งและคันป้องกันน้ำท่วมตามโครงการแก้มลิง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำย่านศรีนครินทร์ งามวงศ์วาน เป็นต้น

ระดับน้ำนครสวรรค์เพิ่ม 1 เมตร

กรมชลประทานรายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือบริเวณท้ายเขื่อนภูมิพล โดยเฉพาะในเขต จ.ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ระดับน้ำและปริมาณน้ำในลุ่มน้ำปิงและลำน้ำสาขาในเขตกำแพงเพชร มีปริมาณน้ำสูงขึ้นรวดเร็ว คาดว่าปริมาณน้ำจากแม่น้ำปิงที่ไหลลงมา จะส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์สูงสุด 3,800-3,900 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และคาดว่า 18-19 ก.ย. ระดับน้ำที่นครสวรรค์จะสูงขึ้นอีก 1 เมตร และยังมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลสมทบบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้น้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากขึ้น

ทั้งนี้ได้ประเมินกันแล้ว คาดว่าเขื่อนเจ้าพระยาจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดในเกณฑ์ 3,700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ในช่วง 19-20 ก.ย. ปริมาณน้ำนี้จะส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาในเขตชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และ กทม. มีระดับน้ำเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจากระดับ 10-15 ซ.ม. ต่อเนื่องหลายวัน

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปีนี้ถือว่าสถานการณ์น้ำรุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปี เพราะน้ำมาเร็ว มาแรง และกระจายสู่ทุกภาคไม่เฉพาะภาคกลางเท่านั้นดยผลักดันน้ำเข้าคลองขนาดใหญ่และอาจได้ใช้งานอุโมงค์ระบายน้ำที่เพิ่งเปิดใช้ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เมื่อนั้นจะได้เห็นว่าตัวอุโมงค์มีประสิทธิภาพการระบายน้ำจากจุดรับน้ำออกสู่ทะเลได้มากน้อยเพียงใด

"ขณะนี้คลองรับน้ำสำคัญๆ อย่างคลองระพีพัฒน์ และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต จะรับปริมาณน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาไหวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป และจากที่เวลานี้หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ฯลฯ พยายามป้องกันน้ำท่วมโดยก่อสร้างเขื่อน กำแพงกั้นน้ำ เท่ากับยิ่งผลักดันน้ำมายังพื้นที่ตอนล่างอย่างปทุมธานี นนทบุรี และกทม.เร็วขึ้น"

กทม.จึงต้องร่วมมือกับจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ หาทางรับมือน้ำท่วมด้วยการบริหารจัดการอย่างบูรณาการและเป็นระบบ โดยร่วมมือกับกรมชลประทานอย่างเร่งด่วน ปัญหาจะลดน้อยลง

กทม.ตั้งงบฯฉุกเฉินพันล้าน

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากที่กรมชลประทานระบุน้ำเหนือจะไหลทละลักเข้ากรุงเทพฯช่วง 19-20 ก.ย.นี้ มั่นใจว่าแนวคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยาที่สูง 2.50 เมตร ยังสามารถรับน้ำได้ จากปัจจุบันระดับยังไม่ถึง 2 เมตร แต่ต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชม.โดยเตรียมเครื่องสูบน้ำ 158 จุดเพื่อเร่งระบายน้ำหากเอ่อล้นแต่พื้นที่น่าห่วงคือฝั่งตะวันออก 300 ตารางกิโลเมตร เพราะอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กทม.ตั้งงบประมาณฉุกเฉินไว้ 1,000 ล้านบาทช่วยเหลือผู้ประสบภัยและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ กระสอบทราย ไม้ และซ่อมแซมถนนหลังน้ำลด ขณะที่สำนักระบายน้ำจัดทำแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมไว้ 4 ปี (2555-2558) วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาทจะเป็นแผนงานระยะยาว พร้อมขออุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาล เช่น สร้างอุโมงค์ยักษ์อีก 1 หมื่นล้านบาท

โมงค์ยักษ์มี 4 แห่ง เพิ่งเปิดใช้แห่งเดียวที่พระราม 9 ถือว่าได้ผลมากเพราะช่วยระบายน้ำท่วมขังได้เร็ว กทม.จะใช้อุโมงค์มาแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว หลัง 3 ปีที่ผ่านมา กทม.หมดเงินไปกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมมากกว่า 11,000 ล้านบาทแล้ว

นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการ สำนักการระบายน้ำกทม.กล่าวว่า แผนงาน 4 ปี วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาทนั้น ไม่ได้เป็นงบฯแก้น้ำท่วมอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องจัดการน้ำเสียรวมอยู่ด้วย เฉพาะงบฯน้ำท่วมคือ 15,291 ล้านบาท

เปิดพิมพ์เขียว 3 อุโมงค์ยักษ์

ส่วนแผนงานปี 2555 กทม.จะใช้วงเงินดำเนินการ 2,636 ล้านบาท โดยสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่รวม 3 แห่ง มูลค่า 13,400 ล้านบาท ได้แก่ 1.อุโมงค์ รัชดาภิเษก-สุทธิสาร จะสร้างอยู่ใต้คลองบางซื่อจากถนนรัชดาลงแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร มูลค่า 2,500 ล้านบาท จะช่วยแก้น้ำท่วมย่านรัชดาฯ ลาดพร้าว สุทธิสาร จตุจักร

2.อุโมงค์ดอนเมือง (ใต้คลองเปรมประชากร) เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.7 เมตร ความยาว 13.5 กิโลเมตร มูลค่า 6,000 ล้านบาท เริ่มปี 2555-2558 จะช่วยพื้นที่กรุงเทพฯ โซนเหนือ เช่น ดอนเมือง บางเขน สายไหม และ 3.อุโมงค์สวนหลวงร.9 (บึงหนองบอน) เส้นผ่าศูนย์กลาง 5เมตร ความยาว 9.4 กิโลเมตร มูลค่า 4,900 ล้านบาท เริ่มปี 2556-2559 จะแก้น้ำท่วมย่านศรีนครินทร์ ประเวศ สวนหลวง พระโขนง ฯลฯ

"อุโมงค์ทุกแห่งจะมีประสิทธิภาพช่วยระบายน้ำได้ในปริมาณ 60 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที จากเดิม 5-6 ชั่วโมงจะเหลือไม่เกิน 2 ชั่วโมง หากไม่มีอุโมงค์ เวลาฝนตกน้ำที่คลองจะเอ่อล้นมาท่วมพื้นที่ต่าง ๆ อุโมงค์จะทำหน้าที่เป็นทางด่วนของน้ำช่วงระบายลงเจ้าพระยา"

ที่มีการตั้งข้อสังเกตประเด็นที่อุโมงค์ยักษ์มีขีดความสามารถรองรับได้เพียงน้ำฝนนั้น นายสัญญา กล่าวว่า อุโมงค์ช่วยระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก น้ำท่วมปิดล้อม เมื่อน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเอ่อเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นน้ำเหนือหรือน้ำหลาก อุโมงค์จะช่วยดึงน้ำจากคลองระบายลงสู่เจ้าพระยาและอ่าวไทยได้ แต่การลงทุนค่อนข้างสูง

ส่วนโครงการอื่น ๆ เช่น แก้มลิงเพิ่มเติมและเพิ่มประสิทธิภาพแก้มลิงในปัจจุบันให้มากขึ้น ปรับปรุงระบบระบายน้ำคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ปรับปรุงท่อระบายน้ำ สร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งและคันป้องกันน้ำท่วมตามโครงการแก้มลิง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำย่านศรีนครินทร์ งามวงศ์วาน เป็นต้น

ระดับน้ำนครสวรรค์เพิ่ม 1 เมตร

กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือบริเวณท้ายเขื่อนภูมิพล โดยเฉพาะในเขตจ.ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 10 -11 ก.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ระดับน้ำและปริมาณน้ำในลุ่มน้ำปิงและลำน้ำสาขาในเขตกำแพงเพชร มีปริมาณน้ำสูงขึ้นรวดเร็ว คาดว่าปริมาณน้ำจากแม่น้ำปิงที่ไหลลงมา จะส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์สูงสุด 3,800-3,900 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และคาดว่า 18?19 ก.ย.ระดับน้ำที่นครสวรรค์จะสูงขึ้นอีก 1 เมตร และยังมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลสมทบบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้น้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากขึ้น

ทั้งนี้ได้ประเมินกันแล้ว คาดว่าเขื่อนเจ้าพระยาจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดในเกณฑ์ 3,700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ในช่วง 19-20 ก.ย.ปริมาณน้ำนี้จะส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาในเขตชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกทม.มีระดับน้ำเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจากระดับ 10?15 ซม.ต่อเนื่องหลายวัน

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปีนี้ถือว่าสถานการณ์น้ำรุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปี เพราะน้ำมาเร็ว มาแรงและกระจายสู่ทุกภาค ไม่เฉพาะภาคกลางเท่านั้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 17-09-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.