| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 151 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-09-2554    อ่าน 11111
 การศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ (AREA) ระบุว่า ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ควรได้รับการควบคุม ตรวจสอบ และส่งเสริม อย่างไรก็ตามในกรณีประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพนี้ ประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งในการดูแลวิชาชีพก็คือการจัดให้มีการศึกษาต่อเนื่อง (CPD: Continuing Professional Development Program) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักวิชาชีพได้มีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องเพื่อให้สามารถบริการแก่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล



AREA มีขอเสนอกรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับไทย โดยสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศสิงคโปร์กำหนด CPD ไว้ดังนี้



1. การเข้าสัมมนา ดูงานที่เกี่ยวเนื่องกับการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเข้าร่วมหรือการไปนำเสนอผลการศึกษา-บรรยายก็ตาม เช่น การเข้าร่วมเสวนาวิชาการรายเดือนของมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย



2. การประชุมสัมมนาในประเด็นทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เข้าประชุมซักซ้อมความเข้าใจในหลักเกณฑ์ใหม่ของการเป็นกรรมการผู้คัดเลือกสมาชิกผู้ประเมินใหม่ในประเทศไทย ของสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย เป็นต้น



3. การเข้ารับการอบรมด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฝึกอบรมต่าง ๆ เช่น โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย สำนักธรรมนิติ สมาคมอื่น ๆ 4. การทำวิจัยด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5. การเขียนบทความวิชาการตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์วิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ



เวลาที่ใช้ในกิจกรรมข้างต้นเหล่านี้ทุกชั่วโมงสามารถนำมานับเป็นชั่วโมงของ CPD โดยในกรณีสิงคโปร์ ในแต่ละปีต้องทำกิจกรรมข้างต้นอย่างน้อย 20 ชั่วโมงหรือภายใน 3 ปีต้องมีเวลา 60 ชั่วโมง นอกจากนี้ในกิจกรรมต่อไปนี้ สามารถนำมานับเวลาได้สองในสาม เช่น



1. การเข้าศึกษาในหลักสูตรการศึกษาของสถาบันการศึกษา เช่น การศึกษาในหลักสูตร RE-CU ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรประกาศนียบัตรการประเมินค่าทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรกระทรวงศึกษาธิการของโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ทั้งนี้รวมทั้งการเรียนผ่านทางไกล เช่น หลักสูตรการบริหารทรัพย์สินของสมาคม Building Owners and Managers Institute ที่ร่วมกับโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยจัดขึ้น เป็นต้น



2. การวิจัยส่วนบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การทบทวนวรรณกรรม การศึกษาเกี่ยวกับภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมาย การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินในโครงการหนึ่ง ๆ



อย่างไรก็ตามกิจกรรม 2 ข้อหลังนี้ หากใช้เวลา 30 ชั่งโมง ก็จะนับได้แค่สองในสามหรือ 20 ชั่วโมงนั่นเอง และเอามานับรวมกันได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมงในเวลา 20 ชั่วโมงที่กำหนดใน 3 ปีนั่นเอง แต่สำหรับในฮ่องกง ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินประเภทธุรกิจ (Business Valuation) เวลา CPD ขั้นต่ำ เป็นเพียง 10 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ส่วนในออสเตรเลียกำหนดให้สามารถปฏิบัติ CPD ทำนองข้างต้น 20 ชั่วโมงต่อปี และทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเองอีก 20 ชั่วโมงต่อปี กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามนี้ ใบอนุญาตของการเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินก็จะถูกเพิกถอน



สมาคมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในประเทศไทยจึงควรส่งเสริมให้ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินมีความรู้อย่างกว้างขวางโดยไม่จำกัดให้เฉพาะกิจกรรมที่สมาคมจัดเอง บทบาทของสมาคมคือการเป็นผู้แทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ประเมินค่าทรัพย์สินต่อสังคมภายนอก ไม่ใช่ไปแข่งขันกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ



ในประเทศที่เจริญกว่าไทยทั้งสิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง CPD หรือการศึกษาต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินต้องดำเนินการ และสามารถเข้าร่วมในราคาถูก เช่น การเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ การประชุมรายไตรมาสของสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร การเสวนาวิชาการรายเดือนของมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ซึ่งส่วนมากสมาชิกสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ในราคาถูก เช่น 300-500 บาท หรือไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เป็นต้น มาร่วมส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค เพื่อความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของวิชาชีพ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 01-09-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.