| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 260 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-09-2553    อ่าน 11378
 ศรินทร เมธีวัชรานนท์ คีย์วูแมนกระจกแปรรูป Glass Dekor

คอลัมน์ พร็อพเพอร์ตี้ เคสสตัดดี้




ผู้ อยู่อาศัยจำนวน 24 รายในซอยร่วมฤดี นำทีมโดย "น.พ.สงคราม ทรัพย์เจริญ" แพทย์ประจำพระองค์ สำนักพระราชวัง ได้รวมตัวกันยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 ฟ้องผู้อำนวยการเขตปทุมวันและผู้ว่าฯ กทม. ฐานออกเอกสารรับรองความกว้างถนน (เขตทางสาธารณประโยชน์) ในซอยร่วมฤดีเกินจริง และปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

เรื่อง ดังกล่าวนำมาสู่การพิสูจน์ความจริงเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้กรมที่ดินมาดำเนินการรังวัดความกว้างถนนภาย ในซอยร่วมฤดีจำนวน 8 จุด ตามระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ระบุว่ามีความกว้างไม่ถึง 10 เมตร

สิ่ง ที่ชุมชนซอยร่วมฤดีต้องการคำตอบ คือ ถ้าถนนภายในซอยมีความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนวเส้นทางจริง ทำไมเมื่อเดือนกันยายน 2548 กทม.จึงอนุมัติให้บริษัท ลาภประทาน จำกัด สามารถก่อสร้างอาคารโรงแรมดิเอทัส บางกอกที่มีความสูง 18 ชั้น ภายในซอยร่วมฤดีได้ ซึ่งเข้าข่ายขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 ออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ระบุว่า ซอยที่มีความกว้างไม่เกิน 10 เมตร นับตั้งแต่ปี 2535 ที่กฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะไม่สามารถสร้างอาคารสูงเกิน 8 ชั้น หรือ 23 เมตรได้



ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้รับเชิญร่วมสังเกตการณ์ปฏิบัติการ "วัดระยะถนน" ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าสภาพภายในซอยร่วมฤดีเป็นถนน 2 เลนให้รถพอแล่นสวนกันได้ และตลอดแนวเส้นทางทั้ง 2 ฝั่ง คือ ซ้ายและขวามือมีตึกสูงมากมาย



ผล จากการรังวัดในครั้งนี้ ปรากฏว่าทั้ง 8 จุดมีความกว้างถนนไม่ถึง 10 เมตร ได้แก่ 9.146 เมตร 9.207 เมตร 9.949 เมตร 9.434 เมตร 9.492 เมตร 9.150 เมตร 9.658 เมตร และ 9.283 เมตรตามลำดับ

"น.พ.สงคราม ทรัพย์เจริญ" ในฐานะ ผู้อยู่อาศัยในซอยร่วมฤดีนานกว่า 50 ปีบอกว่า ที่ต้องออกมาต่อสู้เพราะอยากให้เป็นกรณีตัวอย่าง เพราะนับจากปี 2535 ก็เพิ่งมีอาคารนี้เพียงแห่งเดียวที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ นอกนั้นเป็นอาคารเก่าที่ก่อสร้างขึ้นก่อนปี 2535 หรือก่อนที่กฎกระทรวงจะมีผลบังคับใช้

"เราเป็นห่วงเรื่องการจราจร ในซอยที่มีรถติดเกือบทั้งวัน และถ้าอาคารใดอาคารหนึ่งเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นมาจะทำอย่างไร อย่างปากซอย 30 ปีก่อนเคยมีศูนย์การค้าอิมพีเรียลตั้งอยู่ ช่วงนั้นเกิดไฟไหม้และมีคนตาย ผมไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก"

ขั้นตอนหลังจากนี้ ชุมชนซอยร่วมฤดีจะนำหลักฐานการรังวัดแสดงต่อศาลปกครองกลาง และในอนาคตหากว่ามีการพิจารณาตัดสินว่ากรณีนี้มีการออกเอกสารรับรองความ กว้างถนน (เขตทางสาธารณประโยชน์) ในซอยร่วมฤดีเกินจริง และปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจริง

สิ่งที่จะตามมาคือ โศรินทร เมธีวัชรานนท์ คีย์วูแมนกระจกแปรรูป Glass Dekor

สัมภาษณ์พิเศษ




วง การกระจกแปรรูปเมืองไทย ปรากฏนาม "ศรินทร เมธีวัชรานนท์" ผู้ก่อตั้งบริษัท เอสอาร์ แอดวานซ์ อินดัสทรี จำกัด เจ้าของธุรกิจกระจกแปรรูปแบรนด์ Glass Dekor ที่หมายมั่นจะนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นภายใน 2 ปีหน้า

ด้วยความ ชื่นชอบงานศิลปะเป็นทุนเดิม กลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้เธอต่อยอดไลน์โปรดักต์จากธุรกิจกระจกธรรมดา ๆ สำหรับงานตกแต่งทั่วไป หรือกระจกติดตั้งอาคาร มาสู่เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านที่ผลิตขึ้นจากกระจกได้อย่างน่าทึ่ง

"ศรินทร" บอกเล่าผ่านบทสัมภาษณ์เอ็กซ์คลูซีฟให้ "ประชาชาติธุรกิจ" ฟังว่า จุดเริ่มต้นเมื่อ 17 ปีที่แล้ว จากธุรกิจฉากกั้นอาบน้ำที่ผลิตจากกระจกนิรภัย ในช่วงแรกตั้งใจที่จะเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเพื่อมาจำหน่าย แต่ด้วยอุปสรรคภาษีนำเข้าที่สูงลิ่วกว่า 60% หากทำมาขายชุดหนึ่งตกประมาณมากกว่า 1 แสนบาท ถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงมากสำหรับคนไทยในสมัยนั้น จึงทำให้ตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตฉากกั้นอาบน้ำในนาม "บริษัท ชาวเวอร์ คิง แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด" ขึ้นในประเทศไทยเป็นรายแรก แน่นอนว่าต้องใช้แบรนด์ "ชาวเวอร์ คิง"

