| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 78 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 11-11-2553    อ่าน 11064
 อาฟเตอร์ช็อก"รับเหมา"หลังน้ำลด วัสดุแพง-แรงงานคืนถิ่นทิ้งงานยาวเฉียดล้านคน

อา ฟเตอร์ช็อกน้ำท่วม ภาคกลาง-อีสาน-ใต้กระทบชิ่งธุรกิจรับเหมาอย่างจัง เผยปัญหาหนักสุด "แรงงานคืนถิ่น" กู้ภัยน้ำท่วมหายไปจากสารบบ 30% วัสดุขาดตลาดแถมราคาพุ่ง-ไซต์งานถูกปิด ส่งผลการก่อสร้างชะงัก-กระทบต้นทุนค่าใช้จ่ายรายเดือนสูงถึง 2,500 ล้านบาทจากมูลค่างานทั่วประเทศ 6 แสนล้านบาท คมนาคมประเมินถนนเสียหายต้องลงทุนซ่อมแซมกว่า 1 หมื่นล้านบาท "ทล-ทช." เตรียมขยายเวลาตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง


นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังได้รับความเดือดร้อน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่

แรงงานขาด-งานก่อสร้างชะงัก

โดย สมาคมได้รับเรื่องจากสมาชิกที่แจ้งเข้ามาเกือบ 100 ราย พบว่ามีปัญหา 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1.เริ่มขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง เนื่องจากมีแรงงานที่มาจากต่างจังหวัดขออนุญาตกลับบ้านแบบไม่มีกำหนดกลับ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ถูกน้ำท่วม ทำให้แรงงานหายไปอย่างน้อย 30% จากระบบที่มีอยู่ 3-4 ล้านคน

2.ไซต์งานก่อสร้างที่อยู่ในพื้นที่ น้ำท่วมถูกน้ำท่วม จนไม่สามารถก่อสร้างต่อได้ 3.วัสดุก่อสร้างมีราคาแพง เนื่องจากแหล่งผลิตถูกน้ำท่วมและไม่สามารถขนส่งได้เพราะถนนถูกตัดขาด ทำให้ขาดตลาด ร้านค้าและผู้ผลิตขายสต๊อกเก่าที่มีอยู่และมีการปรับราคาขายขึ้น เช่น ทรายปรับขึ้นจาก 350 บาท/คิวบิกเมตร เป็น 420 บาท/ คิวบิกเมตร อิฐบล็อกปรับขึ้นจากก้อนละ 3 บาทกว่า ๆ เป็น 4 บาท อิฐมอญปรับขึ้นจากก้อนละ 1.10-1.20 บาท เป็น 1.50 บาท เหล็กเส้นและข้ออ้อย ปรับขึ้น 50 สตางค์ จาก 22 บาท/กิโลกรัม เป็น 22.50 บาท/กิโลกรัม เป็นต้น

นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กล่าวว่า ปัญหาแรงงานคืนถิ่นมีตั้งแต่ระดับแรงงานจนถึงโฟร์แมน คาดว่าสถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นเประมาณ 45 วัน จนกว่าภาวะน้ำท่วมจะคลี่คลายและกลับคืนสู่สภาพเดิม

"ตอนนี้รับเหมา ไม่รู้จะทำยังไง คนงานก็ขาด ของก็ขาด ทำให้งานก่อสร้างชะลอตัวไป โครงการก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯเกือบจะทุกโครงการที่ชะงัก และยังมีในพื้นที่ ต่างจังหวัดอีกไม่รู้เท่าไหร่"

