| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 265 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 18-10-2553    อ่าน 11688
 บ้านประหยัดพลังงาน ต้นทุนต่ำ

กคช. (การเคหะแห่งชาติ) โดย "วัลลภ เทอดเกียรติกุล" ผู้อำนวยการฝ่ายการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง นำเสนอ "งานวิจัยบ้านประหยัดพลังงานต้นทุนต่ำ" ไว้ในวารสารบ้านและเมือง ฉบับที่ 6 (เมษายน-มิถุนายน 2553) เป็นงานวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัย นวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลสรุปรูปแบบอาคาร 3 แบบ ได้แก่ "บ้านเดี่ยว" พื้นที่ 50 ตารางวา "บ้านแถว" พื้นที่ประมาณ 20 ตารางวา และ "อาคารชุด" บนพื้นที่ 250 ตารางวา ผลจากการศึกษาวิจัยทั้งด้านกายภาพด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวคิดในการออกแบบและการประเมินอาคารมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

"รูป แบบอาคาร" ผลงานวิจัยพบว่า สถาปัตยกรรมประเภทโครงเสาสูง หรือแบบยกใต้ถุน เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการรองรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมมากที่สุด

"เทคนิคการทำความเย็นด้วยวิธี ธรรมชาติ" เน้น 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การใช้ลมธรรมชาติช่วยระบายอากาศ จากการศึกษาพบว่าตัวอาคารควรมีช่องเปิดระบายอากาศอย่างน้อย 2 ด้าน และยิ่งมีความเร็วลมสูงยิ่งทำให้รู้สึกสบายขึ้น

วิธีต่อมาก็คือการ ทำความเย็นด้วยมวลสารและการระบายอากาศตอนกลางดึก ใช้มวลสารหน่วงความร้อน และการทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ คือเพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อลดอุณหภูมิ ในงานวิจัยนี้เห็นว่าควรใช้การปล่อยน้ำไหลจากหลังคาและตกลงสู่สระน้ำด้าน ล่างอาคาร เพื่อเพิ่มความชื้นในช่วงเวลากลางวัน

"ระบบเปลือกอาคาร" หลังคาสองชั้นสามารถลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่กรอบอาคารได้ เพราะการเคลื่อนที่ของอากาศระหว่างหลังคาสองชั้นจะช่วยระบายความร้อนระหว่าง หลังคาทั้งสองชั้นได้ดี

"พื้นที่ใช้สอยอาคาร" จากการศึกษาสรุปได้ว่า พื้นที่ที่ผู้ใช้งานต้องการเพิ่มเติมคือ พื้นที่ห้องนอน ห้องครัวไทย ห้องอเนกประสงค์ และห้องเก็บของ

ขณะที่การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่ากำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพมหานครเท่ากับ 2,440,000 บาท และกลุ่มเป้าหมายภูมิภาค 1,220,000 บาท ซึ่งระบบการก่อสร้างที่เหมาะสมคือระบบการก่อสร้างแบบเสา-คานสำเร็จรูป

ใน ขณะที่ข้อคำนึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สรุปได้ว่าถนนสายหลักของโครงการควรเป็นแบบปลายเปิด 2 ด้าน หรือถนนรูปห่วง เพื่อความสะดวกในการสัญจร และถนนละแวกบ้านก็ควรเป็นถนนรูปห่วง เพื่อลดการเกิดอาชญากรรม

สุดท้าย การศึกษาที่เกี่ยวกับการประเมินอาคาร หากพิจารณาประสิทธิภาพของอาคารพบว่า บ้านที่ออกแบบ บ้านเดี่ยว) มีการใช้งานและพื้นที่ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการรับรองการใช้งานของผู้พิการและคนชรา การใช้พลังงาน การป้องกันอุทกภัย ฯลฯ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 18-10-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.