| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 83 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 31-01-2554    อ่าน 11147
 ถนนไร้ฝุ่นทั่วปท.งบฯบานแสนล้าน วัสดุขึ้นราคาดันต้นทุนพุ่ง"ทช."มึนรีวิวแผนใหม่หมด

วัสดุ ก่อสร้างขึ้นราคาดันต้นทุนก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นพุ่ง 10-15% จากกิโลเมตรละ 4 ล้านบาท กลายเป็น 6 ล้านบาท กรมทางหลวงชนบทหวั่นโครงการเหลืออยู่ 4,000 กิโลเมตร เสร็จไม่ทันแผน 7 ปี รัฐต้องควักเงินลงทุนเพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท จาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 2.3 หมื่นล้านบาท เผยแผนลงทุนปี"54 ได้แค่ 600 กิโลเมตร 2,800 ล้านบาท



นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดี กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น เช่น ยางมะตอย ปูนซีเมนต์ เป็นต้น มีผลต่อต้นทุน ก่อสร้างโครงการถนนไร้ฝุ่น (ถนนลาดยางในท้องถิ่น) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10-15% จากเดิมต้นทุนเฉลี่ยกิโลเมตรละ 4 ล้านบาท เป็น 6 ล้านบาท/กิโลเมตร ส่งผลกระทบต่อการจัดทำแผนงานก่อสร้างโครงการในปีต่อ ๆ ไป จำเป็นต้องของบประมาณจากรัฐบาลมากขึ้น

ทั้งนี้ ในแผนงานของกรมมีถนนไร้ฝุ่นที่จะต้องดำเนินการทั้งหมด 7,213 กิโลเมตร ในเฟสแรกเสร็จไปแล้วระยะทาง 3,246 กิโลเมตร ใช้งบฯก่อสร้างไป 14,320 ล้านบาท แบ่งเป็นพื้นที่ภาคอีสาน 1,235 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 5,354 ล้านบาท ภาคกลาง 771 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 3,591 ล้านบาท ภาคเหนือ 698 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 2,926 ล้านบาท และภาคใต้ 482 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 2,448 ล้านบาท



ส่วน ที่เหลืออีก 4,100 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบฯก่อสร้างประมาณ 20,000 ล้านบาท ประกอบด้วย ภาคเหนือ รวมระยะทาง 825 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 3,800 ล้านบาท ภาคอีสาน ระยะทาง 1,530 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 7,040 ล้านบาท ภาคกลาง ระยะทาง 1,125 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 5,200 ล้านบาท และภาคใต้ ระยะทาง 620 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 2,850 ล้านบาท

นายวิชาญกล่าวต่อ ว่า อย่างไรก็ตามเมื่อต้นทุนเพิ่มแบบนี้ คำนวณคร่าว ๆ จะทำให้ใช้งบฯก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท เท่ากับเพิ่มขึ้นจากเดิมคำนวณงบฯไว้ 20,000 ล้านบาท จะเพิ่มเป็น 23,000 ล้านบาท โดยแผนงานที่วางไว้จะใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จในอีก 7 ปี หรือในปี 2560 แต่จะเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณที่จะได้รับจัดสรรด้วย เนื่องจากแต่ละปีที่ผ่านมากรมได้รับจัดสรรงบฯค่อนข้างน้อย เฉลี่ยประมาณ 600 กิโลเมตร/ปี อย่างปี 2554 ได้รับ งบประมาณดำเนินการ 2,800 ล้านบาท ระยะทาง 615 กิโลเมตร

"กรมกำลังจัดทำงบประมาณปี 2555 โดยจะขอประมาณ 44,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งมาเป็นงบฯก่อสร้างถนน ไร้ฝุ่น 1,500 กิโลเมตร วงเงิน 9,000 ล้านบาท โดยปรับวงเงินตามต้นทุนก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นแล้ว"

นาย วิชาญกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันกรมอยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บทถนน ไร้ฝุ่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่ยังต้องลงทุนทั่วประเทศอีก 151,687 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 600,000 ล้านบาท ณ ต้นทุน 4 ล้านบาท/กิโลเมตร

แผนแม่บทถนนไร้ฝุ่นของ อปท. ดังกล่าว จะต้องทบทวนโดยจะทำแผนเร่งด่วนในพื้นที่สำคัญ รวมระยะทางประมาณ 50,000 กิโลเมตร เมื่อคำนวณต้นทุนการก่อสร้าง หากมีต้นทุน 4 ล้านบาท/กิโลเมตร เท่ากับจะต้องใช้งบฯลงทุน 200,000 ล้านบาท แต่ถ้าคำนวณตามต้นทุนใหม่คือ 6 ล้านบาท/ กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้างจะอยู่ที่ 300,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติกรมจะออกแบบคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้าง และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาในแง่ความคุ้มค่าด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก เมื่อแล้วเสร็จจะเสนอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเพื่อแจกจ่ายให้แต่ละท้องถิ่น ดำเนินการตามแผนที่กรมทำแผนไว้ให้ รวมทั้งการ ของบประมาณก่อสร้างจากสำนักงบประมาณด้วย คาดว่าแผนแม่บทจะแล้วเสร็จในเร็ว ๆ นี้

"เรื่องการกระจายอำนาจเป็นข้อตกลงที่ได้เซ็นเอ็มโอยูร่วมกัน ระหว่างกระทรวงคมนาคมกับมหาดไทย ที่ให้กรมเป็นพี่เลี้ยงให้ท้องถิ่น และอาจจะเข้าไปก่อสร้างให้หากท้องถิ่นไหนไม่สามารถดำเนินการได้ เพื่อให้ถนนตามท้องถิ่นจากลูกรังเป็นถนนไร้ฝุ่นทั้งหมดโดยเร็ว หากรัฐบาลให้งบประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท ทั้ง 50,000 กิโลเมตรนี้จะแล้วเสร็จใน 10 ปี แต่ขึ้นอยู่กับเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ด้วยว่ามีมากแค่ไหน" อธิบดีกรมทางหลวงชนบทกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 31-01-2554 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.