| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 89 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 19-03-2554    อ่าน 11721
 ''สุขภัณฑ์-เฟอร์ฯ''เทใจช่วยญี่ปุ่นหลังสึนามิ ปรับแผนกำลังผลิตเพิ่มกะ-ทำโอทีผลิตสินค้าป้อนซ่อมแซมบ้าน



สุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ส่งออกตลาดญี่ปุ่น ออร์เดอร์ยังปกติ เผยเตรียมความพร้อมรองรับออร์เดอร์ทะลักช่วงญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศหลังสึนามิ ถล่ม "ส.ประภาศิลป์-เอส.บี.-อินเด็กซ์" คาดความต้องการเฟอร์ฯน็อกดาวน์พุ่ง 10% เล็งปรับแผนทำงานล่วงเวลารับมือ สุขภัณฑ์ "คอตโต้-โตโต้" คำนวณกำลังผลิตในประเทศไทย มั่นใจรองรับออร์เดอร์ได้เต็มร้อย



ผล กระทบจากวิกฤตสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ผู้ประกอบการไทยเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับคำสั่งซื้อสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ที่คาดว่ามีความต้องการสูงในช่วงฟื้นฟูและซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้ รับความเสียหาย โดยการปรับแผนในตอนนี้ ถือเป็นแผนระยะเบื้องต้น เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปความเสียหายที่ชัดเจนได้

ผู้ผลิตเฟอร์ฯเพิ่มกำลังผลิต 10%

นาย กีรติ เสริมประภาศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส.พี.เอส กรุ๊ป (ส.ประภาศิลป์) หนึ่งในผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกรายใหญ่ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ค้าที่สั่งเฟอร์นิเจอร์จากประเทศญี่ปุ่น ชะลอการส่งมอบสินค้าที่สั่งซื้อออกไปอีก 1-2 สัปดาห์ คิดเป็นมูลค่า 20 ล้านบาท แต่เป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น และคงจะไม่มีการยกเลิกการสั่งซื้อสินค้า

"ช่วง 3-6 เดือนนับจากนี้ หากเหตุการณ์ยังไม่คลี่คลาย มีความเป็นไปได้ว่า ยอดสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากผู้ค้าที่ญี่ปุ่นมีอยู่ 4-5 ราย ลดลง 40% มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 40-50 ล้านบาท/เดือน โดยตลาดญี่ปุ่น บริษัทส่งออกเฟอร์ฯในสัดส่วน 20% ของยอดขายรวมแต่ละปี มีมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์ฯน็อกดาวน์ ประเภทตู้และเตียง"

ในอนาคต หากประเทศญี่ปุ่นเริ่มการซ่อมแซมบ้านเมืองที่ได้รับความเสียหาย มีความเป็นไปได้ ที่การสั่งซื้อเฟอร์ฯจะกลับมาเหมือนเดิม และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 5-10% ดังนั้น วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตอีกประมาณ 10% โดยให้พนักงานทำงานล่วงเวลา เพื่อรองรับออร์เดอร์ที่จะเพิ่มขึ้น


คอตโต้-โตโต้ พร้อมป้อนสุขภัณฑ์

นาย สราวุฒิ สำราญทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามซานิทารีแวร์อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำแบรนด์ "คอตโต้" และ "โตโต้" กล่าวว่า โตโต้ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนกับบริษัทยังไม่ชะลอ หรือยกเลิกการส่งออกสินค้าจากโรงงานที่ผลิตในประเทศไทย โดยบริษัทส่งสินค้าสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำไปญี่ปุ่นประมาณ 30% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

"เบื้องต้น เท่าที่พูดคุยกับโตโต้ ได้รับแจ้งว่าจะไม่มีผลกระทบต่อออร์เดอร์ เพราะกำลังผลิตที่ส่งไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอยู่แล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทและโตโต้ได้ร่วมลงทุนขยายโรงงานผลิตอีก 1 แห่ง ที่จังหวัดสระบุรี เพื่อผลิตอ่างล้างหน้าและสุขภัณฑ์ มีกำลังการผลิต 4 แสนชิ้น/ปี เพื่อส่งออกไปประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และบางส่วนขายในประเทศ"

อย่าง ไรก็ตาม หากเหตุการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ และเริ่มกลับมามีความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อซ่อมแซมบ้าน บริษัทใช้กำลังการผลิตจากโรงงานใหม่ ส่งออกกลับไปญี่ปุ่นได้



เอส.บี.-อินเด็กซ์ ทำงานล่วงเวลา

นาง ธัญญรักข์ ชวาลดิฐ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส.บี.เฟอร์นิเจอร์เฮาส์ จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ "เอส.บี." กล่าวว่า คู่ค้าในประเทศญี่ปุ่นที่สั่งซื้อเฟอร์ฯไปจำหน่าย เบื้องต้นคู่ค้ายังไม่มีการยกเลิก หรือชะลอการส่งสินค้า ปัจจุบันญี่ปุ่นสั่งซื้อเฟอร์ฯเอส.บี.ปีละ 300-400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์ฯ น็อกดาวน์ ได้แก่ เตียงและตู้เก็บของ

แต่ในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้า ประเมินว่า ยอดสั่งสินค้าจากญี่ปุ่นอาจจะลดลงบ้าง เนื่องจากจิตใจคนญี่ปุ่นยังไม่พร้อมจับจ่ายใช้สอย ส่วนในระยะยาว หลังจากเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูซ่อมแซมบ้านเมืองและที่อยู่อาศัยที่เสียหาย มีโอกาสที่ออร์เดอร์สั่งซื้อเฟอร์ฯจากญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น และเป็นโอกาสจะสร้างยอดขายได้

นางสาวกฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เฟิร์น จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ "อินเด็กซ์" กล่าวว่า ได้ติดต่อกับคู่ค้าส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงบางรายที่ร้านค้าได้รับความเสียหายเล็กน้อย ขณะนี้จึงยังไม่มีคู่ค้ารายใดขอยกเลิก หรือชะลอออร์เดอร์

ปัจจุบัน ญี่ปุ่นสั่งสินค้าจากบริษัทปีละประมาณ 800 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นชุดทานอาหาร ชั้นวางหนังสือ และชั้นวางทีวี ส่วนการเตรียมคนเพื่อรองรับออร์เดอร์ที่อาจจะเข้ามาเพิ่มขึ้นหลังจากที่ ญี่ปุ่นเริ่มซ่อมแซมบ้านเมืองและที่อยู่อาศัย ขณะนี้ยังไม่มีแผน แต่อาจใช้วิธีให้พนักงานทำงานล่วงเวลาเพื่อผลิตสินค้าได้มากขึ้น เพราะเบื้องต้นประเมินว่า หากมีออร์เดอร์จากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ก็คงมีจำนวนไม่มาก เพียง 10-20% หรือ 80-160 ล้านบาท
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 19-03-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.