| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 77 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-10-2553    อ่าน 11075
 10 โครงข่ายย่าน ''ศรีนครินทร์'' กทม.ลงทุนแก้ ''รถติด-น้ำท่วมซ้ำซาก''

คอลัมน์ เวนคืน อัพเดต




2 ปีเสร็จ - ระบบ โครงข่ายคมนาคมย่ายศรีนครินทร์ เจ้าภาพคือ กทม. ลงทุนมากกว่า 1 หมื่นล้าน จำนวน 10 โครงการ เพื่อแก้ปัญหารถมากติดขัด กับทั้งน้ำท่วมเพราะเป็นพื้นที่ต่ำ ตามสัญญาก่อสร้างจะทยอยแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้านี้

2 ปีเศษนับจากนี้ รัศมีทำเล "ศรีนครินทร์" จะเปล่งประกายยิ่งขึ้นอีกเท่าทวีคูณ ด้วยกรุงเทพมหานคร (กทม.) เจ้าของพื้นที่กำลังเร่งเครื่องก่อสร้างโครงข่ายถนนทั้งสายเก่า-สายใหม่ รองรับกับการเติบโตที่นับวันยิ่งโตวันโตคืน ทั้งด้านที่อยู่อาศัย และค้าปลีก

สภาพพื้นที่ปัจจุบัน มี "ถนนศรีนครินทร์" ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังให้ถนนสายรองและตรอกซอกซอยต่าง ๆ ทุกสารทิศมาเชื่อม จนทำให้ทุกวันนี้ ถนนสายนี้ทะลักล้นด้วยปริมาณรถยนต์นับแสนคัน/วัน

ปัจจุบัน "กทม." กำลังปรับโฉมถนนเดิม เพิ่มเติมถนนสายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นถนนอ่อนนุช พัฒนาการ บางนา-ตราด ถนนวงแหวนรอบนอก เบ็ดเสร็จร่วม 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่าร่วม 10,043.6 ล้านบาท มีกำหนดเสร็จในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้

สร้างอุโมงค์ลอด "แยกศรีอุดม"

เริ่ม จากโครงการที่ 1 "อุโมงค์ทางลอดแยกศรีอุดม" หรือแยกศรีนครินทร์-สุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ตามแนวถนนศรีนครินทร์ ขนาด 4 ช่องจราจร มีความยาว 758 เมตร ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ค่าก่อสร้างกว่า 538 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน โดย กทม.เซ็นสัญญาก่อสร้างกับ "กิจการร่วมค้าศรีนครินทร์" เมื่อปี 2551 ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 50% ยังล่าช้าจากแผน 4-5% กำหนดเสร็จเดือนตุลาคม 2554

โครงการที่ 2 "ก่อสร้างและปรับปรุงถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 28" หรือรามคำแหง 2 ค่าก่อสร้างโดยรวมประมาณ 500 ล้านบาท เป็นการขยายถนนเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร แบ่งเป็น 3 เฟส เฟสแรกถึง "คลองลงแถว" ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร งบฯก่อสร้าง 124 ล้านบาท คืบหน้า 30%

ส่วนเฟส 2 "จากคลองลงแถว-คลองต้นตาล" ระยะทาง 1.85 กิโลเมตร งบฯก่อสร้าง 117 ล้านบาท คืบหน้าแล้ว 40% และปลายปีนี้ ในส่วนที่เหลือ กทม.จะเปิดประมูลและก่อสร้างได้ต้นปี 2554 เพื่อให้จบโครงการเริ่ม

โครงการ ที่ 3 "ปรับปรุงถนนศรีนครินทร์" ช่วงจากแยกพัฒนาการถึงถนนสุขุมวิท 103 ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร วงเงิน 891 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงยกระดับถนนเดิมที่มีสภาพไม่ต่างจากอุกกาบาตให้สูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร พร้อมขยายถนนเดิมจาก 6 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร ใช้เวลา 750 วัน ล่าสุด กทม.แจ้งผู้รับเหมา "บจ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง" เข้าพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายนนี้

โครงการที่ 4 "ถนนต่อเชื่อมแนวถนนพัฒนาการไปสวนหลวง ร.9" ระยะทาง 3.05 ก.ม. ขยายแนวถนนพัฒนาการจากบริเวณสามแยกพัฒนาการตัดถนนอ่อนนุช หรือสุขุมวิท 77 ทะลุกลายเป็น 4 แยกถึงถนนสุขุมวิท 103 (ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) ขนาด 6 ช่องจราจรไปและกลับ ค่าก่อสร้างกว่า 257 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 630 วัน ปัจจุบัน "บมจ.ซิฟโก้" ผู้รับเหมาเพิ่งเข้าพื้นที่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จะแล้วเสร็จกลางปี 2555

ทางต่างระดับ "พัฒนาการ-อ่อนนุช"

โครงการที่ 5 "ก่อสร้างทางต่างระดับถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช" เป็นทาง ต่างระดับบริเวณแยกถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช 6 ช่องจราจร ยาว 500 เมตร พร้อมทางขึ้นลง ค่าก่อสร้าง 888.6 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 810 วัน ผู้รับเหมาก่อสร้าง "บมจ.ซีฟโก้" เพิ่งเริ่มเข้าพื้นที่