รายใหญ่-เล็กโดนถ้วนหน้า

นา ยกฤษดากล่าวว่า ขณะนี้มีผู้รับเหมาแจ้งความเดือดร้อนมายังสมาคมให้ช่วยเหลือจำนวนมาก มีทั้งรายใหญ่และรายเล็ก ซึ่งสมาคมจะยังช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ต้องรอประเมินผลอีกครั้งหลังน้ำลด เพื่อเสนอให้รัฐบาลช่วยเยียวยาต่อไป ขณะนี้สิ่งที่สมาคมทำได้คือให้ผู้รับเหมาทำหนังสือแจ้งความเดือดร้อนไปยัง หน่วยงานราชการที่เป็นคู่สัญญา เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นต้น เพื่อแจ้งสงวนสิทธิที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือ เช่น การขยายเวลาก่อสร้าง เพื่อที่จะได้ไม่ถูกปรับเมื่องานก่อสร้างล่าช้าออกไป

"ปี 2553 มีงานก่อสร้างทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6 แสนล้านบาท ภาระที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในด้านต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งค่าบริหารจัดการและดอกเบี้ย จะอยู่ที่ 10% ของค่างาน เมื่อหยุดงานก่อสร้างไป ค่าใช้จ่ายตรงนี้ยังมี และต้องรับภาระเอง เพราะหน่วยงานคู่สัญญาไม่ชดเชยให้ คิดง่าย ๆ หากงานล่าช้าไป 45 วัน ทั้งระบบ 6 แสนล้าน จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ผู้รับเหมารับต่อเดือนอยู่ที่ 2,500 ล้านบาท/เดือน"

ขยายเวลาช่วยผู้รับเหมา

นายวี ระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า โครงการถนนที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม จะให้ผู้รับเหมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเอง ส่วนงานที่ล่าช้าไปกรมจะขยายเวลาก่อสร้างให้

นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า กรมจะให้ผู้รับเหมาก่อสร้างต่อไปจนจบ เพราะเป็นเรื่องของอุทกภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ กรมจะขยายเวลาสำหรับสัญญาให้ที่ล่าช้าไป ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้างเอง

ใช้เวลา 2 ปีฟื้นฟูถนนจมบาดาล

นาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์ น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย ต่อไปเป็นเรื่องของการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานถนนสายต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบในส่วนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการประเมินความเสียหายเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ในเบื้องต้นมีความเสียหายประมาณ 9,000 ล้านบาท ยังไม่รวมพื้นที่ภาคใต้ หากรวมคาดว่าเกิน 10,000 ล้านบาท ต้องรอหลัง น้ำลด จะไปสำรวจออกแบบและประเมินค่าก่อสร้างอีกครั้ง

ทั้ง นี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้น คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีในการฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ตั้งแต่ปี 2554-2555 เนื่องจากเสียหายมาก และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

"ผมได้สั่งการให้ 2 กรมไปดูงบประมาณปี 2554 โครงการไหนที่ชะลอหรือเลื่อนไปได้ ให้โยกงบฯส่วนนั้นมาซ่อมแซมถนนให้สัญจรไปได้ก่อน หลังจากที่ใช้งบฯฉุกเฉินที่แต่ละกรมมีอยู่หมดแล้ว เท่าที่ได้รับรายงาน กรมทางหลวงชนบทน่าจะได้ประมาณ 100 กว่าล้านบาท กรมทางหลวงอีก 1,000 กว่าล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต้องของบฯกลางจากรัฐบาลเข้ามาช่วย"

นายสุ พจน์กล่าวต่อว่า ในการซ่อมแซม หลังจากน้ำลดแล้ว จะให้ทั้ง 2 หน่วยงานไปเช็กสภาพและวิเคราะห์ถึงสาเหตุด้วยว่าน้ำท่วมแล้วทำให้ถนนพังเกิด จากอะไร เนื่องจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นแต่ละปีไม่ได้ท่วมจุดที่เหมือนกัน บางแห่งอาจจะเกิดจากภูเขา ป่าไม้ที่ถูกทำลาย บางพื้นที่มีการพัฒนาของที่ดินที่ไปกีดขวางทางน้ำ ซึ่งอาจจะต้องมีการดีไซน์ถนนใหม่ เช่น บริเวณไหนที่ช่องระบายน้ำไม่พอ อาจจะเปลี่ยนเป็นบล็อกสะพานแทน เป็นต้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 11-11-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.