หลังดำเนินกิจการเป็น 10 ปี สินค้าได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างล้นหลาม โรงงานเดียวเริ่มมีปัญหาผลิตไม่ทันออร์เดอร์ นำไปสู่การตัดสินใจจัดตั้งบริษัทใหม่ "เอสอาร์ แอดวานซ์ อินดัสทรี" เพื่อเป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายกระจกแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กระจกลามิเนต, กระจกสี, กระจกตกแต่ง ซึ่งเป็นกระจกที่ใช้กับงานติดตั้งอาคาร วัสดุตกแต่ง หรือผลิตเป็นฉากกั้นอาบน้ำ ภายใต้แบรนด์ "Glass Dekor"

"ศริน ทร" อธิบายว่า Glass Dekor เป็นการนำกระจกมาทำเป็นลวดลายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระจกเคลือบสี กระจกเคลือบทราย กระจกแกะลาย ที่มีลวดลายได้ตามความต้องการของลูกค้า

สินค้าอีกตัวที่ได้รับความ นิยมอย่างรวดเร็วคือ "กระเบื้องกระจก" หรือ Glass Tile ที่สามารถนำไปตกแต่งได้ทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผนังห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว หรือแม้แต่ลีฟวิ่งรูม ฯลฯ เพราะมีคุณสมบัติติดตั้งง่าย มีความคงทน และทำความสะอาดง่าย มีรอยต่อน้อย ลูกค้าสามารถให้ช่างทั่วไปติดตั้งได้เลย เป็นวัสดุตกแต่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ

ทั้งนี้ Glass Dekor ได้นำไปเปิดตัวครั้งแรกในงานสถาปนิกที่ผ่านมา มีลูกค้าให้ความสนใจมากกว่า 400 ราย นับเป็นผลตอบรับธรรมดาที่ไม่ธรรมดาทีเดียว

ปัจจุบันเริ่มมีงาน โครงการขนาดใหญ่ที่นำผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปใช้ในหลาย ๆ โครงการ เช่น โรงแรมหรูแบรนด์เซนต์ รีจีส ราชดำริห์, คอนโดฯ The Met, Royal Maneeya, Le Chateau, สิริสาธร คอนโดมิเนียม, พญาไท เพลส, โบนันซ่า เป็นต้น

ผล ตอบรับจากลูกค้าที่ดีเกินคาดทำให้เห็นช่องทางการขายที่เปิดกว้างมากขึ้น เธอจึงพร้อมที่จะบุกตลาดกระจกแปรรูปอย่างจริงจัง โดยการรุกคืบงานด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้สินค้าเป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้ารายย่อย โครงการจัดสรร และกลุ่มวิชาชีพ (ดีไซเนอร์และสถาปนิก)

ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ไม่อาจ หยุดนิ่ง ประกอบกับมีดวงชีพจรลงเท้าต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้ง ทำให้ "ศรินทร" ปิ๊งไอเดียว่ากระจกเป็นสิ่งสวย งาม น่าจะนำมาทำเป็นสินค้าอย่างอื่นได้เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกเหนือจากเป็นเพียงวัสดุก่อสร้างเพียงอย่างเดียว

"ขณะนี้เรามีทีม ตลาดพร้อมที่จะบุกเข้าไปในตลาดโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นโครงการคอนโดฯเกิดใหม่ที่มีจำนวนมาก ซึ่งตัวสินค้ามีความสอดคล้องและเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานอย่างมาก"

แผน ปูพรมสินค้ายังรวมถึงการเปิด ช่องทางจัดจำหน่ายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค (end user) โดยการนำสินค้าวางจำหน่ายในห้างโมเดิร์นเทรด ล่าสุดคือ การเปิดโชว์รูมที่คริสตัลดีไซน์เซ็นเตอร์ หรือ CDC ย่านเลียบด่วนเอกมัย-รามอินทรา เพื่อสื่อว่าสินค้ากระจกแบรนด์ Glass Dekor รองรับกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บนเป็นหลัก

ล่าสุดบริษัทได้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ คอลเล็กชั่นใหม่ "Glass 4D" เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับไลน์โปรดักต์ที่มีอยู่ โดยนำกระจกมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งที่สามารถใช้ได้ทั้งบ้าน เช่น ที่ใส่แผ่นซีดี, โคมไฟแบบตั้งโต๊ะ, โคมไฟแชนเดอร์เลีย และโต๊ะรับแขก ฯลฯ

จุด เด่นคือออกแบบโดยผสมผสานศิลปะวัฒนธรรมไทยเข้ามาอยู่ในตัวสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากกระจกทั่วไป กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าต่างชาติชื่นชอบมากเป็นพิเศษ

"อดใจรออีกสักนิด ตามแผนจะโชว์โปรดักต์ใหม่เปิดตัวในงาน BIG & BIH เป็นครั้งแรกในช่วงปลายปีนี้ค่ะ"

แผน โปรโมตกระจกนวัตกรรมของ "ศรินทร" ต้องการส่ง Glass 4D ร่วมออกงานมิลานแฟร์ที่ประเทศอิตาลี เพื่อเป็นการขยายตลาดต่างประเทศใน อนาคต

ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดการทำงานเพื่อปูทางสู่การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนภายในปี 2555รงแรมดิเอทัส บางกอกจะต้องหยุดดำเนินกิจการเพื่อแก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมาย

แต่ทั้งหมดจะต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของศาลเท่านั้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 27-09-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.