โครงการที่ 6 "สะพานข้ามทางแยกถนนอ่อนนุช-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9" ค่าก่อสร้าง 180 ล้านบาท มี "บมจ.ซิฟโก้" เป็นผู้รับเหมา ใช้เวลาก่อสร้าง 540 วัน

โครงการ ที่ 7 "ทางลอดถนนพัฒนาการ-รามคำแหง" บริเวณแยกถาวรธวัช วงเงิน 800 ล้านบาท กทม.อยู่ระหว่างเคลียร์แบบใหม่ จะเปิดประมูล เร็ว ๆ นี้

โครงการ ที่ 8 "ทางแยกต่างระดับแยกพัฒนาการ" 6 ช่องจราจร ได้ "บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น" เป็น ผู้ก่อสร้าง กำลังจะเซ็นสัญญาเร็ว ๆ นี้ ค่าก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท

โครงการ ที่ 9 "โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนสุขาภิบาล 2" ช่วงถนนอ่อนนุชถึงวงแหวนรอบนอก ขยายถนนเดิมจาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร และถนนแอสฟัลต์ผสมร้อน ขนาด 6-8 ช่องจราจร ฟูลออปชั่นพร้อมสรรพ ทั้งคันหินทางเท้า ทางจักรยาน ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สะพานข้ามคลอง ป้ายและเครื่องหมายจราจรต่าง ๆ ระยะทาง 4.2 กิโลเมตร วงเงิน 230 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างประมูล

ตัดใหม่ 6 ช่อง "ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า"

ปิด ท้ายโครงการที่ 10 ถนนตัดใหม่ 6 ช่องจราจร สาย "ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า" ชื่อเดิม "กรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า" ระยะทางรวม 11.2 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างกว่า 4,759 ล้านบาท กทม.กำลังขอจัดสรร งบประมาณจากรัฐบาลในปี 2554 หากได้รับไฟเขียว กทม.ขอใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

โดยงานก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1.ทางต่างระดับถนนศรีนครินทร์กับถนนกรุงเทพกรีฑา 6 ช่องจราจร และถนน 6 ช่องจราจร จากศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ถึง ก.ม.0+820 พร้อมเกาะกลาง ทางเท้า ระบบระบายน้ำ คันหิน ถมดิน ปลูกหญ้า กำแพงกันดิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายป้ายจราจร สะพานข้ามคลอง เขื่อนกันดิน ใช้เวลา 720 วัน วงเงิน 994.5 ล้านบาท

2.ก่อสร้างถนนศรี นครินทร์-ร่มเกล้า จาก ก.ม.0+820 ถึง ก.ม.1+800 ขนาด 6 ช่องจราจร อุโมงค์ทางลอด ขนาด 4 ช่องจราจร ความยาว 500 เมตร และถนน 4 ช่องจราจร พร้อมเกาะกลาง ทางเท้า ระบบระบายน้ำ คันหิน ถมดิน ปลูกหญ้า กำแพงกันดิน เครื่องหมายป้ายจราจร สะพานข้ามคลอง เขื่อนกันดิน เวลาก่อสร้าง 720 วัน วงเงิน 992 ล้านบาท

3.ก่อสร้างถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า จาก ก.ม.1+800 ถึงวงแหวนรอบนอก ตะวันออก ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร ใช้เวลา 720 วัน วงเงิน 900 ล้านบาท

4.ทางยกระดับข้ามถนนวงแหวน รอบนอกตะวันออก ถึง ก.ม.8+100 ขนาด 6 ช่องจราจร และถนน 6 ช่องจราจร พร้อมเกาะกลาง คันหิน ถมดิน ปลูกหญ้า กำแพงกันดิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายป้ายจราจร สะพานข้ามคลอง เขื่อนกันดิน ใช้เวลา 720 วัน 998 ล้านบาท

5.ปรับปรุงถนนเดิมที่ กทม.สร้างค้างไว้หลายปี ระยะทาง 4-5 กิโลเมตร พร้อมสร้างทางต่างระดับ ขนาด 6 ช่องจราจรเพิ่ม เพื่อข้ามแยกไปเชื่อมกับถนน เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใช้เวลา 720 วัน วงเงิน 874.5 ล้านบาท

ด้าน "จุมพล สำเภาพล" ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. ประเมินว่า งานก่อสร้างในละแวกศรีนครินทร์มีค่อนข้างมาก เพราะเป็นโครงการที่ล่าช้ามานาน ทาง กทม.พยายามให้การก่อสร้างเหลื่อมกัน โดยทยอยให้ผู้รับเหมาเริ่มงาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหารถติดมากจนเกินไป

นับ ถอยหลังไปหาอนาคต เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้การจราจรเบาบางขึ้น เพราะคนจะไปใช้ถนนที่ กทม.ขยายเพิ่มขึ้น และช่วยลดปัญหา น้ำท่วมขังลงไปได้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-10-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.