| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 95 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 12-09-2554    อ่าน 11015
 AREA ชี้ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ไม่ควรเน้นแนวราบ

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA ระบุว่า ระหว่างวันที่ 9-17 กันยายนที่ผ่านมา AREA จัดดูงานอสังหาริมทรัพย์ ณ กรุงปารีส เมืองกอลมา ประเทศฝรั่งเศส และนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในที่นี้จึงสรุปสาระเกี่ยวกับผังเมืองปารีสมาให้เปรียบเทียบกับกรณีประเทศไทย



โดยพบว่า ปารีสมีขนาดเพียง 105 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.2 ล้านคน หรือประมาณ 22,000 คน/ตารางกิโลเมตร /มากกว่ากรุงเทพมหานครที่มีประชากร 3,800 คน/ตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตามมหานครปารีส รวมเทศบาลกรุงปารีสและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นโดยรอบแล้ว มีขนาด 12,072 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 12 ล้านคน แต่มีความหนาแน่นน้อยกว่ากรุงเทพมหานคร (1,000 คน/ตารางกิโลเมตร)



จะสังเกตได้ว่าผังเมืองปารีสนี้วางผังได้ดี โดยเลียนแบบมาจากอังกฤษหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2396-2413 โดยการตัดถนนสายตรง ๆ ใหญ่ ๆ เพิ่ม สร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม และจำกัดความสูงโดยปรับความสูงมาเรื่อยจาก 16 เมตร 20 เมตรและจนปัจจุบันไม่เกิน 37 เมตร



วัตถุประสงค์ของผังเมืองก็คือ การพัฒนาเมืองให้เหมาะแก่การอยู่อาศัย การเรียกร้องของชนชั้นกลางในยุค 100 ปีก่อน และการวางยุทธศาสตร์ทางทหาร เพื่อกองทหารจะเข้ามาในกรุงได้ง่ายขึ้น เป็นต้น



การวางผังเมืองใหม่ พร้อมกับสร้างที่อยู่อาศัยสองข้างถนนยังเป็นการคืนกำไร คือทำให้การสร้างถนนใช้เงินแต่น้อย โดยเอา 2 ข้างทางที่เวนคืนมา ทำการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ โดยการเวนคืนดำเนินการอย่างขนานใหญ่เป็นเวลากว่า 20 ปี นอกจากนี้ ยังได้รับเงินทุนจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่อำนวยสินเชื่อให้กับการพัฒนาสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในเมือง



รวมทั้งการเวนคืนที่ดินยังใช้เพื่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง นอกเหนือจากการตัดหรือขยายถนน ทำให้เมืองมีสภาพที่น่าอยู่อาศัย จะสังเกตได้ว่าใจกลางกรุงปารีสมีการเวนคืนก่อสร้างสะพานมากถึง 24 สะพานในระยะทาง 14.3 กิโลเมตรของแม่น้ำแซน หรือมีสะพานทุกระยะ 600 เมตรโดยเฉลี่ย ในขณะที่ใจกลางกรุงโซลมีสะพานทุกระยะ 1.16 กิโลเมตร ส่วนใจกลางกรุงเทพมหานคร จากสะพานพระราม 6 –สะพานภูมิพล 1 ระยะทาง 23 กิโลเมตรมีสะพานเพียง 12 สะพานหรือ 1.9 กิโมเมตรต่อหนึ่งสะพาน ถือว่าน้อยมาก ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของความเจริญในฝั่งธนบุรีกับฝั่งกรุงเทพมหานคร ทำให้เสียโอกาสการพัฒนาฝั่งกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ใกล้ใจกลางเมือง



อย่างไรก็ตามใช่ว่าจะไม่มีตึกสูงในนครปารีส เพียงแต่ในเขตเมืองเก่าพื้นที่เล็ก ๆ ประมาณ 105 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นที่จำกัดไว้ แต่นอกเมืองออกไปยังมีอาคารสูงใหญ่หลายแห่ง โดยอาคารสูงสุดสูงถึง 59 ชั้นชื่อ Tour Maine Montparnasse และมีแผนสร้างตึกสูงประมาณ 90 ชั้นอีกด้วย



แม้อาคารส่วนใหญ่ใจกลางกรุงปารีสจะสูงเพียง 37 เมตร แต่หากพิจารณาจากพื้นที่ก่อสร้าง ยังมีความหนาแน่นกว่ากรุงเทพมหานครมาก การที่กรุงปารีสมีการดูแลเรื่องความสูงมาก เพราะมีสถานที่สำคัญมากมาย แต่กรุงเทพมหานครมีจำกัดกว่า การเลียนแบบการจำกัดความสูงจึงควรได้รับการทบทวน ยิ่งกว่านั้นขณะนี้ในกรุงปารีส กำลังจะมีการพิจารณาอนุญาตให้ขึ้นตึกสูงให้มากขึ้นเพื่อสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 12-09-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.