| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 88 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-10-2553    อ่าน 11419
 กทม.แก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ลงทุน2.4พันล.สร้างอุโมงค์ส่งน้ำ''ลาดพร้าว-รัชดา''

กทม.เปิด แผนป้องกันน้ำท่วมซ้ำซากพื้นที่กรุงเทพฯ เทงบฯ 2,457 ล้านสร้างอุโมงค์ส่งน้ำยาว 6.4 ก.ม. ระบายน้ำจากคลองลาดพร้าวสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 60 ลบ.ม./ วินาที แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากย่านห้วยขวาง ลาดพร้าว รัชดาฯ ดินแดง วิภาวดีฯ จตุจักร จ้างที่ปรึกษากว่า 30 ล้านศึกษาแก้ปัญหา น้ำท่วมย่าน "ศรีนครินทร์" อย่างยั่งยืน


นายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนทำให้เกิดฝนตกชุกตลอดเวลา สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครสถานการณ์น้ำยังไม่น่าเป็นห่วง แต่ยังวางใจไม่ได้เพราะยังไม่หมดหน้าฝน เพราะปริมาณน้ำเหนือไหลผ่านยังไม่สูงมากอยู่ที่ 1,469 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ขณะที่รับได้ถึง 2,500-3,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

"แนวป้องกันน้ำ ท่วมในพื้นที่ 2 ฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา 77 กิโลเมตร ตอนนี้ กทม.ดำเนินการเสร็จแล้ว 75.8 กิโลเมตร เหลือ 1.2 กิโลเมตรจะเสร็จปลายปี 2554 ช่วยพื้นที่น้ำท่วมบริเวณซ้ำซากริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้มากหลังจากเสร็จทั้ง หมด"

สำหรับแผนป้องกันน้ำท่วมของ กทม.ประกอบด้วย 1.แผนงานประจำ ที่ใช้งบฯประจำปี เช่น ลอกท่อระบายน้ำ เปิดทางน้ำไหล ขุดลอกคูคลอง เป็นต้น จะเคลียร์เสร็จเดือนเมษายน 2554 ซึ่งสำนักการระบายน้ำได้งบประมาณ 3,300 ล้านบาท เป็นงบประจำปีประมาณ 35-36% ที่เหลือเป็นโครงการต่อเนื่องและลงทุนใหม่ โดยงบฯลงทุนใหม่มีประมาณ 1,000 ล้านบาท

2.แผนระยะยาว เพื่อแก้ปัญหายั่งยืนโดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ศรีนครินทร์ ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงินกว่า 30 ล้านบาท เพื่อจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมทั้งหมด แผนจะแล้วเสร็จในปี 2555 หลังจากนั้นปี 2556 จะเริ่มดำเนินการได้

นอกจากนี้ จะมีพื้นที่โซนตะวันออก เช่น มีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำอยู่แล้ว จะมีการเพิ่มพื้นที่แก้มลิง ส่วนพื้นที่โซนตะวันตกเป็นย่านฝั่งธนบุรี เช่น ทวีวัฒนา บางขุนเทียน เป็นต้น ปัจจุบันกำลังปรับปรุงคลองสนามไชย และมหาสวัสดิ์ ร่วมกับกรมชลประทาน จะเสร็จปลายปี 2554

นายสัญญากล่าวว่า ส่วนพื้นที่ในเมืองที่น้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ลาดพร้าว ห้วยขวาง รัชดาภิเษก จตุจักร ดินแดง ในปี 2554 จะก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา วงเงิน 2,457 ล้านบาท กำลังประกาศทีโออาร์ประมูลก่อสร้าง โดยได้งบฯสนับสนุน จากรัฐบาล 100%

โครงการจะมีสถานีสูบน้ำที่ระบาย น้ำได้ 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้า 1 แห่ง อาคารรับน้ำ 3 แห่ง อุโมงค์ส่งน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร มีปล่องอุโมงค์ 4 แห่ง อาคารสำนักงาน 1 แห่ง ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เสร็จปี 2556 จะช่วยระบายน้ำจากถนนรัชดาภิเษก ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนกำแพงเพชร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง

"พื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นที่ราบลุ่มพื้นดินลาดชันต่ำ เวลาฝนตกน้ำจะท่วมภายใน การระบายน้ำออกไม่ทัน ขณะที่เมืองเติบโตไปเร็วมากเพราะมีการก่อสร้างเกิดขึ้น เรื่อย ๆ ทำให้พื้นที่ว่างที่จะรับน้ำไม่เพียงพอเพราะถูกพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยหมด"

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังตรวจน้ำท่วมย่านศรีนครินทร์ว่า กทม.ได้เตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนศรีนครินทร์และพื้นที่ใกล้ เคียง โดยมีการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ กำหนดเป็นมาตรการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

"มาตรการระยะสั้น" ได้แก่ การขุดร่องน้ำกลางถนนศรีนครินทร์ จากคลองเคล็ดถึงถนนพัฒนาการ การปรับปรุงทำนบไม้ชั่วคราวและติดตั้งเครื่องสูบน้ำคลองเคล็ดบริเวณถนนอุดม สุข การเปิดทางน้ำไหลและขุดลอกคลองเคล็ด คลองตาช้าง คลองตาสาด และคลองขุนสกล พร้อม ติดตั้งเครื่องสูบน้ำชั่วคราวหน้าโรงแรมโนโวเทล และสร้างแนวคันกั้นน้ำโดยใช้กระสอบทราย

"มาตรการระยะกลาง" ได้แก่ การก่อสร้างสถานีสูบน้ำ 5 แห่ง กำลังสูบรวม 27 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ก่อสร้างประตูระบายน้ำและเขื่อนกันน้ำล้น 7 แห่งเพื่อปิดกั้นน้ำไม่ให้เข้าพื้นที่ปิดล้อมย่อย และเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสูบน้ำที่บึงรับน้ำหนองบอน

สำหรับ "มาตรการระยะยาว" มีโครงการสำรวจออกแบบและจัดทำแผนแม่บทระบบระบายน้ำเขตบางนา พระโขนง และบางส่วนของเขตประเวศ สวนหลวง วัฒนา และคลองเตย ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงรับน้ำหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมด้วยสถานีสูบน้ำกำลังสูบรวม 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หากโครงการแล้วเสร็จจะเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนศรีนครินทร์และ พื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 21-10-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.