| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 331 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-09-2553    อ่าน 11268
 วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ชูธง "เบเยอร์" รุกตลาดสี "อีโคสมาร์ต"

5 ปีที่แล้วนับจาก "เบเยอร์" เปิดตัวสีทาอาคารสะท้อนความร้อน "เบเยอร์ คูล" เป็นรายแรก และประกาศบุกหนักสีทาอาคารก็ทำให้ค่ายนี้ถูกจับตามากขึ้นทันที ปัจจุบันเบเยอร์มีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีทาอาคารแซงหน้าสีงานไม้ไปแล้ว

แล้วอะไรที่ให้เบเยอร์มาถึงจุดนี้ "ประชาชาติธุรกิจ" มีนัดสัมภาษณ์พิเศษ "วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ" รองกรรมการผู้จัดการ วัย 36 ปี บริษัท เบเยอร์ จำกัด ถึงแนวคิดการรุกตลาดสี ที่เรียกว่า "อีโคสมาร์ต" ทีมงานบุกเยือนถึงถิ่นโรงงานผลิตสีในย่านพระประแดง

"เบเยอร์ คูล" ประสบการณ์ความสำเร็จ

"ผม เพิ่งมีโอกาสกลับจากพาสถาปนิกประมาณ 90 คนไปดูงานเซี่ยงไฮ้เวิลด์ เอ็กซ์โป เห็นเลยว่าทุกประเทศพยายามสื่อเรื่องอีโคโลจี้ลดโลกร้อนผ่านเทคโนโลยีที่ เป็นของตัวเอง ซึ่งตรงกับแนวทางของเบเยอร์ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา" รองเอ็มดีหนุ่มค่ายสีเบเยอร์เปิดประเด็น

ย้อนหลังกลับไป 4-5 ปีก่อนที่เริ่มเปิดตัวสีสะท้อนความร้อน "เบเยอร์ คูล" ใหม่ ๆ ช่วงนั้นยังมีคนที่พูดถึงเรื่องการลดโลกร้อน ประหยัดพลังงานอยู่น้อยมาก

อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าการทาสีไม่ใช่เรื่องความสวยงามอย่างเดียว แต่มีประโยชน์มากกว่านั้น

ลึก ๆ บริษัทจึงค่อนข้างภูมิใจที่มีส่วนช่วยผลักดันเรื่องการประหยัดพลังงานโดย พัฒนาเฉดสีอื่น ๆ เช่น เขียว แดง น้ำเงิน ฯลฯ ให้มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้สูงกว่าสีทั่วไปเฉลี่ย 20%

"วรวัฒ น์" เชื่อว่าการเลือกใช้สีที่มีส่วนช่วยประหยัดพลังงาน เป็นตลาดที่มีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก และไม่ได้หยุดแค่เรื่องการประหยัดพลังงาน แต่ยังรวมถึงการเป็นผลิตภัณฑ์สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ "กรีนโปรดักต์"

เพราะปัจจุบันองค์กรวิชาชีพ คือ สมาคมสถาปนิกสยามฯ และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน "อาคารเขียว" (อาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม)

แม้โดยหลักเกณฑ์อาจไม่เข้ม ข้นเท่ากับหลักเกณฑ์ของอเมริกาอย่างมาตรฐาน LEED เพราะเท่าที่ทราบหลักเกณฑ์บางอย่าง เช่น "ค่ามาตรฐานการสะท้อนความร้อน" ในเฉดสีทาอาคารต่าง ๆ ที่ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ แต่การมีหลักเกณฑ์อาคารเขียวก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก ๆ เนื่องจากต่อไปการออกแบบอาคารจะมองแค่สวยงามอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องประหยัดพลังงานด้วย

ปัญหาหลักเกิดกับเมืองหลวงหลายแห่งใน ขณะนี้ คือ ปรากฏการณ์ "เออร์เบิน ฮีต ไอซ์แลนด์" (ปรากฏการณ์เกาะความร้อน) หมายถึงผนังอาคารได้อมความร้อนเอาไว้ ผลที่ตามมาคือเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักมากขึ้น เมื่อถึงช่วงเย็นผนังก็คายความร้อนออกมาอีก ทำให้การเปิดแอร์ตอนกลางคืนต้องทำงานหนัก เมืองทั้งเมืองเสมือนมีความร้อนห่อหุ้มไว้

สีเกรดสูง ราคาจับต้องได้

เบเยอร์จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อช่วงต้นปีนี้คือ "สีเบเยอร์ คูล ยูวี ชิลด์" เป็นสีเกรดสูงซึ่งเป็นการคอมไบน์ของประสิทธิภาพการสะท้อนความร้อนและความทน ทาน จากช่วงแรกที่เปิดตัวเป็นสีในเซ็กเมนต์ระดับกลาง ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยี "ไมโคร สเปียร์ เซรามิก" ผนวกเข้ากับสารคลอโรฟีลล์ที่สกัดได้จากพืชมาเป็นส่วนผสมวัตถุดิบ และมีการทดสอบผลิตภัณฑ์อย่างจริงจังก่อนวางตลาด

