| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 153 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-12-2553    อ่าน 11004
 รฟม.ประมูล"พีพีพี"สายสีม่วงหมื่นล. ก๊อกสองเล็งรื้อสัมปทานใต้ดิน"สีน้ำเงิน"เอื้อเอกชน

รฟม. นำร่องสายสีม่วง "บางซื่อ-บางใหญ่" ดึงเอกชนลงทุน PPP Gross Cost สัมปทาน 30 ปี เงินลงทุน 13,243 ล้านบาท จ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน เล็งรื้อสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินสายเก่า "บางซื่อ-หัวลำโพง" เข้าระบบ PPP วงในเผยเอื้อ BMCL รับความเสี่ยงขาดทุน 8,000 ล้านแทนเอกชน


จากนโยบาย ของรัฐบาลปัจจุบัน ที่ต้องการส่งเสริมให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เพิ่มบทบาทภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับโครงการของภาครัฐในรูปแบบ PPPs (Public Private Partnership) มากขึ้น ในส่วนของกระทรวงคมนาคม ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้แบ่งการคัดเลือกหาเอกชนมาลงทุนดำเนินการเดินระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เป็น 2 ช่วง คือ 1)ช่วงสถานีเตาปูน-สถานีคลองบางไผ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร 1 ราย 2) ช่วงสถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ ระยะทาง 1 กิโลเมตร 1 ราย

นำร่อง "สายสีม่วง" 1.3 หมื่นล้าน

แหล่ง ข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (สถานีเตาปูน-คลองบางไผ่) ที่เชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนรูปแบบ PPP Gross Cost วงเงินลงทุนเบื้องต้น 13,243 ล้านบาท โดยจะขายแบบเอกสารประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 13-24 ธันวาคมนี้ กำหนดยื่นข้อเสนอ 24 กุมภาพันธ์ 2554

ตามขั้นตอน เมื่อได้ผู้เสนอราคาประมูล ต่ำสุดแล้ว ทางคณะกรรมการตามมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) จะเจรจาเรื่องผลตอบแทน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

โดย เอกชนผู้รับสัมปทานจะต้องดำเนินการจัดหา ติดตั้งระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา ส่วนรัฐจะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสารและรายได้เชิงพาณิชย์จากการใช้ ประโยชน์ โครงสร้างงานโยธาและระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งรัฐจะจ่ายคืนเอกชนในลักษณะค่าจ้างบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง

"เอกชน จะได้รับสัมปทาน 30 ปี นับจากวันลงนามในสัญญา จะแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จัดหา ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้า ใช้เวลาไม่เกิน 1,200 วันหรือ 3 ปี 2 เดือน ส่วนระยะที่ 2 เป็นการให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา จะเริ่มนับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าจนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดย รฟม.จะจ่ายค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นรายเดือน"

ดึงรถไฟใต้ดินเข้า PPP

แหล่ง ข่าวกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน รฟม.กำลังจะจัดจ้างที่ปรึกษามาศึกษาการนำสัมปทานเดินรถโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งเป็นสายที่เปิดบริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล เป็นผู้รับสัมปทานมาเป็นรูปแบบ PPP Gross Cost เหมือนกับสายสีม่วงด้วย โดยรัฐจะเก็บค่าโดยสารเอง และจ้างเอกชนมาเดินรถและซ่อมบำรุง คาดว่าจะใช้เวลาศึกษา 7 เดือน จากนั้นนำผลการศึกษานี้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ

"ที่ปรึกษาจะต้องไปลงลึกรายละเอียดว่าแนวทางจะเป็นอย่างไร ดูเรื่องการตีมูลค่าสัมปทานที่เหลือ 18 ปีเศษออกมาแล้ว รฟม.นำไปเจรจาต่อรองกับเอกชนเพื่อซื้อสัมปทานคืน แล้วจ้างเอกชนเดินรถ และรัฐจัดเก็บค่าโดยสารเอง โดยที่เอกชนไม่ต้องรับความเสี่ยงอะไรเลยเมื่อเทียบกับที่รับสัมปทานใน ปัจจุบันที่บริษัทยังประสบปัญหาขาดทุนอยู่"

แหล่งข่าวยอมรับว่า แนวคิดนี้มองได้ 2 ด้านคือ เกิดผลดีต่อบริษัทบีเอ็มซีแอล เพราะเท่ากับรัฐรับความเสี่ยงแทนเอกชน อีกด้านหนึ่งคือประชาชนจ่ายค่าโดยสาร ถูกลงเพราะรัฐคุมราคาเอง

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า แนวคิดนี้เกิดจากมติ ครม.ที่อนุมัติในส่วนสายสีม่วงให้ดำเนินการรูปแบบ PPP Gross Cost แล้ว ให้ขยายผลถึงเส้นทางอื่น ๆ ด้วย ทั้งส่วนต่อขยายสายใหม่ คือ สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และสายเก่าที่เปิดบริการไปแล้ว เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน

BMCL ผนึกแบงก์พันธมิตรเก่า

นาย สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน กล่าวว่า บริษัท จะร่วมกับสถาบันการเงินที่เคยสนับสนุนในการลงทุนรถไฟฟ้าใต้ดินสายปัจจุบัน อาทิ ธนาคารกรุงไทย นครหลวงไทยกรุงศรีอยุธยา และซัพพลายเออร์ผู้ผลิตรถ ฯลฯ เพื่อเข้ายื่นข้อเสนอลงทุนเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ หาก บริษัทได้สัมปทานสายนี้ จะช่วยทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 2 แสนเที่ยว/วันเป็น 3.5 แสนเที่ยว/วัน ทั้งนี้ ตามแผนธุรกิจเมื่อปริมาณผู้โดยสารถึง 3 แสนเที่ยว/วัน บริษัทจะถึงจุดคุ้มทุน จากปัจจุบันที่ขาดทุนสะสมอยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาท

นาย สมบัติกล่าวถึงส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วง เตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ซึ่งจะไปเชื่อมต่อสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน โดยมีผลศึกษาว่าจะต้องลงทุนวางรางและระบบประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาทว่า รฟม.เคยเจรจากับบริษัทโดยจะให้ป้อนผู้โดยสารไปให้ แต่เมื่อ ครม.ให้หาเอกชนร่วมทุน แนวคิดนั้นยกเลิกไป

อย่างไรก็ตาม บริษัทก็สนใจจะเข้าร่วมด้วยเพราะหากบีเอ็มซีแอลได้อีก เท่ากับได้ 2 ต่อ คือสัมปทานเดินรถและค่าโดยสารแรกเข้าเชื่อมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเดิม

BTS ประกาศพร้อมประมูลแข่ง

นาย คีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า บริษัท มีความสนใจจะเข้าร่วมยื่นประมูลเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เพราะเป็นการเดินรถไฟฟ้าเหมือนกับบีทีเอสปัจจุบัน ขณะนี้อยู่ระหว่างหาผู้ร่วมลงทุน เช่น ซัพพลายเออร์ สถาบันการเงิน เป็นต้น โดยจะยื่นในนามบริษัทบีทีเอสซี

"ประมูลงานนี้ยังไงก็ต้องยื่น เพราะการเดินรถเป็นธุรกิจหลักและอาชีพของเราอยู่แล้ว แม้ว่าทางบริษัทบีเอ็มซีแอลจะมีภาษีดีกว่าในแง่ต้นทุนที่ถูกกว่าเพราะเป็น ส่วนต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินเดิม แต่เราก็พร้อมทั้งคนมี 1,600 คน และเงินลงทุน" นายคีรีกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-12-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.