| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 376 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 20-09-2553    อ่าน 11014
 เรื่องเล่า "ฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์" สุดยอด "บริหารอาคาร" ฝ่าวิกฤตเหตุจลาจล

"ฟา ซิลิตี้ แมเนจเมนต์" (บริหารทรัพยากรอาคาร) กำลังเป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะบริการฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ ไม่เพียงแต่เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แต่ยังรวมถึงเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้อาคาร

บทพิสูจน์ล่าสุดของธุรกิจฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ คือการเผชิญกับเหตุชุมนุมและจลาจลเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

กลาย เป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาหัวข้อ "Facility Crisis Management กลยุทธ์บริหารอาคารฝ่าพายุวิกฤต" ที่มีคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วมกับพลัส พร็อพเพอร์ตี้ บริษัท ฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ ในเครือ บมจ.แสนสิริ เป็นแม่งาน

"สยามพิวรรธน์" แชร์ประสบการณ์

"วิชา หาญอมรรุ่งเรือง" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ "สยาม พิวรรธน์" องค์กรที่รับผิดชอบงานฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ 3 ห้างดังกลางใจกรุงอย่าง 3 สยาม "สยามพารากอน-สยามเซ็นเตอร์-สยามดิสคัฟเวอรี่" เป็นตัวแทนถ่ายทอดประสบการณ์บริหารอาคารฝ่าพายุวิกฤตตลอด 52 วัน ที่กลุ่มคนเสื้อแดงมาปักหลักชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์

โดยเฉพาะการดูแลสยามพารากอนที่มีจำนวนพนักงานและลูกค้าเข้าออกรวมกันเฉลี่ย 1 แสนคนต่อวัน

การ ทำงานฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ ของสยามพิวรรธน์ ถูกแบ่งเป็น 3 สเต็ป คือ 1)การจัดเตรียมคนและอุปกรณ์ 2)การจัดทำแอ็กชั่นแพลนหรือแผนปฏิบัติการ และ 3)การตรวจสอบและเตรียมอาคารเพื่อให้พร้อมเปิดใช้

สำหรับงานฟาซิลิ ตี้ แมเนจเมนต์ "สยามพารากอน" ถือเป็น "ฟาซิลิตี้ อิน ฟาซิลิตี้" เพราะแต่ละโซนก็มีพื้นที่ใช้งานหลากหลาย เช่น ศูนย์การค้า โรงหนัง สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล ฯลฯ แต่ละส่วนจึงมีการแบ่งแยกพื้นรับผิดชอบกันอย่างชัดเจนและมีการสื่อสารถึงกัน ได้ตลอดเวลา โดยมี "ศูนย์สั่งการ" (control room) เป็นแกนกลางในการติดตามสถานการณ์จากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้เกือบ 100 ตัว

เป้าหมายคือต้องสามารถเคลียร์คน ออกจากห้าง (1 แสนคน) ได้ภายในเวลา ไม่เกิน 30 นาที

กำหนดโค้ดแจ้งระดับสถานการณ์

การเตรียมความพร้อมเรื่องความปลอดภัยถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ ภายใต้รหัส "Code Practice" ได้แก่ สีเขียว เหลือง และแดง

กรณี "สีเขียว" หมายถึงสถานการณ์ปกติ "สีเหลือง" แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ 1 หมายถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นต้องพร้อมใช้งาน 100% ระดับ 2 หมายถึงเฝ้าระวังอย่างเต็มที่

และ "สีแดง" แบ่งเป็น 2 ระดับเช่นเดียวกัน คือ ระดับ 1 หมายถึงเตรียมพร้อมอพยพผู้คน และระดับ 2 หมายถึงการปิดอาคาร-การฟื้นฟูเพื่อเตรียมเปิดใช้อาคารอีกครั้ง โดยมีซีอีโอของสยามพิวรรธน์เป็นผู้พิจารณาว่าจะเตรียม ความพร้อมในระดับใด

โดยตลอดระยะเวลา 52 วัน สยาม พารากอนมีเจ้าหน้าที่ทำงานภายในอาคารวันละ 300 คน ตลอด 24 ชั่วโมง และนับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน-20 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายแก๊สผ่านท่อ ภายในศูนย์การค้าทั้งหมดเพื่อความปลอดภัย

สุดท้าย สยามพารากอนสามารถฝ่าวิกฤต มาได้โดยมีความเสียหายกับกระจก 12 บาน และทรัพย์สินอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เบ็ดเสร็จสามารถเคลมประกัน คิดเป็นวงเงิน 10 ล้านบาท

"แพลทินัม" เพิ่มมาตรการเข้ม

ส่วน "แพลทินัม แฟชั่นมอลล์" เป็นอีกศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงพื้นที่ชุมนุม "ชาญ ศิริรัตน์" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารและวิศวกรรม "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" ในฐานะบริษัทรับผิดชอบงานฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ ให้กับอาคารแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ ระบุว่า ในช่วงมีการชุมนุมย่านราชประสงค์ หน่วยงานฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ ได้เข้ามาดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัย

โดย มีการสื่อสารกับผู้บริหารเพื่อรับฟังนโยบายในการเปิด-ปิดบริการ ซึ่งจะมีการแจ้งปิดห้างให้ลูกค้ารับทราบล่วงหน้า 1 ชั่วโมง และประกาศซ้ำทุก ๆ 15 นาที

อย่างไรก็ตามหลังจากตัดสินใจต้องปิดบริการเพื่อความปลอดภัย หน่วยงานฟาซิลิตี้ แมเนจเมนต์ ได้สั่งปิดประตูเข้าออกด้านหน้าห้างทันที แต่ภายในยังคงมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อัคคีภัย และอื่น ๆ รวมประมาณ 100 คน ทำงานอยู่ด้านใน

โดยช่วงกลางวันเพิ่มพนักงานรักษาความ ปลอดภัยจากปกติ 50 คน เป็น 60-70 คน และระหว่างปฏิบัติงานได้ห้ามออกนอกอาคารเพื่อการรักษาความปลอดภัย ขณะเดียวกันได้เพิ่มมาตรการตรวจสอบหาวัตถุระเบิด การเตรียมระบบดับเพลิง

ปฏิบัติการทั้งหมดนี้เป็น "ตัวช่วย" ที่อยู่เบื้องหลัง ทำให้แพลทินัมไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุชุมนุมที่ผ่านมา
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 20-09-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.