"เราร่วมกับ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าไปศึกษาบ้านจริง ๆ และทำวิจัยร่วมกับ บมจ.แสนสิริ เพื่อเปรียบเทียบกับบ้านที่ทาสีทั่วไป สีเบเยอร์ คูลเฉดเดียวกันในบ้านคนละหลัง ปรากฏว่าหลังการเปิดแอร์ไปนาน 8 วันลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กว่า 10%"

การเริ่มต้นเปิดตัวสีประหยัด พลังงานจาก "เบเยอร์ คูล" ตามมาด้วย "เบเยอร์ คูล ยูวี ชิลด์" ที่พัฒนาจากสีเกรดกลางเป็นสีเกรดสูง เป็นเพราะต้องการให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่าย คือมีราคาขายขนาดถังละ 5 แกลลอน (ถังใหญ่สุด) ประมาณ 1,600-1,700 บาท

"นวัต กรรมเป็นสิ่งที่ใครก็อาจทำได้ แต่ต้องอยู่ในราคาเหมาะสมและเป็นประโยชน์จริง ๆ ไม่งั้นจะกลายเป็นของที่ตั้งอยู่บนเชลฟ์เท่านั้นเอง"

พัฒนาโปรดักต์สู่ "อีโคสมาร์ต"

จาก จุดเริ่มต้นการเปิดตัวสีประหยัดพลังงาน ปัจจุบันบริษัทได้วางแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่แนวคิดกรีนโปรดักต์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ใช้ชื่อเรียกว่า "อีโคสมาร์ต" ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 40% ของพอร์ตสีทาอาคารและสีงานไม้ทุกรุ่น

ดังนั้น กล้าพูดได้ว่าเบเยอร์เป็นรายแรกที่รณรงค์การใช้สีน้ำมันที่มีส่วนผสม ทินเนอร์แบบไร้กลิ่น เมื่อ 2 ปีก่อนก็ได้เปิดตัวสีงานไม้สูตรน้ำทุกรุ่นออกสู่ตลาด โดยจับมือกับไบเออร์ (เยอรนี) ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้มาตรฐาน "อะควา อียู" เทียบเท่าในยุโรป รวมถึงในผลิตภัณฑ์สีงานไม้สำหรับของเล่นเด็กก็ได้รับมาตรฐานจาก ต่างประเทศ (มาตรฐาน EN-71)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สม่ำเสมอเกิดจาก เรื่อง "อินโนเวชั่น" เป็น "คอร์" (หลัก) การทำธุรกิจ และต้องเป็นแพรกทิคอล อินโนเวชั่น (นวัตกรรมที่ผู้บริโภคนำไปใช้ได้จริง) นี่คือหัวใจที่เบเยอร์ทำมาตลอด 49 ปี

และจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลอม รวมเข้ากับการใช้สื่อโฆษณาทางทีวี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านซัพพลายเชนตั้งแต่ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค ช่าง จนถึงร้านค้า

เป้าหมายที่ 1 "ในใจผู้บริโภค"

"เดี๋ยว นี้ผู้บริโภครู้เยอะ พอเห็นโฆษณาก็ไปบอกช่างหรือผู้รับเหมาว่า เอาสีแบบนี้ ต่างจากสมัยก่อนที่ให้ช่างเหมาค่าสีไปเลย ช่างก็ยึดติดกับสีที่ทาได้พื้นที่มาก ๆ เท่านั้น ดังนั้นทั้งช่างและร้านก็ต้องเรียนรู้ด้วย เพื่อจะได้อธิบายได้อย่างถูกต้อง"

จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทค่อนข้างภูมิใจและประเมินว่าเบเยอร์น่าจะเป็น "นัมเบอร์ 1" ในผลิตภัณฑ์กลุ่มสีสะท้อนความร้อน โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา สีกลุ่มนี้มีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 10%

"มีลูกค้าหลายคนส่ง จดหมายมาหาเราบอกว่า พอทาสีเบเยอร์แล้วก็รู้สึกบ้านเย็นขึ้น อยู่แล้วไม่หงุดหงิดเหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้เป็นกำลังใจที่ถูกส่งต่อไปให้พนักงานรับรู้ด้วย"

ผลที่ตามมาคือ ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้สีทาอาคาร 60% ของรายได้รวม แซงหน้าผลิตภัณฑ์กลุ่มสีงานไม้ที่มีสัดส่วน 40%

ส่วน คำถามที่ว่ารู้สึกอย่างไร เบเยอร์เป็นแบรนด์ที่กำลังถูกผู้นำตลาดสีทาอาคารจับตามอง...อาจจะเป็นคำถาม ที่ไม่ทันตั้งตัว ทำให้ "วรวัฒน์" นิ่งคิดก่อนตอบว่า...เรื่องอันดับในอุตสาหกรรมนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แต่ "อันดับหนึ่งในใจผู้บริโภค" คือ สิ่งสำคัญที่พนักงานเบเยอร์ต้องไปให้ถึงเป้าหมาย

นั่นคือ ทำให้ลูกค้านึกถึงสีแล้วนึกถึงเบเยอร์...เท่านั้นก็ (เพียง) พอ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 06-09-2553 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.